แนวทาง Community Isolation ผู้ป่วยโควิด รักษาในชุมชน กทม.เปิดแล้ว 104 จุด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รู้จัก ระบบดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ในชุมชน (Community Isolation) รวมกลุ่มรักษาโควิด-19 กทม. เปิดอีก 104 เตียง "ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ" เขตทวีวัฒนา

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยแนวทาง การจัดระบบดูแลผู้ป่วยโควิด-19 นอกเหนือจาก กลุ่มสีเขียวที่บ้าน (Home Isolation) แล้วยังมีการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ในชุมชน (Community Isolation) อีกด้วย  

สปสช. พร้อมจ่าย ค่าอุปกรณ์ - อาหาร 3 มื้อ 14 วัน ผู้ป่วยโควิดรักษาตัวที่บ้าน (Home isolation)

Home Isolation วิธีปฎิบัติตัวผู้ป่วยโควิดเมื่อจำเป็นต้องกักตัวที่บ้าน

เบื้องต้นในส่วนของ Home Isolation นำร่องที่โรงพยาบาลราชวิถี ดูแลผู้ป่วยด้วยแนวทางนี้ 18 ราย โดยความยินยอมของผู้ป่วย ซึ่ง รพ.ได้มอบที่วัดไข้ วัดค่าออกซิเจนปอดด้วยการออกกำลังกาย เอกซเรย์ปอดในรายที่จำเป็น และมีระบบติดตาม

ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่กลับเข้ารักษาที่ รพ.เพียง 2 ราย ขณะที่ปัจจุบันใน รพ.สังกัดกรมการแพทย์มีผู้ป่วยในระบบ Home Isolation แล้วเกือบ 100 ราย

คนไข้กลุ่มนี้นอกจากเป็นผู้ป่วยที่รอการรับเข้ารักษาที่โรงพยาบาลแล้ว ยังเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ผ่านการรักษาที่ รพ.มาแล้ว 10 วัน จนมีอาการดีขึ้น ไม่ต้องใช้ออกซิเจน และสามารถกลับไปดูแลต่อที่บ้านจนครบ 14 วันได้

"ในส่วนผู้ป่วยที่รอเข้ารักษาที่โรงพยาบาลนั้น เรายอมรับว่ามีความเสี่ยงอยู่ ทั้งกับผู้ป่วยและชุมชน เพราะผู้ป่วยที่อยู่บ้านอาจมีอาการแย่ลงได้หากไม่ได้รับการดูแลที่ดี ขณะเดียวกันหากไม่มีการแยกผู้ป่วยดูแลได้จริงก็อาจทำให้เชื้อแพร่กระจายได้ แต่ด้วยสถานการณ์เตียงเต็ม หมอ พยาบาล ที่เหนื่อยแล้ว ทำให้ต้องนำระบบนี้มาช่วย"   

อย่างไรก็ตาม ส่วนของ Home Isolation สามารถทำได้ไม่มีปัญหา แต่ Community Isolation ทราบว่าทาง กทม. เตรียมออกประกาศเพื่อเปิดช่องทางนี้อยู่  ในวันที่ 12 ก.ค. 2564 กรมควบคุมโรค จะนำการจัดระบบ Community Isolation เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อแห่งชาติเพื่อพิจารณาเห็นชอบและให้มีกฎหมายรองรับในการดำเนินการ 

กทม.เปิดแล้ว 104 จุด

ทางด้าน กทม.มีการจัดตั้ง “ศูนย์พักคอย” ใช้เป็นสถานที่ให้ผู้ป่วยโควิดสีเขียวอยู่ระหว่างการรอส่งต่อโรงพยาบาล และใช้เป็นสถานที่สำหรับดูแล กลุ่มคนที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษระหว่างรอเตียง เช่น เด็กที่พ่อแม่ติดเชื้อที่ไม่มีคนในครอบครัวดูแล เพื่อรอการส่งต่อผู้ป่วยโควิดเข้ารักษาในโรงพยาบาล” หรือ Community Isolation ซึ่งมีแผนจะจัดตั้งให้ครบทั้ง 6 กลุ่มเขต และจะจัดตั้งให้มากที่สุดทุกเขตทั่วพื้นที่ กทม.

โดยพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตรวจความพร้อม ”ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ” ที่ ศูนย์สร้างสุขทุกวัยทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา เพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ ก่อนนำส่งโรงพยาบาล 

ผู้ว่าฯ อัศวิน กล่าวว่า สำหรับศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ ที่ ศูนย์สร้างสุขทุกวัยทวีวัฒนาแห่งนี้ สามารถรองรับได้ 104 เตียง จะพร้อมเปิดรับผู้ป่วยติดเชื้อในวันที่ 13-14-15 ก.ค. นี้ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเขตทวีวัฒนา และบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และโรงพยาบาลใกล้เคียง ทั้งนี้กรุงเทพมหานคร มีศูนย์พักคอยฯ ทั้งหมด 20 จุด สามารถรองรับได้กว่า 3,000 เตียง ซึ่งจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกทุกอย่างเหมือนอยู่บ้าน แต่อาจจะไม่สะดวกสบายเท่า

 

โดยมีการดูแลผู้ป่วยโควิดที่ศูนย์พักคอยทุกแห่ง จะมีเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) คอยดูแลผู้ป่วยประเมินอาการอย่างใกล้ชิด โดยมีอุปกรณ์ที่จำเป็น ยาและเครื่องมือทางการแพทย์ดูแลอาการผู้ป่วยโควิด ได้แก่

1. เครื่องวัดค่าออกซิเจนปลายนิ้ว ไว้สำหรับวัดค่าออกซิเจนในเลือด เพราะคนไข้ที่ติดเชื้อโควิด
สีเขียวจำนวนมากที่ไม่แสดงอาการเปลี่ยนเป็นผู้ป่วยเหลืองได้เร็ว แต่หากมีการวัดค่าออกซิเจนในระหว่างที่รอส่ง รพ. และพบว่ามีค่าต่ำกว่าปกติมาก (ต่ำกว่า 95%) จะได้รีบส่งเข้ารักษาใน รพ.

2. เครื่องออกซิเจน ใช้สำหรับช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีออกซิเจนต่ำกว่า 95% ระหว่างการรอส่งเข้าโรงพยาบาล เพราะผู้ป่วยโควิดเขียว หากมีอาการขึ้นมาจะเปลี่ยนเป็นผู้ป่วยเหลืองได้เร็วมากขึ้น

สปสช. พร้อมจ่ายค่าบริการทุกขั้นตอน

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า สปสช.จะสนับสนุนในกรณีผู้ป่วยโควิด-19 รักษาตัวที่บ้าน (Home isolation) พร้อมจ่าย

1.ค่าบริการให้แก่โรงพยาบาลตั้งแต่ค่าตรวจหาเชื้อ ค่ารักษา ค่ายา และยังจะสนับสนุนค่าอุปกรณ์ ไม่เกิน 1,100 บาท

2.ค่าดูแลผู้ป่วยรวมอาหาร 3 มื้อ ไม่เกิน 1,000 บาท/วัน เป็นเวลา 14 วัน 

3.ค่าบริการให้แก่โรงพยาบาลตั้งแต่ค่าตรวจหาเชื้อ ค่ารักษา ค่ายา และยังจะสนับสนุนค่าอุปกรณ์ ไม่เกิน 1,100 บาท

4.ค่าดูแลผู้ป่วยรวมอาหาร 3 มื้อ ไม่เกิน 1,000 บาท/วัน เป็นเวลา 14 วัน 

อย่างไรก็ตาม การดูแลผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียวในชุมชน เป้าหมายคือ ทำอย่างไรให้มาตรฐานการดูแลไม่ด้อยกว่าที่ Hospitel เพราะโรคนี้ทำให้เกิดภาวะปอดบวมเงียบได้ จึงต้องไม่ใช่แค่การวัดไข้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องวัดค่าออกซิเจน และการเอกซเรย์ปอดที่เป็นการแยกอาการเพื่อดูแล

แต่เดิมผู้ป่วยใช้เวลารอเตียงเพียง 2-3 วัน แต่ปัจจุบันต้องใช้ระยะเวลารอที่นาน อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าต้องทำทั้งหมด แต่เป้าหมายคือให้มีการคัดกรองที่ดี รวมถึงให้มีการนำส่งยารักษามาไว้ในชุมชน ซึ่งจากสายด่วน สปสช. 1330 ที่ได้รับประสานหาเตียง ในจำนวนนี้ 50 รายยินดีเข้าสู่ระบบ Home Isolation และ Community Isolation     

โดย นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในการสนับสนุนการบริการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ตามระบบการดูแลของกรมการแพทย์และกระทรวงสาธารณสุข สปสช.ได้ออกแบบกลไกเบิกจ่ายตาม เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งการจัดระบบ Home Isolation และ Community Isolation 

เราแยกรายการเบิกจ่ายที่ทำให้เกิดความสะดวก และไม่เป็นภาระโรงพยาบาลที่ต้องทำทั้งหมด เช่น เอกซเรย์ก็แยกจ่ายต่างหาก ในกรณีที่ รพ.ไม่มีรถโมบายยูนิตเข้าไปบริการ ก็สามารถดึงเอกชนร่วมได้ แยกค่าอาหารผู้ป่วย 3 มื้อ เพื่อให้จับมือกับฟู๊ดเดลิเวอรี่ส่งอาหารผู้ป่วย โดยที่โรงพยาบาลไม่ต้องนำอาหารไปส่งเอง เป็นต้น เพื่อให้ รพ.เน้นที่การรักษาดูแลผู้ป่วย

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ