เทียบผลข้างเคียงทั่วไป 2 วัคซีน "ซิโนแวคอาการน้อยกว่าแอสตร้าเซเนก้า"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กางอาการข้างเคียง อาการไม่พึงประสงค์ ระหว่าง แอสตร้าเซเนก้า - ซิโนแวค

นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เปิดเผยว่า ขณะนี้แอตร้าเซเนก้า (AstraZeneca) เป็นวัคซีนที่ใช้เป็นหลักในการฉีดและจะต้องใช้ต่อไปอีกจำนวนมาก และ ซิโนแวค (Sinovac) จะเป็นตัวเสริม

วัคซีนโควิดเข็ม 1 และ 2 ต่างชนิดกัน พบภูมิคุ้มกันขึ้นสูงกว่าเกณฑ์

ระยะห่างของการให้วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca) กับการกระตุ้นภูมิ

ขณะที่ในช่วงต้นการฉีดวัคซีน วัคซีนที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็น ซิโนแวค และในผู้สูงอายุจะใช้แอสตร้าเซเนก้า ปัญหาอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะไม่ค่อยพบมาก

ซึ่งจากการศึกษาของศูนย์ฯ ที่ได้ฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิดในทุกอายุตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป นพ.ยง ระบุว่า วัคซีนซิโนแวค มีอาการข้างเคียงน้อยกว่าแอสตร้าเซเนก้า

โดยเฉพาะในเรื่องไข้ ปวดบริเวณที่ฉีด เมื่อยเนื้อเมื่อยตัวเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ ปวดศีรษะ ขนาดการศึกษานี้ผู้ป่วยฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ได้แจกพาราเซตามอลกลับบ้านด้วย

จากรูปด้านบนแสดงให้เห็นเปรียบเทียบการศึกษาของศูนย์ฯ เห็นความแตกต่างได้ชัดเจน อาการที่เกิดขึ้นจากวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า จะพบว่า อายุน้อยมากกว่าผู้สูงอายุและผู้หญิงจะมีอาการมากกว่าผู้ชาย และเมื่อดูอาการข้างเคียงเปรียบเทียบกับวัคซีนที่ฉีดในต่างประเทศโดยเฉพาะวัคซีนในกลุ่ม mRNA (ไฟเซอร์ โมเดอร์นา) แล้วไม่ต่างกันเลย  ส่วนวัคซีนซิโนแวคอาการข้างเคียงดังกล่าวน้อยกว่ามาก

ดังนั้นผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ถ้ามีไข้หรือปวดศีรษะ ท้องเสียอาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว คล้ายไข้หวัดใหญ่ ถือเป็นอาการที่พบได้ หลังการฉีดวัคซีน

ดังนั้นหลังฉีดเมื่อกลับไปถึงบ้านถ้ามีอาการดังกล่าว รับประทานยาพาราเซตามอลได้เลย ไม่ต้องรอให้ไข้ขึ้นสูงหรือปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัวและสามารถทานซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง อาการดังกล่าวจะอยู่ประมาณ 1-2 วัน ก็จะหายเป็นปกติ

นอกจากว่ามีอาการมาก เช่น ไข้สูงติดต่อกันหลายวัน หรือสูงมาก ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และรับประทานยาแล้วไม่หาย ก็ควรจะปรึกษาแพทย์

ถ้าทุกคนเข้าใจจะได้ไม่เกิดวิตกกังวล ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนในกลุ่ม Virus Vector (แอสตร้าเซเนก้า) หรือ mRNA (ไฟเซอร์,โมเดอร์นา) วัคซีนจะมีอาการข้างเคียงได้มากกว่าวัคซีนชนิดเชื้อตาย (ซิโนแวค,ซิโนฟาร์ม) ตามหลักฐานเชิงประจักษ์

ที่มา : เฟซบุ๊ก นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ