เตียง รพ.ในเขตกทม. น่าห่วง! เหลือเตียงรับผู้ป่วยโควิด-19 ระดับวิกฤต 20 เตียง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมการแพทย์ เผย สถานการณ์เตียงในเขตกทม. น่าเป็นห่วง เหลือเตียงรับผู้ป่วยโควิด-19 ระดับวิกฤต 20 เตียง อาการไม่รุนแรง (ระดับสีเหลือง) เหลือ 300 เตียง

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในเขต กทม. และปริมณฑล ผู้ป่วยใหม่จำนวนมากส่งผลต่อสถานการณ์เตียงในโรงพยาบาล

สมุทรปราการ สาหัส พบติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 696 ราย เสียชีวิต 5 ราย

ยังวิกฤต! ติดเชื้อพุ่ง 4,059 ดับอีก 35 โรงเรียน ตลาด โรงงานที่เสี่ยง จับตาเชื้อกลายพันธุ์ 2 จว.ปลดล็...

โดยข้อมูลวันที่ 21 มิ.ย. 64  ขณะนี้เตียงในสถานพยาบาล ภาครัฐ ผู้ป่วยโควิด สีแดง (อาการหนักจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ) มีจำนวนครองเตียงอยู่ที่ 409 ราย เหลือเตียงสำหรับการรองรับผู้ป่วยโควิดสีแดงเพียงประมาณ 20 เตียงเท่านั้น ซึ่งต้องเก็บไว้สำหรับรองรับผู้ป่วยโควิดที่มีภาวะฉุกเฉินหรือต้องรับการผ่าตัดหรือการช่วยเหลือเร่งด่วน

ขณะที่ผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเหลืองมีจำนวนครองเตียงอยู่ที่ 3,937 ราย เหลือเตียงสำหรับการรองรับผู้ป่วยโควิดสีเหลืองอีกประมาณ 300 รายเท่านั้น

ทั้งที่กลุ่มผู้ป่วย สีเหลือง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอาการปานกลาง หรือ มีปัจจัยเสี่ยงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเพิ่มเติม มีความต้องการเตียงในกลุ่มนี้สูงขึ้น

จากสถานการณ์ที่จำนวนเตียงเหลือน้อยในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อการประสานงานผ่านระบบจัดหาเตียง 1668 มีความล่าช้าบ้าง เนื่องจากต้องบริหารเตียงที่เหลืออยู่ก่อนจึงจะสามารถรับผู้ป่วยรายใหม่ได้ ทำให้สถานการณ์เตียงโรคโควิด 19 ในเขตกทม. ขณะนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วงอย่างมาก แต่ขอยืนยันว่าทุกภาคส่วนได้ร่วมมือทำงานอย่างบูรณาการ เพื่อให้ผู้ป่วยโควิด 19 ได้รับการรักษาอย่างเร็วที่สุด

ทั้งนี้ ระดับสีของผู้ป่วยโควิด-19 แบ่งเป็น

กลุ่มสีเขียว ส่วนใหญ่ส่งเข้าโรงพยาบาล (รพ.) สนาม และฮอสพิเทล (Hospitel)  ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง ผื่นขึ้นถ่ายเหลว

กลุ่มสีเหลือง ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เป็นกลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีความเสี่ยงหรือมีโรคร่วมที่สำคัญ เช่น

1.อายุมากกว่า 60 ปี

2.โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (รวมโรคปอดอื่นๆ)

3.โรคไตเรื้อรัง

4 โรคหัวใจและหลอดเลือด (รวมโรคหัวใจแต่กำเนิด)

5.โรคหลอดเลือดสมอง

6.เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้

7.ภาวะอ้วนที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม

8.ตับแข็ง

และ 9.ภูมิคุ้มกันต่ำ (เซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 1,000 cell/mms)

กลุ่มสีแดง ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก เอ็กซเรย์ พบปอดอักเสบรุนแรง มีภาวะปอดบวม (ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% หรือ ความอิ่มตัวของเลือดลดลงมากกว่า 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกหลังออกแรง (Exercise – induced Hyoixemia)

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ