สายด่วน 1668 รูปแบบใหม่ ช่วยผู้ป่วยโควิด-19 ได้เตียงเร็ว


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เสียงสะท้อนจากประชาชนกรณีสายด่วน 1668 ที่ผ่านมาค่อนข้างล่าช้า ทำให้ผู้ป่วยโควิด-19 หลายคนที่อยู่ระหว่างรอเตียงเสียชีวิตในบ้านเพราะคู่สายไม่เพียงพอ และบางส่วนไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้อย่างทั่วถึง ล่าสุดกรมการแพทย์ปรับรูปแบบสายด่วน 1668 ในรูปแบบ One Stop Service รับเคสผู้ป่วย พร้อมหาเตียงเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือ Hospitel ได้อย่างรวดเร็ว

“วัคซีนโควิด-19 โมเดอร์นา” วัคซีนทางเลือกความหวังใหม่ของไทย

เพจดัง-หมอ หวั่นขาดแคลน “ยาฟาวิพิราเวียร์” หลัง กทม.เตรียมแจกผู้ป่วยโควิดทุก รพ.สนาม

ปัญหาสายด่วน 1668 เป็นคู่สายที่พัฒนามาจากสายด่วนสำหรับรักษาโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จึงก่อให้เกิดปัญหาคู่สายไม่เพียงพอ และไม่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์การระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้ และจากการวิเคราะห์ข้อมูลการติดต่อผ่านสายด่วน 1668 พบว่าในจำนวนผู้ติดต่อเฉลี่ย 1100 สายต่อวัน  เป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องการติดต่อหาเตียงใน กทม.เพียง 200 สายต่อวัน คิดเป็น 20%  ส่วนอีก 80% ที่เหลือจะเป็นการขอคำปรึกษาเรื่องสุขภาพจิตและสิทธิ์การรักษา

กรมการแพทย์จึงปรับรูปแบบการทำงานใหม่บริการจัดการแบบ One Stop Service แบ่งทีมการทำงานออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือทีม Frontline Call Center (ฟร้อนท์ไลน์คอลเซ็นเตอร์) รับโทรศัพท์ทุกสายที่โทรเข้ามา ส่งต่อข้อมูลให้ทีมรับสายและประเมินอาการ โดยมีเจ้าหน้าที่หมุนเวียนกันตลอด

จากนั้นข้อมูลจากทีมรับสายและประเมินอาการ จะถูกส่งต่อให้ทีมบริหารจัดการเตียงและข้อมูล มีการจัดผู้ป่วยตามระดับอาการสีแดง เหลือง และสีเขียว จากนั้นจะนำรถไปรับผู้ป่วยและส่งต่อเพื่อทำการรักษาต่อไป

นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สธ. ระบุว่า ผู้ติดเชื้อจะได้รับเตียงในการรักษาให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะผู้ป่วยระดับอาการสีเหลืองและสีแดง จะได้รับเตียงใน 24 ชั่วโมง ส่วนผู้ป่วยระดับอาการสีเขียวจะได้รับการดูแลไม่เกิน 48 ชั่วโมง ส่วนการให้บริการสายด่วนขณะนี้ได้ปรับปรุงให้เป็น 1668 โฉมใหม่ ซึ่งทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกันเริ่มตั้งแต่รับเคสผู้ป่วยจนสามารถหาเตียงให้กับผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลหรือ Hospitel ส่วนสถานการณ์เตียงผู้ป่วยขณะนี้ เมื่อจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นก็กระทบถึงสัดส่วนในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะกลุ่มก้อนนี้ที่พบว่ามีอาการทุนแรงค่อนข้างเร็วและมีหลายกลุ่ม กรมการแพทย์ได้บริการจัดการโดยรจับมือกับโรงพยาบาลทุกเครือข่ายแบ่งผู้ป่วยตามโหนดพื้นที่และหมุนเวียนส่งต่อไปตามรับอาการ

นายสาธิต  ย้ำว่า การจัดการโควิด-19 การรักษาคือปลายทาง มาตรการคือต้นทาง แต่ต้นทางที่สำคัญที่สุดคือ ความร่วมมือจากประชาชน เราต้องป้องกันตัวเองตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะการระบาดในครอบครัวที่มีการไปมาหาสู่ระหว่างกัน  และรับประทานอาหารร่วมกัน  ซึ่งจุดนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ด้าน นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่าสายด่วน 1668 ขณะนี้ สามารถรับสายได้ 1,000 คู่สาย แต่ปัญหาคือ Frontline Call Center (ฟร้อนท์ไลน์คอลเซ็นเตอร์) ข้อจำกัดคือมีบุคลากรเพียง 40-50 คน แต่จะต้องรับสายตลอด 24 ชั่วโมง  เมื่อใช้ทั้งระบบก็ยังรับสายได้ทัน ซึ่งคาดว่ามีเพียง 1% เท่านั้นที่รับสายไม่ทัน  แต่หากมีบุคลากรเข้ามาช่วยในส่วนนี้อีกก็จะสามารถรับสายได้เพิ่มขึ้น

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ