เลขาธิการ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เผยทยอยนำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์มต่อเนื่อง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะนำเข้าวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” จนกว่าจะครบความต้องการที่จองเข้ามา 4-5 ล้านคน และ จะขยายการนำเข้าเผื่อเด็กด้วย

ความต้องการวัคซีนซิโนฟาร์มยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมียอดคนที่รอวัคซีน 4-5 ล้านคน ทำให้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ต้องเตรียมทยอยนำเข้า “ซิโนฟาร์ม” เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนคนที่รอวัคซีน และ จะปรับปรุงระบบการจองให้เหมาะสมสำหรับประชาชนทั่วไป โดยพบว่ายอดจองล็อตแรกสูงกว่าจำนวนที่เปิดจองเกือบเท่าตัว หลังจากนี้จะเร่งพิจารณาการนำเข้าวัคซีนสำหรับฉีดให้เด็กด้วย

อัปเดต! จองวัคซีนซิโนฟาร์ม ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 18 ก.ค. เปิด 2 ช่องทาง จ่าย 1,554 บาท 4 เงื่อนไข

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดชื่อ 23 โรงพยาบาลรับฉีด "ซิโนฟาร์ม" พร้อมอัตราค่าบริการ

ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้สัมภาษณ์ว่า การนำเข้าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ล่าสุดนำเข้ามาทั้งหมด 3 ล้านโดสแล้ว โดยรอบล่าสุด คือ เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมาอีก 1 ล้านโดส และ ทำการส่งมอบพร้อมฉีดวัคซีนให้ผู้ที่จองผ่านองค์กรต่างๆ 2 ล้านคน แต่ยังมีคนที่รอวัคซีนอยู่อีก 4-5 ล้านคนหมายความว่ามีความต้องการวัคซีนอีก 8-10 ล้านโดส ซึ่งส่วนใหญ่มาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้นจากนี้ยังคงทยอยนำเข้าต่อเนื่องให้เพียงพอกับความต้องการที่รอคอยอยู่

เลขาธิการ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ระบุว่า การนำเข้าจากนี้จะคำนึงถึงการนำเข้าวัคซีนสำหรับเด็กด้วย เนื่องจากพบว่าในปัจจุบัน มีเด็กติดเชื้อโควิด-19เพิ่มขึ้น และ นำเชื้อไปแพร่สู่ผู้ใหญ่ในครอบครัวด้วย โดยมองว่า อีกไม่เกิน 1 เดือนจะมีการขยายการนำเข้าวัคซีนที่ฉีดในเด็กได้ด้วย ซึ่งส่วนตัวมองว่าต้องรีบดำเนินการ และ ถ้าจะนำเข้ามาควรจะเป็นวัคซีนเชื้อตาย

“ความเห็นส่วนตัวจริงๆ เนื่องจากเป็นวัคซีนเชื้อตายผลข้างเคียงต่ำผลระยะยาวเราทราบแล้ว เด็กต้องมีชีวิตอีกยาวนาน ความเห็นส่วนตัวผมจะเลือกวัคซีนที่เป็นเชื้อตายซิโนฟาร์ม หรือ ซิโนแวค หรือวัคซีนอื่นๆ ที่เป็นเชื้อตาย ความเห็นส่วนตัวล้วนๆ” 

ส่วนการเปิดจองวัคซีนที่เปิดให้ภาคประชาชนทั่วไปจองล่าสุดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา เปิดจอง 4 หมื่นรายแต่มีประชาชนเข้ามาจองจริงกว่า 87,000 ราย แน่นอนว่าจะมีการเปิดจองในล็อตที่ 2 ซึ่งใช้เวลาไม่เร็วกกว่า 1 สัปดาห์ในการปรับระบบต่างๆ ให้เร็วขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ การเช็ครายบุคคลว่า เป็นบุคคลนั้นจริงๆ ตรงนี้มีความล่าช้า เนื่องจากการจองล็อตแรกองการทดสอบระบบการจอง และ ระบบการไปฉีดที่โรงพยาบาล ซึ่งพบว่า ไม่ง่ายอย่างที่คิด โดยรอบนี้ปรับให้พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงหรือสีแดงเข้มได้สิทธิ์เข้ามาจองเพิ่มเติมด้วย

สำหรับประเด็นเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนฟาร์ม ในการสู้กับเชื้อกลายพันธุ์อย่างสายพันธุ์เดลตา ศ.นพ.นิธิ ให้แง่คิดว่า ประเด็นหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามพอๆ กับการวัดประสิทธิภาพวัคซีน คือ การขนส่งและเก็บวัคซีน มีความสำคัญมาก ตั้งแต่ออกจากประตูโรงงาน ขึ้นรถ ขึ้นเครื่องบินและออกจากสนามบินไปเก็บที่คลัง ตรงนี้จะมีมาตรฐานอยู่ทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่าอย่างน้อยที่สุดวัคซีนยังคุณภาพสมบูรณ์อยู่ สิ่งที่เราไม่ได้ดูรายละเอียดมากนัก คือ การขนส่งไปยังสถานพยาบาลต่างๆ การนำวัคซีนออกจากคลังยาไปรอฉีดเป็นจุดที่กังวลว่า จะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนด้อยลงไป และอาจจะทำให้ประสิทธิภาพด้อยลงไปเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง ประเทศไทยอุณหภูมิในห้องสูงกว่าปกติต้องระวังเรื่องนี้ด้วย

คอนเทนต์แนะนำ
เผยเหตุ แอปฯ - เว็บจองวัคซีน "ซิโนฟาร์ม" ล่ม หลังคนแห่เข้าระบบพร้อมกันเกือบ 8 แสนคน
“หมอโอภาส” เผย หาก 2 เดือนยอดโควิดไม่ลด อาจต้องปิดเมืองแบบอู่ฮั่น

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ