เข็มที่ 1 ซิโนแวค-เข็มที่ 2 ซิโนฟาร์ม ทำได้หรือไม่?


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ราชกิจจานุเบกษา ออกประกาศ ให้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์นำเข้าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้เอง และมีการคาดการณ์ว่า วัคซีนตัวแรกที่จะนำเข้าโดย ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คือ ซิโนฟาร์มของจีน ทำให้เรื่องนี้ถูกนำไปถาม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ว่า สรุปแล้วเรื่องการนำเข้าวัคซีน ตอนนี้ยังเป็นหน้าที่ของกระทรวงหรือไม่ และ ทำให้แบ่งให้สถาบันจุฬาภรณ์ฯ นำเข้าเอง ปรากฎว่า นายอนุทิน ตอบว่า เพิ่งทราบเรื่องนี้พร้อมกับทุกคน ขอให้รอฟังการชี้แจง วันพรุ่งนี้

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ย้ำว่าให้รอการแถลงอย่างเป็นทางการของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมบอกด้วยว่า เขาทราบเรื่องนี้พร้อมกับทุกคน  แต่ยืนยันว่า  กระทรวงสาธารณสุข ยัง คงทำหน้าที่เรื่องการจัดหาและนำเข้าวัคซีนเหมือนเดิม รวมถึงยืนยันว่าพร้อมให้การสนับสนุนทุกด้านเต็มที่

ส่วนการจัดสรรวัคซีน นายอนุทิน บอกว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะทำหน้าที่นี้เอง

อนุทินยันไม่ได้เอาวัคซีนจีน แบ่งขายเอกชน

เปิดที่มา เหตุผล เงื่อนไข ไฟเขียว "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" นำเข้าวัคซีน "ซิโนฟาร์ม" ได้เอง

โดยคำนวณแบ่งวัคซีน ด้วยการนำปริมาณวัคซีนประมาณการณ์ที่มีอยู่ในแต่ละเดือน หารด้วยจำนวนจังหวัด  เทียบอัตราส่วนด้วยจำนวนประชากรและดูหลักเกณฑ์อื่นๆร่วมด้วย เช่น สถานการณ์ระบาด  พื้นที่เศรษฐกิจ หรือความจำเป็นเร่งด่วนมาพิจารณา  ย้ำว่า กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่แค่กระจายตามโควตาที่จัดสรร

สำหรับการที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สามารถนำเข้าวัคซีนเองได้หลักมีประกาศทางราชกิจจานุเษกษา มีคำอธิบายจากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า การทำงานจะไม่ซ้ำซ้อน พร้อมย้ำว่า ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีสถานะเทียบเท่ากับ กระทรวง ทบวง กรม สามารถจัดซื้อวัคซีนเองได้ ด้วยงบประมาณของหน่วยงาน โดยจะมีสถานะทัดเทียมกับเอกชน จัดหาและดีลวัคซีนได้ แต่การนำเข้าต้องขอผ่านสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

เมื่อถามว่า หากเป็นเช่นนี้  โรงพยาบาลอื่นๆ ที่สังกัดกระทรวง ทบวง กรม อย่าง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ก็สามารถทำแบบเดียวกับราชวิทยาลัยุจุฬาภรณ์หรือไม่  นายวิษณุ บอกว่า การที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ต้องทำเช่นนั้นเป็นไปตาม พ.ร.บ.ยา คนที่จะนำเวชภัณฑ์ เข้ามาได้ ถ้าเป็นราชการเข้าข่ายทำได้เลย

ด้าน นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กชี้แจงว่า การช่วยจัดหาวัคซีนทางเหลือ จะทำเฉพาะในช่วงจำเป็น เมื่อวัคซีนที่ผลิตในประเทศสามารถผลิตได้อย่างเพียงพอ ทางราชวิทยาลัยจะลดปริมาณวัคซีนทางเลือกลง

ทั้งนี้ตามข้อมูล ระบุว่า วัคซีนตัวแรกที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะนำเข้า คือ ซิโนฟาร์มจากจีน จึงเกิดคำถามว่า ซิโนฟาร์มต่างจากซิโนแวคอย่างไร ทีมข่าวตรวจสอบพบว่า ทั้ง 2 วัคซีนเป็นวัคซีนสัญชาติจีน ผลิตจากเชื้อตาย โดย ซิโนแวค ผลิตโดยบริษัทเอกชนของจีน  ส่วนซิโนฟาร์มผลิตโดยรัฐวิสาหกิจของจีน

ก่อนหน้านี้ในต่างประเทศ มีการพูดกันว่า สามารถฉีดซิโนแวคเข็มที่ 1 และ ฉีดซิโนฟาร์มเป็นเข็มที่ 2 ได้ แต่จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า กลุ่มนักวิชาการต่างประเทศแนะนำให้ทำเฉพาะในสถานการณ์จำเป็น เช่น แอชลีย์ เซนต์จอห์น นักภูมิคุ้มกันวิทยา ในสิงคโปร์ ระบุว่า ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ยังอยู่ระหว่างการศึกษาว่า การฉีดเข็มที่1 และ 2 ต่างกัน แบบใดดีที่สุด และ ฉีดห่างกันมากน้อยแค่ไหนได้ผลดีที่สุด

ส่วน นายสื่อ หลี่เหอ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนในมณฑลกวางโจวของจีน บอกว่า การใช้วัคซีนจากผู้ผลิตต่างกัน แต่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีเดียวกัน สามารถทำได้ “ในสถานการณ์พิเศษ” เช่น วัคซีนขาดแคลน แต่เนื่องจากยังไม่มีผลการศึกษาในเรื่องนี้มากนัก จึงแนะนำว่าควรฉีดวัคซีนจากผู้ผลิตรายเดียวกันมากกว่า 

ขณะที่ ฟิลิปปินส์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเตรียมศึกษาการใช้วัคซีนซิโนแวค ควบคู่กับวัคซีนโควิด-19 ของผู้ผลิตรายอื่น ในกลุ่มตัวอย่างวัยผู้ใหญ่ราว 3,000 คน โดยจะเริ่มติดตามผลอย่างใกล้ชิด เป็นเวลา 18 เดือน ตั้งแต่เดือน มิ.ย. นี้

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ