บุคลากรทางการแพทย์ ยัน วัคซีนจำเป็น-แพ้รักษาได้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




มีข่าวบุคลากรทางการแพทย์ ที่จ.นครสวรรค์ฉีดวัคซีน “ซิโนแวค” แล้วได้รับผลข้างเคียงจากวัคซีนจนเข้าโรงพยาบาล ผ่านมา 12 วัน อาการบุคลากรคนดังกล่าวเป็นอย่างไรบ้าง ทีมข่าววิดีโอคอล ย้อนกลับไปพูดคุยอีกครั้ง พบว่า ร่างกายเธอยังไม่กลับมาเป็นปกติ แต่เธอก็ยังเชียร์ให้ทุกคนไปฉีดวัคซีน เพราะ มองว่า อาการข้างเคียงอื่นๆสามารถรักษาได้

กิจวัตรประจำวันของ คุณพัส บุคลากรทางการแพทย์ ชาวจังหวัดนครสรวรรค์  เธอต้องกายภาพบำบัดด้วยการ ฝึกเดิน ยกแขน และขา เป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ทุกเช้า  โดยทำต่อเนื่องมา 1-2 สัปดาห์แล้ว

อาการของคุณพัส เกิดขึ้นหลังเธอฉีดวัคซีน ซิโนแวค เมื่อ 30 เมษายน  ในวันนั้นหลังฉีดวัคซีนเสร็จ ประมาณ 40 นาที เธอมีอาการอาเจียน ร่างกายชา และ หมดสติลง จนถูกนำตัวลงโรงพยาบาลและต้องรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เกือบ 1 สัปดาห์ คือ ตั้งแต่ 30 เมษายน ถึง 5 พฤษภาคม

ศิริราช เผย หลังฉีดวัคซีน “ซิโนแวค-แอสตราเซเนกา” ในบุคลากร พบผลข้างเคียง 23.1% - หายเองได้

รพ.นครพิงค์ ปรับแผนฉีดวัคซีน หลังเจอดราม่าฉีดวีไอพี

ช่วงที่อยู่โรงพยาบาลเธอต้องต่อท่อสำหรับปัสสาวะและอุจจาระ มีอาการภาพซ้อน รวมถึง ร่างกายซีกซ้ายอ่อนแรง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แม่ของเธอเป็นคนคอยดูแลตลอด  ถัดจากนั้น 5 พฤษภาคม อาการเริ่มดีขึ้น จนแพทย์ให้กลับบ้าน แต่ต้องพักฟื้น และ ทำกายภาพบำบัดต่อเนื่อง ตอนนี้แม้จะเริ่มเดินได้บ้าง แต่ก็ต้องมีไม้เท้าคอยประคองเพราะขายังอ่อนแรงอยู่

 

เธอตั้งข้อสังเกตว่า อาการทั้งหมดเป็นผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน แต่เชื่อว่า สาเหตุที่เธอมีอาการ เพราะ ตอนเข้ารับการฉีด เธอไม่ได้ปฎิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์ “ทุกข้อ” คือ ไม่ได้ดื่มน้ำเยอะๆ รวมถึงร่างกายมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ภาวะซีด เกร็ดเลือดต่ำ น้ำตาลในเลือดสูง และ วันที่ฉีดวัคซีนเธอมีประจำเดือน ด้วย

 

คุณพัส บอกว่า แม้จะมีอาการต่างๆ และ ต้องรักษาตัวนานกว่า 2 สัปดาห์แล้ว แต่เธอมองว่า ทุกคนควรเข้ารับการฉีดวัคซีน เพราะเชื่อว่า การฉีดดีกว่าไม่ฉีด ส่วนที่มีผลข้างเคียงถือว่าเป็นส่วนน้อย ในส่วนของตนเองนั้น ขณะนี้แม้ยังต้องกายภาพบำบัดอยู่ แต่อาการก็ดีขึ้นเรื่อยๆ และ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

 

สอดคล้องกับข้อมูล จากศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ย้ำเสมอว่า การฉีดวัคซีนคือทางรอดพ้นจากโควิด-19 เพราะ หากปล่อยไว้ไม่ทำอะไรเลย จะต้องใช้เวลารอให้โรคโควิดสงบลง นาน 2 ปี ซึ่งระหว่างนั้นจะทำให้มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต อย่างน้อย 1 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด หรือราวๆ 7 แสนคน  แต่ถ้าฉีดวัคซีนจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันโรค

 

รวมถึงประชาชนสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ เด็กๆจะได้ไปโรงเรียน รวมถึง ใครอยากไปไหนก็จะได้ไป

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ