ส่องการขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก ในรูปแบบต่างๆ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ส่องการขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก ในรูปแบบต่างๆ พร้อมติดตามความเคลื่อนไหวด้านวัคซีนระดับนานาชาติ

แม้ว่าการระบาดระลอกใหม่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ในอีกด้านหนึ่งหลายประเทศก็กำลังเร่งมือฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนของตนเอง วันนี้จะพาไปดูยี่ห้อของวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน ซึ่งการขึ้นทะเบียนวัคซีนนั้นก็มีความแตกต่างกันไปรวมถึงความเคลื่อนไหวการจัดหาวัคซีนในนานาชาติ ว่าเขาดำเนินการไปแล้วอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็น จีน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และยุโรป

สหรัฐฯพร้อมแบ่งวัคซีนแอสตราฯให้ชาติอื่น

วิกฤตโควิดอินเดีย โรงงานวัคซีนโลกล่มสลาย ขาดสารตั้งต้น-วัตถุดิบ

12 ฟังก์ชัน "หมอพร้อม V.2" เปิดให้ประชาชนจองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19

มาทำความรู้จัก 3 รูปแบบการขึ้นทะเบียนวัคซีนกันก่อน

การขึ้นทะเบียนแบบ Emergency Use Authorization (EUA) เป็นการอนุญาตให้ใช้วัคซีนในกรณีฉุกเฉิน โดยหน่วยงานควบคุมกำกับของแต่ละประเทศ โดยพิจารณาจากการทดสอบวัคซีนในมนุษย์ (อาจมีเฟส 3 แล้วหรือไม่ก็ได้) ให้สามารถใช้กับประชากรกลุ่มเป้าหมายในประเทศนั้นๆ ได้ มีอยู่ด้วยกัน  13 บริษัทผลิตวัคซีนโควิด-19 ได้รับอนุญาตให้ใช้ แบบ EUA ในบางประเทศ ประกอบด้วย

1.ไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเทค (Pfizer/BioNtech)

2.โมเดอร์นา (Moderna)

3.แอสตราเซเนกา (AstraZeneca)

4.ซิโนฟาร์ม ปักกิ่ง(Sinopharm-Beijing)

5.ซิโนฟาร์ม ปักกิ่ง อู่ฮั่น (Sinopharm-Wuhan)

6.ซิโนแวค (Sinovac)

7.Gamaleya ผู้ผลิตสปุตนิก วี (Sputnik V) ของรัสเซีย 

8.แคนซิโน (Cansino)

9.จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน  (Johnson & Johnson)

10.อันฮุย จื้อเฟย หลงเคอ สั่งกัด สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน  (Anhui Zhifei Longcom /IMCAS)

11.Vector Institute 

12.ภารัต ไบโอเทค (Bharat Biotech) ของอินเดีย

13.Chumakov Center ของรัสเซีย

ต่อมาคือ การได้รับการรับรองแบบ Emergency use listing  (EUL) จาก องค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นการประเมินวัคซีนในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข มีเป้าหมายเพื่อให้สามารถใช้วัคซีนได้ ในวงกว้าง เนื่องจากระบบควบคุมกำกับของบางประเทศ อาจไม่มีความพร้อมและไม่มีมาตรฐานเพียงพอ จึงให้ใช้การอ้างอิงจาก EUL โดยการประเมินจะทำโดยผู้เชี่ยวชาญของ WHO ปัจจุบัน มี 3 ชนิดได้การรับรองจาก EUL จาก WHO คือ

- ไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเทค (Pfizer/BioNtech)

- แอสตราเซเนกา (AstraZeneca)

- จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน  (Johnson & Johnson)

ต่อมาคือ การขึ้นทะเบียนฉุกเฉินแบบมีเงื่อนไข จะพิจารณาจากผลการพัฒนาวัคซันในทุกขั้นตอน และอนุญาตให้ใช้กับประชากรกลุ่มเป้าหมายในประเทศนั้นๆ ได้ โดยต้องมีการเก็บผลการใช้วัคซีน และมีการรายงานต่อหน่วยงานควบคุม กำกับอย่างเคร่งครัด ปัจจุบัน ในไทย มี 3 ชนิด ที่ขึ้นทะเบียนฉุกเฉินแบบมีเงื่อนไขจาก อย.ไทย

- แอสตราเซเนกา (AstraZeneca)

- จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน  (Johnson & Johnson)

- ซิโนแวค (Sinovac)

ส่วนความเคลื่อนไหวด้านวัคซีนของนานาชาติ พบว่า ประเทศจีน เตรียมอนุมัติวัคซีนโควิด-19 จากต่างชาติ เช่น ไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเทค (Pfizer/BioNtech) ก่อนเดือนกันยายนนี้ ถือเป็นวัคซีนชนิดแรกจากผู้ผลิตต่างชาติ โดยอยู่ระหว่างขั้นตอนการทบทวนข้อมูลการทดสอบทางคลินิก และคาดว่าจะอนุมัติวัคซีนดังกล่าวในอีก 10 สัปดาห์ข้างหน้า

โดย ไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเทค (Pfizer/BioNtech) ตกลงร่วมมือกับบริษัทเซี้ยงไฮ้ โฟซัน ฟาร์ มาเพื่อส่งมอบวัคซีน 100 ล้านโดสให้กับจีนภายในเดือนธันวาคมนี้

สหราชอาณาจักร อนุญาตให้หญิงตั้งครรภ์ฉีดวัคซีนของ ไฟเซอร์  (Pfizer) และ โมเดอร์นา (Moderna) โดยหญิงตั้งครรภ์ประมาณ 90,000 คนได้รับการฉีดวัคซีนแล้วโดยไม่มีความกังวลแต่อย่างใด

สหรัฐอเมริกา ผู้บริหารไฟเซอร์ ไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเทค (Pfizer/BioNtech) ออกมาระบุว่า อาจมีความจำเป็นที่จะต้องฉีดโดสที่ 3 ภายในช่วง 12 เดือน  เนื่องจากภูมิคุ้มกันจะลดลง  และมีความเป็นไปได้ว่าจะต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 ทุกปี 

ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังคงเชื่อมั่นในวัคซีนแอสตราเซเนกา (AstraZeneca)

ที่มา สถาบันวัคซีนแห่งชาติ / รอยเตอร์ / CNBC

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ