กำจัดขยะถูกวิธี ลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายโควิด 19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เมื่อผู้ป่วยโควิด 19 ต้องแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) จึงทำให้เกิดขยะมูลฝอยติดเชื้อได้ และวิธีลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายโรคโควิด-19 ก็ต้องกำจัดขยะเหล่านี้้ให้ถูกวิธี

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้กระทรวงสาธารณสุขอนุมัติให้ประชาชนที่ติดเชื้อโควิด 19 มีการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) และการแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) ซึ่งวิธีนี้ก็มีความน่าเป็นห่วงเกี่ยวกับขยะมูลฝอยติดเชื้อจากครัวเรือนทั้งที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือสารคัดหลั่ง เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู และภาชนะใส่อาหารพร้อมบริโภค เพราะนี่อาจเป็นตัวแพร่เชื้อโรคได้เป็นอย่างดี 

กทม.เผยขยะติดเชื้อ หน้ากากอนามัย พุ่ง 20 ตัน/วัน จัดถังส้ม 1,000 จุดรับ แนะวิธีทิ้ง

“คนเก็บขยะ” เสี่ยงสัมผัสเชื้อโควิด-19

จากข้อมูลของ กรมอนามัย  พบว่าตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน 2564 รวมทั้งหมด 31,709.84 ตัน เฉพาะในเดือนมิถุนายนเพียงเดือนเดียวพบปริมาณมูลฝอยติดเชื้อสูงที่สุดเฉลี่ย 210 ตันต่อวัน และการที่ประชาชนแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) และการแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation)  ก็อาจส่งผลให้เกิดขยะมูลฝอยเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะ Antigen Test Kit ถือเป็นมูลฝอยที่มีความเสี่ยงสูง จึงจำเป็นต้องมีการแยกจัดการจากขยะทั่วไป  เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด–19 โดยมีแนวทางการจัดการดังนี้ 

วิธีการกำจัดขยะมูลฝอยติดเชื้อ แบ่งออกเป็น 2 กรณี 

    กรณีที่ 1      ในพื้นที่หรือชุมชนมีระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อ  
        ให้เก็บรวบรวมขยะติดเชื้อเป็นประจำทุกวัน โดยใส่ถุงขยะ (ถุงแดง) 2 ชั้น โดยถุงชั้นแรกที่สัมผัสมูลฝอยติดเชื้อ มัดปากถุงด้วยเชือกให้แน่น แล้วฉีดพ่นบริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้อ เช่น สารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5,000 ppm หรือเตรียมจากน้ำยาฟอกขาวผสมน้ำ อัตราส่วน 1 : 10 หรือแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ แล้วมัดปากถุงชั้นนอกด้วยเชือกให้แน่น และฉีดพ่นบริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้ออีกครั้ง แล้วเคลื่อนย้ายไปไว้ยังจุดพักขยะที่จัดไว้เฉพาะ ประสานไปยังหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการเก็บ ขน มูลฝอยติดเชื้อในพื้นที่ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อกำหนดวิธีการนำมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดจาก Home Isolation และ Community Isolation ไปกำจัดอย่างถูกต้องต่อไป 


    กรณีที่ 2     ในพื้นที่หรือชุมชนไม่มีระบบการเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อ
         ให้เก็บรวบรวมและทำลายเชื้อ  โดยใส่ถุงขยะ 2 ชั้น ถุงใบแรกที่บรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้ว ให้ราดด้วยสารฆ่าเชื้อหรือน้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ จากนั้นมัดปากถุงให้แน่นแล้วฉีดพ่นบริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้อ เช่น สารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5,000 ppm หรือเตรียมจากไฮเตอร์ผสมน้ำ อัตราส่วน 1 : 10 หรือแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ ซ้อนด้วยถุงขยะอีก 1 ชั้น มัดปากถุงชั้นนอกด้วยเชือกให้แน่น และฉีดพ่นด้วยสารฆ่าเชื้อบริเวณปากถุงอีกครั้ง ซึ่งมูลฝอยที่ผ่านการทำลายเชื้อแล้ว ให้ประสานและนำส่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ นำไปกำจัดเป็นมูลฝอยทั่วไป ทั้งนี้ ภายหลังจัดการมูลฝอยติดเชื้อแล้ว ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ทันที

 

ที่มา :  นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย 

 

คอนเทนต์แนะนำ
ผวา รถตู้ฉุกเฉิน ทิ้งขยะติดเชื้อโควิดข้างทาง
ขอกลุ่มเสี่ยง “ฆ่าเชื้อแมสก์” ก่อนทิ้ง

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ