สาววัยรุ่น แขนขาอ่อนแรง หลังฉีดวัคซีนโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




มีหนึ่งในคนที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 โพสต์เฟซบุ๊กเล่าว่าตัวเองได้รับผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนทำให้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ขณะที่ทีมข่าวทักไปเพื่อสอบถามอาการเพิ่มเติม พบว่า เธอ ไม่มีแรงที่จะพูดคุยด้วย รวมถึงไม่สามารถพิมพ์ข้อความพูดคุยด้วยได้

บุคลากรทางการแพทย์ โอด เลือกวัคซีนฉีดไม่ได้

เปิดใจคนไทยในสหรัฐฯ ได้รับวัคซีนโควิด-19 ไฟเซอร์

ผู้หญิงตนหนึ่งได้โพสต์ข้อความเล่าเรื่องตัวเองว่า เธอมีอาการผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19  เธอบอกว่า ตอนนี้พิมพ์ข้อความไม่ถนัด เพราะ เห็นภาพซ้อน ต้องให้แม่ถือโทรศัพท์ให้ จากนั้นเธอก็เงียบหายไปไม่ตอบข้อความใดใดเพิ่มเติม

 ผู้หญิงคนนี้เริ่มต้นโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวของเธอ บอกว่า เธอมีอาการที่เป็นผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้รับการดูแลจากแพทย์ พยาบาล และผู้บริหารโรงพยาบาลอย่างดีตั้งแต่เริ่มต้นฉีดวัคซีน

 เธอเล่าอาการของตัวเองว่า ตอนนี้ ร่างกายซีกซ้ายอ่อนแรง ทำอะไรไม่ได้ เห็นภาพซ้อน ต้องใส่สายสวนสำหรับปัสสาวะและอุจาระ โดยมีแม่ของดูแลอยู่ตลอด ส่วนการรับสารโทรศัพท์ หรือ ตอบข้อความ ก็ทำได้ยาก ต้องให้แม่คอยช่วยเหลือ ระหว่างพิมพ์ข้อความทั้งหมด เธอบอกว่า พิมพ์ไม่ไหวเพราะ มือสั่น

จากข้อความที่เขียนมาสะท้อนว่าเธอค่อนข้างมีกำลังใจที่ดี เพราะ บอกว่า ไม่น้อยใจที่ไม่มีใครมาเยี่ยม เพราะ เป็นช่วงห้ามเยี่ยม พร้อมบอกว่าจะกลับมาเป็นคนเก่งเหมือนเดิม ขอบคุณทุกกำลังใจที่ส่งไปให้ เธอย้ำว่า อยากให้ทุกคนฉีดวัคซีน เพราะ ภูมิต้านทานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน และมีเพียงส่วนน้อยที่จะมีอาการผลข้างเคียงแบบเธอ

ปชช.ไม่มั่นใจวัคซีนโควิด กลัวเป็นหนูทดลอง

ขณะที่ นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องวัคซีนว่า แม้จะมีคนกังวลเรื่องการฉีดวัคซีน แต่มองว่า ประชาชนจำเป็นต้องฉีดวัคซีน เพราะ แม้บางคนจะมีอาการไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียง ก็สามารถรักษาให้หายได้ รวมถึงหากเทียบเป็นสัดส่วน พบว่า ผู้ที่จะมีอาการข้างเคียงมีแค่ส่วนน้อย จึงถือว่าวัคซีนมีประโยนชน์กับคนไทย ทั้งนี้มองว่า ควรเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมทั้งประเทศ เพราะ จะดีกว่าฉีดให้แค่บางส่วน

ด้านนพ. ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะนำว่า รัฐบาลควรเร่งปูพรมฉีดวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า 1 เข็มให้ประชาชนไปก่อน โดยศาสตราจารย์นายแพทย์ยง อ้าอินว่า ศึกษาภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า หลัง เข็มแรก 1 เดือน พบว่า ภูมิต้านทานผู้ฉีดเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 96.7 จึงเชื่อว่า หากเร่งปูพรมฉีดภายใน 3 เดือน ถ้าฉีดได้เดือนละ 10 ล้านคน ก็จะมีผู้มีภูมิคุ้มกัน 30 ล้านคนในเวลา 3 เดือน จากนั้นค่อยจัดฉีดกระตุ้นและเพิ่มรายใหม่ เชื่อว่าจะทำให้ควบคุมการระบาดได้   

สธ.ถกด่วน! บุคลากรทางแพทย์วัย 28 ปี แพ้วัคซีนรุนแรง โชคดีช่วยทัน ปักเข็มแล้ว 7,262 ราย รับวัคซีน "ซิ...

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ