วิวัฒนาการโควิด-19 ประเทศไทย กับความจำเป็นของวัคซีนเข็มที่ 3


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เป็นที่แน่นอนแล้วว่าประเทศไทย กำลังถูกแทนที่ด้วยโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ในช่วง 4-5 เดือน นับจากนี้ตามวัฏจักรของไวรัส และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องมีการกระตุ้นวัคซีนเข็มที่ 3 แม้ว่าสถานการณ์การฉีดวัคซีน ณ วันนี้ การปูพรมเข็มที่ 1 และ 2 จะยังไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ก็ตาม

ในงานแถลงข่าว “Update การระบาดของสายพันธุ์ Delta (อินเดีย) และจะมีผลกระทบต่อการได้รับวัคซีนหรือไม่”  ในตอนหนึ่งศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญ เฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า

นพ.ยง แนะฉีดแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็มให้เร็วรับมือ สายพันธุ์เดลตาในอนาคต

วัฏจักรไวรัส สายพันธุ์ใหม่ ใช้เวลา 4-5 เดือน

วิวัฒนาการของไวรัสโควิด-19 ประเทศไทย

 ประเทศไทยเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์ดั่งเดิม หรือที่เรียกกันว่าสายพันธุ์อู่ฮั่น ขณะที่ทั่วโลกมีการระบาดของสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ จี

แต่ประเทศไทยเผชิญกับสายพันธุ์จีในระลอก 2 ในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร และระลอก 3 คือสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) และกำลังจะถูกแทนที่ด้วยสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ในไม่ช้า

จับตา 4-5 เดือน ตามวัฏจักรไวรัส

สายพันธุ์เดลต้าพบเริ่มต้นในแคมป์คนงาน หลักสี่ กทม. และแพร่กระจายในต่างจังหวัด ข้อมูลตั้งแต่เม.ย.-20 มิ.ย. 64 พบ สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) จำนวน 5,641 ตัวอย่าง สายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) จำนวน 661 ตัวอย่าง ซึ่ง สายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย)  แพร่ง่ายกว่าสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) แต่ความความรุนแรงของโรคไม่ได้รุนแรงขึ้น ซึ่งพยากรณ์อีก 4-5 ข้างหน้า สายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย)  จะกลบสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) หมดไป

สิ่งที่กังวลคือประสิทธิภาพของวัคซีน

แต่แม้ความความรุนแรงของโรคไม่ได้รุนแรงขึ้น แต่สิ่งที่กังวลคือ ประสิทธิภาพของวัคซีน เนื่องจากวัคซีนส่วนใหญ่บนโลกนี้พัฒนามาจากสายพันธุ์อู่ฮั่น เพราะฉะนั้น เมื่อมาเจอสายพันธุ์ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ก็เป็นไปได้ที่วัคซีนจะลดประสิทธิภาพลงทีละเล็กละน้อย จนกว่าจะมีการพัฒนาและผลิตวัคซีนเจเนอเรชันที่ 2 ให้ล้ำหน้าขึ้น ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน (สำหรับไข้หวัดใหญ่)

ขณะที่การใช้วัคซีนป้องกัน สายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย)  ต้องใช้ระดับภูมิต้านทานที่สูงพอ ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนของไฟเซอร์หรือแอสตร้าเซเนก้า ถ้า ฉีดเข็มเดียวภูมิต้านทานไม่สูงพอ ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคก็จะลดลง

จากการศึกษาในสกอตแลนด์ ถ้าเปรียบเทียบวัคซีนที่เปรียบเทียบระหว่าง วัคซีนไฟเซอร์ ที่ให้ระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่า วัคซีนแอสตร้าเซเนก้าปรากฏว่า ลดลงทั้ง 2 ตัว กับสายพันธุ์เดลตา และถ้าให้ วัคซีนเข็มเดียว เปรียบเทียบกันหลัง 28 วันไปแล้วการป้องกันของวัคซีนไฟเซอร์  จะอยู่ที่ร้อยละ 30  แต่ของแอสตร้าเซเนก้าจะอยู่ที่ร้อยละ 18

ย้ำต้องชะลอการแพร่ระบาดของ สายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย)  เพื่อรอวันกระตุ้นเข็ม 3

ดังนั้นแสดงให้เห็นแล้วว่า ภูมิคุ้มกันที่ใช้ต้องการในปริมาณที่สูง เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราพอจะทำได้คือชะลอการแพร่ของ สายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย)  ให้ได้มากที่สุด อย่างน้อยชะลอลงสัปดาห์ละร้อยละ 1- ร้อยละ 2  ก็คงจะใช้เวลานานพอสมควรให้ยอดผู้ติดเชื้อลงไประดับหนึ่ง คู่ไปกับการที่ทุกมหาวิทยาลัยระดมกำลังศึกษาการใช้วัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานที่สูงขึ้นในการป้องกันสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย)

ทั้งการให้วัคซีนแอสตร้าเซเนก้าเข็ม 2 ให้เร็วขึ้น หรือวัคซีนจีนอย่าง ซิโนแวค ซิโนฟาร์ม เมื่อฉีด 2 เข็มภูมิต้านทานอาจจะยังต่ำอยู่ ต้องกระตุ้นเข็มที่ 3 ก็เชื่อว่าจะทำให้ภูมิต้านทานสูงได้น้องๆ ของไฟเซอร์

เพราะหลักการของการให้วัคซีน เมื่อกระตุ้นในเวลาที่เหมาะสมภูมิต้านทานจะขึ้นไปถึง 10 เท่า หรือกว่า 10 เท่า ภูมิต้านทานก็จะขึ้นจนสามารถป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้

 

 

นพ. ยง กล่าวอีกว่า เมื่อทรัพยากรวัคซีนเรามีจำกัด เพราะฉะนั้นในระหว่างที่รอวัคซีนไฟเซอร์หรือโมเดอร์นาซึ่งคาดว่าจะมาในเดือน ต.ค. คือ การชะลอการระบาด สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ให้ได้มากที่สุด และพยายามปูพรมฉีดวัคซีนที่เรามีอยู่ในได้มากที่สุดเพื่อควบคุมการระบาดสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ก่อนในเบื้องต้น ให้ได้มากที่สุด

และเมื่อถึงเวลานั้น หากสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) เพิ่มขึ้นเราคงมีกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุไป จนกว่าเราจะมีวัคซีนเจนเนอเรชันที่สามารถป้องกันการกลายพันธุ์ได้โดยตรง

ด้าน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระบุว่า หากได้รับวัคซีนโควิด-19 แล้ว 2 เข็ม หากเป็นวัคซีนซิโนแวค ให้เตรียมตัวเข็มที่ 3 ได้เลย โดยถ้าฉีดแล้ว 2 เข็ม คนที่มีระดับภูมิในน้ำเหลืองที่ยับยั้งไวรัสตัวปกติได้ ต่ำกว่าร้อยละ 70 มีเป็นจำนวนพอสมควร และไม่น่าพอใจ และจะมีผลทำให้ลดประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อลดลงบ้าง และแน่นอนกับ สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย)  และสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) จะลดลงมากมาย ดังนั้น เข็มที่ 3 ใช้ไฟเซอร์ โมเดอร์นาดีกว่า

โดยตามรายงานจากการ์ตาร์ สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) ฉีดไฟเซอร์ 2 เข็ม  กันติดโรคได้ถึงร้อยละ 72 ถึงร้อยละ 75 แต่กันอาการหนักและตายได้ดี

สายเดลตา (อินเดีย) ฉีดไฟเชอร์ (รายงานจากสกอตแลนด์และจากอังกฤษ) กันติดโรคได้ตั้งแต่มากกว่าร้อยละ 79 ไปจนถึงร้อยละ 96 แต่กันอาการหนักและตายได้ดี แต่แน่นอนทั้งหมดนี้มีตายได้

ส่วน วัคซีนโนวาแวค โปรตีนจากระบบแมลงรุ่นสอง ออกแบบสู้กับ สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) (beta targeted vaccine) ได้ผลดีมาก อยู่ในการศึกษา

ดังนั้น วัคซีนต่อจากนี้ไปควรเป็นสู้กับหัวหน้าวายร้ายคือ สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) เป็นสำคัญ

ส่วนกรณีที่ถ้าได้เข็มหนึ่งเป็นชิโนแวคหรือแอสตร้าเซเนก้า ถ้ามี ไฟเซอร์ โมเดอร์นา ในมือ เข็ม 2 เป็นไฟเซอร์ โมเดอร์นาเลย น่าจะดีที่สุด

แต่…แต่ เราเลือกได้หรือไม่เพราะวัคซีนจำนวนจำกัดแถมไม่มีไฟเซอร์ โมเดอร์นา และประเทศไทยมีทุกสายพันธุ์แล้ว และทั้งไฟเซอร์และโมเดอร์นา มีปรากฏการณ์ลิ่มเลือดเช่นกัน แบบ TTP thrombotic thrombocytopenic purpura

โอกาสเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน,เกล็ดเลือดต่ำเพิ่มหลังฉีดไฟเซอร์ในอิสราเอล

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ