แจง ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด กรณีหญิงอายุ 32 ปี เสียชีวิต หลังฉีดวัคซีนโควิด 13 วัน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมควบคุมโรค ชี้แจง กรณีหญิงอายุ 32 ปี เสียชีวิต หลังฉีดวัคซีนโควิด 13 วัน จากลิ่มเลือดอุดตันในปอด โดยก่อนหน้าที่มีการระบุว่า ผู้เสียชีวิตทานยาคุมกำเนิดมาต่อเนื่อง

กรณีที่ น.ส.นริลิน อ่างทอง อายุ 32 ปี ชาวจังหวัดยะลา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม จากอาการเลือดอุดตันในปอด โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ผู้เสียชีวิตได้ไปฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่จังหวัดสงขลา  ล่าสุด กรมควบคุมโรคออกคำชี้แจง ระบุว่า ขณะนี้ยังอยู่ในการสอบสวนโรค และคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง กรมควบคุมโรค ออกมาอธิบายถึงภาวะการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด (Pulmonary embolism) ให้ชีดเจนมากขึ้น ว่า

บุคลากรการแพทย์เทกซัสฟ้องร้องโรงพยาบาล เหตุบังคับฉีดวัคซีนโควิด-19

นพ.ยง แจง วัคซีนโควิด-19 กับ ฮอร์โมนเพศหญิง ยาคุมกำเนิด สตรีตั้งครรภ์

ภาวะการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด (Pulmonary embolism) เกิดจากที่มีลิ่มเลือดเกิดขึ้นในหลอดเลือดดำ และหลุดไปอุดที่หลอดเลือดปอด (Venous thromboembolism : VTE) เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจ หอบ เหนื่อย อย่างเฉียบพลัน และทำให้มีอัตราป่วยตายสูงได้ถึงร้อยละ 30 จากฐานข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขที่เก็บข้อมูลผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดตันในปอด ระหว่างปี 2559-2563 พบว่า 

ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคดังกล่าวประมาณปีละ 12,900-26,800 ราย คิดเป็นอัตราการป่วยประมาณ 200-400 รายต่อประชากรหนึ่งล้านคน

โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ คือ พันธุกรรม ภาวะโรคมะเร็ง การไม่เคลื่อนที่เป็นเวลานานๆ การกินยาคุมกำเนิดหรือการได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมน เป็นต้น โดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับวัคซีนใดๆ 

 

ขณะเดียวกัน ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโรคยังพบว่า ผู้ป่วยภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอดภายหลังการได้รับวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกอยู่ที่ 4,575 ราย จากการฉีดกว่า 1,800 ล้านคน (ร้อยละ 2.5 ต่อประชากรล้านคนที่ได้รับวัคซีน) ถือว่าต่ำกว่าอัตราการเกิดมในผู้ไม่ได้รับวัคซีนอย่างมาก 

ส่วนกรณีที่เป็นวัคซีนซิโนแวค มีรายงานพบ 7 รายจากการฉีดไปมากกว่า 200 ล้านโดส และไม่พบสัญญาณที่บ่งชี้ว่าผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 มีโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอดสูงขึ้นหรือวัคซีนเป็นสาเหตุโดยตรง

รวมถึงการเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังการฉีดวัคซีนของคนไทยมากกว่า 2 ล้านโดสไม่มีรายงานผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดตันในปอด

ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้ฉีดซิโนแวคต่อไปได้ และผู้ที่มารับบริการไม่จำเป็นต้องหยุดใช้ยาคุมกำเนิด เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีน 

แต่หากมีอาการผิดปกติ เช่น อาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น ปวดบวมขา ให้ปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ