Community Isolation รวมไว้ที่นี่ 14 ศูนย์ 2,176 เตียง ใน กทม.


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมการแพทย์ เปิด มาตรการแยกกักตัวในชุมชน Community Isolation 5 เกณฑ์ปฏิบัติ พร้อมเช็คในพื้นที่กรุงเทพมหานครเตรียมรองรับ พื้นที่ 6 กลุ่มเขต จำนวน 14 ศูนย์ สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 2,176 เตียง

Community Isolation คืออะไรต่างจาก Home Isolation อย่างไร

Community Isolation คือการแยกกักตัวผู้ป่วยโควิด-19 ในชุมชน และเพื่อการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการรุนแรง  ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวให้เข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็วในขณะที่ยังรอเตียง ซึ่งจะได้รับอุปกรณ์ที่จำเป็นในการตรวจเช็คอาการด้วยตนเอง พร้อมการติดตามอาการจากแพทย์ พยาบาลด้วยระบบ Telemedicine และรวมถึงอาหารครบ 3 มื้อ เหมาะกับผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในบ้านพักที่คับแคบ และมีสมาชิกหลายคน ไม่สะดวกที่จะ Home Isolation แยกห้องนอน ห้องน้ำ เป็นต้น 

แนวทาง Community Isolation ผู้ป่วยโควิด รักษาในชุมชน กทม.เปิดแล้ว 104 จุด

ศบค. ตั้งทีมเคลื่อนที่เร็ว 200 ทีมค้นหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ชุมชนทั่วกทม. 50 เขต

สปสช. พร้อมจ่าย ค่าอุปกรณ์ - อาหาร 3 มื้อ 14 วัน ผู้ป่วยโควิดรักษาตัวที่บ้าน (Home isolation)

 

มีจุดไหนบ้าง 

กรุงเทพมหานคร ร่วมกับกรมการแพทย์ โรงเรียนแพทย์ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ได้จัดเตรียมสถานที่สำหรับกักตัวผู้ป่วยในเขตพื้นที่ซึ่งแยกบริเวณออกจากชุมชนไว้ เช่น ศาลาวัด หอประชุมโรงเรียน แคมป์คนงาน หรือหมู่บ้านซึ่งมีพื้นที่เพียงพอสำหรับกักตัวผู้ป่วยไม่เกิน 200 คน เพื่อลดความแออัด และจัดการสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ

โดยในส่วนของ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันกรุงเทพมหานคร  เปิดศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อผู้ป่วยที่มีผลตรวจรับรองว่าติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ 6 กลุ่มเขต จำนวน 14 ศูนย์ สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 2,176 เตียง

โดยจะขยายเพิ่มเติมให้ครบ 23 แห่ง เพื่อให้สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 3,103 ราย ประกอบด้วย

กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ เขตบางเขนใช้พื้นที่ศูนย์กีฬารามอินทรา รองรับได้ 150 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์

เขตจตุจักรใช้พื้นที่ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ รองรับได้ 180 เตียง และศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร รองรับได้ 120 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลกลาง

เขตดอนเมืองใช้พื้นที่ศูนย์สร้างสุขทุกวัยดอนเมือง รองรับได้ 150 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลกลาง

เขตหลักสี่ใช้พื้นที่โรงเรียนการไปรษณีย์ รองรับได้ 120 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลกลาง

เขตลาดพร้าวใช้พื้นที่สำนักงานสนับสนุนและส่งเสริมวิชาการ 2 ซ.ประดิษฐ์มนูธรรม 19 รองรับได้ 100 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลกลาง ทั้ง 2 ศูนย์อยู่ระหว่างดำเนินการ

กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง

เขตพระนครใช้พื้นที่อาคารปฏิบัติธรรม วัดอินทรวิหาร รองรับได้ 200 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

เขตดินแดงใช้พื้นที่อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนฯ ไทย-ญี่ปุ่น รองรับได้ 150 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

เขตห้วยขวางใช้พื้นที่อาคารทางเข้า RCA ฝั่ง TOP รองรับได้ 145 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ทั้ง 2 ศูนย์อยู่ระหว่างดำเนินการ

กลุ่มเขตกรุงเทพใต้

เขตคลองเตยใช้พื้นที่วัดสะพาน รองรับได้ 250 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลสิรินธร

เขตสวนหลวงใช้พื้นที่วัดปากบ่อ รองรับได้ 140 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลสิรินธร

กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก

เขตหนองจอกใช้พื้นที่ศูนย์สร้างสุขทุกวัยหนองจอก รองรับได้ 100 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลเวชการุณรัศมิ์

เขตลาดกระบังใช้พื้นที่ร้านอาหารจงกั๋วเหยียน รองรับได้ 250 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร

เขตสะพานสูงใช้พื้นที่ศูนย์สร้างสุขทุกวัยสะพานสูง รองรับได้ 146 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลคลองสามวา

เขตบางกะปิใช้พื้นที่ศูนย์สร้างสุขทุกวัยบางกะปิ รองรับได้ 150 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลบางนา อยู่ระหว่างดำเนินการ เขตคันนายาวใช้พื้นที่อาคารฝั่งตรงข้ามสยามอะเมซิ่งพาร์ค สวนสยาม อยู่ระหว่างสำรวจ

กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ

เขตบางกอกน้อยใช้พื้นที่วัดศรีสุดารามวรวิหาร รองรับได้ 90 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลราชพิพัฒน์

เขตคลองสานใช้พื้นที่อาคารกิจไพบูลย์ อิมพอร์ต รองรับได้ 130 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลตากสิน

เขตทวีวัฒนาใช้พื้นที่ศูนย์สร้างสุขทุกวัยทวีวัฒนา รองรับได้ 110 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลตากสิน

เขตธนบุรีใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อาคารพระยาสีหราชเดโชทัย รองรับได้ 100 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลตากสิน ทั้ง 2 ศูนย์อยู่ระหว่างดำเนินการ

กลุ่มเขตกรุงธนใต้

เขตบางแคใช้พื้นที่ศูนย์สร้างสุขทุกวัยบางแค (เรืองสอน) รองรับได้ 150 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ

เขตบางขุนเทียนใช้พื้นที่ศูนย์สร้างสุขทุกวัยบางขุนเทียน รองรับได้ 120 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน

 

หลักเกณฑ์สำคัญในการปฏิบัติงานของ Community Isolation

- ผู้ป่วยต้องเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 ที่อาศัยอยู่ในชุมชน

- ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย อายุต่ำกว่า 60 ปี

- ไม่มีโรคเรื้อรัง และไม่มีความจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการรักษา

- ผู้ติดเชื้อสมัครใจและสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้

- มีช่องทางการสื่อสารผ่าน วิดีโอคอนเฟอเรนซ์  วิดีโอคอล ติดตามอาการทุกวัน โดยแพทย์ พยาบาลวันละ 2 ครั้ง และมีช่องทางการติดต่อฉุกเฉิน

อุปกรณ์และความช่วยเหลือที่จะได้รับ

- การวัดอุณหภูมิ (ที่วัดไข้) 

- การวัดออกซิเจนในเลือด แนะนำวิธีทดสอบออกซิเจนในเลือด กรณีสงสัยว่าปอดมีปัญหาหรือไม่ โดยให้วัดออกซิเจนในเลือดก่อนออกกำลังกายลุกนั่ง 1 นาที และวัดซ้ำหลังทำ หากปริมาณออกซิเจนลดลงมากกว่า 3 % จะถูกส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาล

- มีติดตามอาการจากแพทย์และพยาบาล ผ่านระบบ Telemedicine 

- ระบบการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน Home Health care

- ระบบการส่งต่อผู้ป่วยมายังโรงพยาบาลกรณีฉุกเฉิน โดยกระทรวงสาธารณสุข กรณีอาการเปลี่ยนแปลง

- อาหารครบ 3 มื้อ

คอนเทนต์แนะนำ
แชร์ว่อน! จองวัคซีนซิโนฟาร์ม ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 1,554 บาท ผ่านแอปฯ CRA SINOP มี 5เงื่อนไข
แอดมินเพจ แจงแทน “อั้ม พัชราภา” หลังตั้งไพรเวทไอจี ถูกด่าหยาบ แฟนคลับส่งกำลังใจล้น
ทำความรู้จักยารักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของไทยที่นำมาใช้

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ