“หมอฉัตรชัย” แนะ ผู้ป่วยรอเตียง หากไข้สูงเกิน 38.5-ไอมาก-เหนื่อย ต้องรีบรักษา


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ผอ.รพ.สนามมธ. ชี้ ปัญหาเตียงผู้ป่วยอาการปานกลาง-อาการหนัก เข้าขั้นวิกฤต ยัน ทำไอซียูสนาม ต้องมีระบบเฉพาะ เผย ผู้ป่วยกักตัวอยู่บ้าน ไม่ใช่โมเดลที่ดี

หนุ่มอีสปอร์ต ติดโควิด กักตัวอยู่บ้าน 5 วัน ไม่มีใครช่วย สุดท้ายเสียชีวิต

ผศ.นพ.ฉัตรชัย มิ่งมาลัยรักษ์ รองผอ.โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในฐานะผอ.โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ เปิดเผยกับรายการ เป็นเรื่องเป็นข่าว กรณีวิกฤตเตียงผู้ป่วยโควิด-19 ว่า รอบนี้โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้เปิดโรงพยาบาลเป็นรอบที่ 3 แล้ว ซึ่งเริ่มเปิด 11 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้มีผู้ป่วยอยู่ 400 กว่าราย โดยมีจำนวน 470 เตียง ความจริงตอนนี้ก็คือเต็ม แต่เนื่องจากเราเปิดมาตั้งแต่ 11 เม.ย. ตอนนี้ก็เริ่มเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 เริ่มมีคนไข้ออกจากรพ. ออกวันละ 50-60 ราย แต่ก็เข้าใหม่ 50-60 ราย และผู้ป่วยส่วนใหญ่มาจากกรุงเทพฯ

เมื่อถามว่าปัญหาเตียงผู้ป่วยไม่พอเพียง ถือว่าขั้นวิกฤตหรือไม่ ผศ.นพ.ฉัตรชัย กล่าวว่า ถ้าดูอาการปานกลางหรืออาการหนัก เราขั้นวิกฤต เพราะในทุกรพ.ใหญ่ๆเต็มหมดแล้ว สำหรับผู้มีอาการหนัก การระบาดครั้งนี้แตกต่างจากระลอก 1-2 เพราะไม่มีอาการ แต่ในระลอกนี้ 60-70 เปอร์เซ็นต์ มีอาการ เราอาจต้องลบภาพ 2 ครั้งแรกไปเลย ทั้งเรื่องอาการ ความง่ายในการแพร่กระจาย ครั้งนี้เสียชีวิตสูงขึ้น แต่อายุน้อยลง ต่างกับระลอกแรก ถือว่าระบาดรุนแรงมากๆสำหรับครั้งนี้

ทั้งนี้ตอนนี้ส่วนใหญ่มีอาการตั้งแต่แรกๆ มีอาการตั้งอยู่บ้าน จมูกไม่ได้กลิ่น ไอ เหนื่อย ส่วนใหญ่มีอาการมาเลย แต่หากคนที่ไม่มีอาการวันที่ 5-7 จะเริ่มมีอาการ อาการจะแย่ลง และค่อยข้างรวดเร็ว เช้าสบายดี ตอนบ่ายมีไข้ ไอ เหนื่อย ลงปอดเลย ซึ่งขณะนี้รพ.สนาม ต้องใช้พยาบาเพิ่มอีก 1 เท่าตัว เพราะต้องดูแลใกล้ชิด

หดหู่!ติดโควิดยกครัว ทิ้ง 3 อาม่าติดเชื้อในบ้าน จนคนนึงตาย 2 คนเฝ้าศพ 6 ชม.พลังโซเชียลช่วย

ส่วนกรณีการจะกักตัวอยู่ที่บ้านนั้น ผศ.นพ.ฉัตรชัย กล่าวว่า ถ้าจะกักตัวที่บ้านกับการระบาดรอบนี้ หลายคนติดตากับระลอก 1-2 ว่ายังรู้สึกสบายดี แต่เราได้เตือนก่อนสงกรานต์ว่า สายพันธุ์ตอนนี้คนละตัวกันกับระลอกที่ผ่านมา การอยู่บ้านไม่ใช่จะอยู่ที่บ้านได้ พอแย่จะแย่ไวมาก ถ้าจะทำที่บ้านจริงๆต้องมีระบบลงทะเบียนการติดตาม ระบบไปรับหากเกิดแย่มากจริงๆและคัดกรองด้วยประเภทไหน ถึงเหมาะจะอยู่บ้านได้และการอยู่บ้านโอกาสแพร่กระจายเยอะด้วย ไม่ใช่โมเดลที่ดีหนัก ถ้าจะทำจริงต้องมีระบบพอสมควร

“อาการอะไรที่เริ่มมีปัญหาวิกฤต สำหรับผู้ป่วยรอเตียง อาการสำคัญคือ ไข้สูง ถ้าอาการไม่มีกลิ่นไม่สำคัญ ถือว่าอาการทั่วไป เมื่อไหร่มีไข้สูงเกิน 38.5 มีอาการไอมาก เริ่มเหนื่อย พูดแล้วรู้สึกเหนื่อย ต้องรีบมาโรงพยาบาลเลย อาจแปลว่าจะเริ่มลงปอด ต้องรีบได้รับการรักษา” ผศ.นพ.ฉัตรชัย กล่าว

ส่วนการตั้งไอซียูสนามนั้น ผศ.นพ.ฉัตรชัย กล่าวว่า ปัญหาสำคัญของผู้ป่วยโควิดคือการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นไอซียูจำเป็นต้องมีลักษณะจำเพาะ มีระบบอากาศดูดเชื้อป้องกันการแพร่กระจายเพราะคนไข้หนักต้องใช้เครื่องช่วยหายใจซึ่งเครื่องช่วยหายใจนี้เองที่ทำให้สร้างละอองฝอย ซึ่งถ้าเป็นไอซียูทั่วไปบุคลากรการแพทย์ที่เข้าไปมีโอกาสติดเชื้อสูงมากจึงต้องมีไอซียูเฉพาะ ซึ่งต้องมีระบบและสถานที่ที่เหมาะสมรองรับ

ชำแหละ ระบบคัดกรองโควิดพบมีปัญหาทุกขั้นตอน

 

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ