ขอกลุ่มเสี่ยง “ฆ่าเชื้อแมสก์” ก่อนทิ้ง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




"หน้ากากอนามัย" รวมถึง "ขยะติดเชื้อ" ทั่วประเทศในเวลานี้ กรมอนามัย คาดการณ์ว่า ปีนี้จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึง 80 ตันต่อวัน พร้อมขอให้ประชาชนช่วยคัดแยก "หน้ากากอนามัย" ก่อนทิ้ง เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อและความเสี่ยงที่คนจัดเก็บต้องเผชิญ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำวิธีการทิ้งหน้ากากอนามัย โดยแบ่งเป็นเป็น 2 กรณีกรณีแรก เป็นการทิ้งหน้ากากอนามัย สำหรับคนทั่วไป ที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง หรือผู้ติดเชื้อ ให้พับด้านที่สัมผัสใบหน้าเข้าหากัน โดยพับให้มีขนาดเล็กที่สุด และใช้สายคล้องหูพันรัดให้แน่น ก่อนใส่ถุงแยกออกจากขยะทั่วไป

ส่วนกรณีที่ 2 เป็นกลุ่มเสี่ยง ต้องกักตัวดูอาการ หรือผู้ติดเชื้อโควิด-19 เมื่อถอดหน้ากากอนามัยให้ใส่ลงถุงพลาสติกทันที

โควิดกทม.ลามหนัก เช็ก 9 คลัสเตอร์ใหญ่ แบงก์ สำเพ็ง แพลทินัม 2 บริษัทดัง 4 ชุมชน

คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบฉีดวัคซีน “ซิโนแวค”ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

จากนั้นฉีดพรมด้วยน้ำผสมน้ำยาฟอกขาวหรือไฮเตอร์ ปิดปากถุงพ่นฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ และห่อด้วยถุงพลาสติกมิดชิดอีกชั้น พร้อมกับพ่นแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้ออีกรอบ กรณีนี้ให้แยกพักไว้ก่อนนำไปทิ้งขยะติดเชื้อตามจุดที่กำหนด เพื่อเข้าสู่กระบวนการทำลายต่อไป

สำหรับ "ขยะติดเชื้อ" นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข อธิบายว่า ในกรณี "ผู้ป่วย" ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะ "หน้ากากอนามัย" เพราะแม้แต่กระดาษทิชชู่ หลอดดูดน้ำ หรือช้อนส้มพลาสติก หรืออื่น ๆ ที่สัมผัสสารคัดหลั่ง ถือเป็น "ขยะติดเชื้อ" ทั้งหมด ที่จะต้องจัดการตามขั้นตอนข้างต้น เพื่อป้องกันโอกาสการแพร่กระจายเชื้อไปยังเจ้าหน้าที่เก็บขยะ

อย. แจงปมยังไม่ขึ้นทะเบียน “ สปุตนิก วี” เหตุบริษัท คินเจน ส่งข้อมูลไม่ครบ

อธิบดีกรมอนามัย ประเมินว่า "ขยะติดเชื้อ" ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ทั่วประเทศ มีโอกาสที่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามสถานการณ์แพร่ระบาด เบื้องต้นคาดการณ์ว่าอาจสูงถึง 80 ตันต่อวัน แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ระบบเผาทำลายสามารถรับได้ คือ 300 ตันต่อวัน

ข้อมูลของกรุงเทพมหานคร พบว่า ตั้งแต่ 1 เมษายน - 5 พฤษภาคม ที่ผ่านมา "ขยะหน้ากากอนามัย" จากที่พักอาศัย โรงพยาบาลสนาม และสถานที่กักตัว มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 547.93 ตัน เฉลี่ย 16.12 ตันต่อวัน แต่ปัญหาที่พบคือการทิ้ง "ขยะติดเชื้อ" ร่วมกับ "ขยะมูลฝอย" โดยเบื้องต้น "กรุงเทพมหานคร" จัดถัง "สีส้ม" ขยะติดเชื้อไว้สำหรับทิ้ง "หน้ากากอนามัย" 1,000 จุด ทั่ว กทม. สำหรับแยกขยะติดเชื้อไปกำจัด

แผนฉีดวัคซีนโควิด-19 ปี 64 เป้า 50 ล้านคน เตรียมกระจายหน่วยเคลื่อนที่

ทีมข่าวพีพีทีวีลงสำรวจพื้นที่เขตดินแดง ตามจุดตั้งถังขยะติดเชื้อ (ถังสีส้ม) พบว่ามีทั้งหมด 8 จุด คือ ที่สำนักงานเขตดินแดง 2 ถัง นอกนั้นเป็นจุดตามชุมชน เช่น เคหะชุมชนดินแดง 1 เคหะชุมชนดินแดง 2 ชุมชนเคหะดินแดง  อาคารสงเคราะห์ช้าราชการและลูกจ้างประจำ กทม. บ้านแสนสุข และเคหะชุมชนห้วยขวาง จุดละ 1 ถัง โดยลักษณะจะปิดตายฝาถัง และเจาะรูสำหรับหย่อยหน้ากากอนามัยลงถังเท่านั้น

ฝ่ายความสะอาดและสวนสาธารณะ สำนักงานเขตดินแดง ยอมรับว่า จำนวนถังที่ตั้งไว้ ยังไม่ครอบคลุม และยังพบปัญหาทิ้งร่วมกับขยะมูลฝอยธรรมดา และการที่ชาวบ้านจะเดินทางไปทิ้งขยะตามจุดที่่เตรียมไว้อาจเป็นไปไม่ได้ จึงขอความร่วมมือแยกขยะติดเชื้อ ทั้ง หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู่ มัดปากถุงให้แน่น พร้อมเขียนกำกับที่่ถุงว่าเป็นขยะชนิดใด เพื่อเจ้าหน้าที่สามารถคัดแยกขยะได้ง่ายขึ้น

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ