อนามัยโลก เตือนวิกฤตโควิดห่างไกลจุดจบ โลกเผชิญไวรัสกลายพันธุ์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา หลายประเทศเริ่มคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ส่วนประชาชนจำนวนมากก็เริ่มการ์ดตก ไม่ป้องกันตัวเองเหมือนเดิม ล่าสุดองค์การอนามัยโลก เตือนวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ยังห่างไกลจากจุดจบ และมีแนวโน้มที่โลกจะเผชิญกับไวรัสกลายพันธุ์ที่อันตรายกว่าเดิม

“ผอ.สายด่วน 1668” ยอมรับ ผู้ป่วยโควิดโทรขอเตียงวันละ 8 พันคน เกินศักยภาพ จนท.

ประมวลเหตุทั่วโลก บุคลากรการแพทย์ประท้วงรัฐบาลช่วงโควิด-19 ระบาดหนัก

เมื่อวันmuj 14 ก.ค. ที่ผ่านมา นายทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เปิดเผยว่า ขณะนี้หลายประเทศเข้าใจผิดคิดว่าวิกฤตโควิด-19 กำลังจะสิ้นสุดลง ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วสถานการณ์นั้นห่างไกลจากจุดจบ พร้อมเตือนมีความเป็นไปได้สูงที่โลกจะเผชิญกับไวรัสกลายพันธุ์ชนิดใหม่ในอนาคต โดยคาดว่าจะเป็นสายพันธุ์ที่อันตรายและควบคุมยากกว่าเดิม

 

โดยองค์การอนามัยโลกต้องออกมาเตือนเช่นนี้ เพราะตอนนี้หลายประเทศกลับมาพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากโควิดกลายพันธุ์หลายชนิด โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตา หรือ B.1.617.2 จากอินเดีย ที่ตอนนี้แพร่ระบาดไป 111 ประเทศทั่วโลกแล้ว

เมื่อวานนี้ทางองค์การอนามัยโลกได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โรคระบาดในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือเป็นพิเศษ เพราะตอนนี้ทั้งสองภูมิภาคพบยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น จากการระบาดของไวรัสเดลตา และสถานการณ์มีแนวโน้มที่จะแย่ลงในอีกไม่กี่สัปดาห์ ประเทศในตะวันออกกลาง อย่าง ลิเบีย อิหร่าน อิรัก และซาอุดีอาระเบีย มีรายงานยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นจนสถานการณ์ส่อแววเข้าขั้นวิกฤต

องค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เปิดเผยว่า ตอนนี้ภูมิภาคตะวันออกกลางมีผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 11 ล้านรายแล้ว นับตั้งแต่โควิด-19 เริ่มระบาด พร้อมเตือนว่าตะวันออกกลางอาจเผชิญกับหายนะ เนื่องจากวันที่ 20 กรกฎาคมนี้จะตรงกับวันอีดิลอัฎฮา(อี-ดิ้ล-อัด-ฮา) เทศกาลเฉลิมฉลองของศาสนาอิสลามที่ชาวมุสลิมจำนวนมากมักรวมตัวกัน ซึ่งอาจส่งผลให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายมากขึ้น

 

แอฟริกาเหนือก็น่ากังวลไม่แพ้กัน เพราะตอนนี้ภูมิภาคนี้มีอัตราผู้เสียชีวิตจากโควิด สูงที่สุดในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกและทวีปแอฟริกา เพราะการระบาดของไวรัสเดลตาเช่นกัน ประเทศในแอฟริกาเหนือประกอบไปด้วย 7 ประเทศ ได้แก่ แอลจีเรีย อียิปต์ ลิเบีย โมร็อกโก ซูดาน มอริเตเนีย และตูนีเซีย หนักที่สุดก็คือตูนิเซีย ที่ตอนนี้อัตราการตรองเตียงที่มีเครื่องผลิตออกซิเจนและเตียงไอซียูเกือบเต็มแล้ว

อีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้องค์การอนามัยโลกต้องเตือนเกี่ยวกับวิกฤตด้านสาธารณสุขทั่วโลกก็คือ อัตราการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ต่ำ  ตอนนี้ทั่วโลกมีประชาชนเพียงร้อยละ 25 เท่านั้นที่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อยหนึ่งโดส โดยส่วนใหญ่คือประชาชนในประเทศร่ำรวย ทางองค์การอนามัยโลกจึงเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยแบ่งปันและบริจาควัคซีนให้แก่ประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ เพื่อเร่งยุติวิกฤตโรคระบาด

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ