สธ. ปรับแนวทางให้ “ยาฟาวิพิราเวียร์” เร็วขึ้น รักษาผู้ป่วยโควิดแม้อาการไม่รุนแรง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับปรุงแนวทางล่าสุด ในการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยให้ ยาฟาวิพิราเวียร์ รักษาผู้ป่วยตามลักษณะอาการต่าง ๆ

ยารักษาโควิดไทย “ฟาวิพิราเวียร์” ขึ้นทะเบียน อย.แล้ว พร้อมแจกจ่ายผู้ป่วย ส.ค.นี้

ทำความรู้จักยารักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของไทยที่นำมาใช้

ส่องมาตรการกักตัวที่บ้าน (home isolation) และการช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ในต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา โพสต์เฟซบุ๊กเผยเอกสารของกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้ออก  แนวทางเวชปฏิบิติการวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  หรือโควิด (COVID-19) ฉบับปรับปรุงวันที่ 21 ก.ค. 2564  สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข โดยเอกสารดังกล่าวมีแนวทางการให้ยาฟาวิพิราเวียร์ รักษาโควิด-19 ตามอาการของผู้ป่วย ดังนี้


 

1. ผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ไม่มีอาการอื่น ๆ หรือสบายดี (Asymptomatic COVID-19)

  • แนะนำให้แยกกักตัวที่บ้านหรือในสถานที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ ระยะเวลาการกักตัว (ในสถานพยาบาลรวมกับที่บ้าน) อาจนานกว่านี้ในผู้ป่วยบางรายขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์
  • ให้ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์ ไม่ให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนมากหายได้เองและอาจได้รับผลข้างเคียง จากยา
  • พิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรในกลุ่มที่ไม่มีอาการขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์

 

2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญ ภาพถ่ายรังสีปอดปกติ (Symptomatic COVID-19 without pneumonia and no risk factors for severe disease)

  • พิจารณาให้ ยาฟาวิพิราเวียร์  เริ่มให้ยาเร็วที่สุด
  • หากตรวจพบเชื้อมาเกิน 7 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยอาจไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้น่าจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
  • แนะนำให้แยกกักตัวที่บ้านหรือในสถานที่รัฐจัดให้ หากเข้าเกณฑ์ที่จะรับการรักษาแบบ home isolation หรือ community isolation ก็สามารถให้การรักษาในลักษณะดังกล่าวได้ โดยให้ปฏิบัติตามหลักการแยกโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เป็นเวลาอย่างน้อย (รวมทุกระบบการรักษา) 14 วัน นับจากวันที่เริ่มมีอาการหรือจนกว่าอาการ จะดีขึ้น อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง

 

3. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือ มีโรคร่วมสำคัญ หรือผู้ป่วยที่มีปอดบวม (pneumonia) เล็กน้อย ซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ข้อ 4 (COVID-19 with risk factors for severe disease orhaving co-morbidity or mild pneumonia) ปัจจัยเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ อายุ >60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) รวมโรคปอดเรื้อรังอื่น " โรคไตเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือดรวมโรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ภาวะอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 90 กก. หรือ BMI 230 กก/ตร.ม) ตับแข็ง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ และ ลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) น้อยกว่า 1,000 เซลล์/ลบ.มม. หรือผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงของโรคมากขึ้น แนะนำให้รักษาในโรงพยาบาล โดยให้อยู่ในระบบการรักษาและการแยกโรคอย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่เริ่มมีอาการหรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น (อาจอยู่โรงพยาบาลน้อยกว่า 14 วัน แล้วกลับไปกักตัวต่อที่บ้านจนครบ 14 วัน)

  • แนะนำให้ยาฟาวิพิราเวียร์โดยเริ่มให้ยาเร็วที่สุด ให้ยานาน 5 วัน หรือมากกว่า ขึ้นกับอาการทางคลินิกตามความเหมาะสมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
  • พิจารณาให้ คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid) ร่วมกับยาฟาวิพิราเวียร์ ในกรณีที่มีผู้ป่วยมีอาการและภาพถ่ายรังสีปอดที่แย่ลง คือ มี progression of infiltrates หรือค่า room air Sp02 =96% หรือพบว่ามี Sp02 ขณะออกแรงลดลง 23% ของ ค่าที่วัดได้ครั้งแรก (exercise-induced hypoxia)

 

4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดบวมที่มี hypoxia (resting O2 saturation <96 %) หรือมีภาวะลดลงของออกซิเจน Sp02 23% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกขณะออกแรง (exercise-induced hypoxemia) หรือภาพรังสีทรวงอกมี progression ของ pulmonary infiltrates

  • แนะนำให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นเวลา 5-10 วัน ขึ้นกับอาการทางคลินิก
  • อาจพิจารณาให้ยา โลปินาเวียร์/ริโตนาเวียร์ (lopinavir/ riton avir) 5-10 วัน ร่วมด้วย (ตามดุลยพินิจของแพทย์)
  • แนะนำให้ corticosteroid ดังตารางที่ 1

 

การรักษาโควิด-19 ในผู้ป่วยเด็ก น้อยกว่า 15 ปี ให้ใช้ยาในการรักษาจำเพาะดังนี้ โดยมีระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลเหมือนผู้ใหญ่

1. ผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ไม่มีอาการ (Asymptomatic COVID-19)

  • แนะนำให้ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์

2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดบวม ไม่มีปัจจัยเสี่ยง (Symptomatic COVID-19 without pneumonia and no risk factors)

  • แนะนำให้ดูแลรักษาตามอาการ พิจารณาให้ ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นเวลา 5 วัน

3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง หรือมีอาการปอดบวม (pneumonia) เล็กน้อยไม่เข้าเกณฑ์ข้อ 4 (Symptomatic COVID-19 without pneumonia but with risk factors) ปัจจัยเสี่ยง/โรคร่วมสำคัญ ได้แก่ อายุน้อยกว่า 1 ปี และภาวะเสี่ยงอื่น ๆ เหมือนเกณฑ์ในผู้ใหญ่ แ

  • แนะนำให้ ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นเวลา 5 วัน อาจให้นานกว่านี้ได้หากอาการยังมาก โดยแพทย์พิจารณาตามความเหมาะสม

4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการปอดบวม หายใจเร็วกว่าอัตราการหายใจตามกำหนดอายุ (60 ครั้งต่อนาที ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 เดือน, 50 ครั้ง/นาที ในเด็กอายุ 2-12 เดือน, 40 ครั้ง/นาที ในเด็กอายุ 1-5 ปี, 30 ครั้ง/นาที ในเด็กอายุมากกว่า 5 ปี)

  • แนะนำให้ ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นเวลา 5-10 วัน (อาจพิจารณาให้ร่วมกับ lopinavir/ritonavir เป็นเวลา 5-10 วัน)
  • แนะนำให้ corticosteroid ดังตารางที่ 1

 

คำแนะนำในการดูแลรักษา

- จากการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วย 744 ราย ในประเทศไทย พบว่าปัจจัยสำคัญที่ลดความเสี่ยงของภาวะรุนแรง ได้แก่ การใช้ high flow oxygenation การใส่ท่อช่วยหายใจ การเข้าหอผู้ป่วยวิกฤตหรือเสียชีวิต คือ การได้รับการรักษาด้วยยาฟาวิพิราเวียร์ เร็ว ภายใน 4 วัน ตั้งแต่เริ่มมีอาการ นอกจากนี้ การศึกษาหลายรายงานพบว่า ยาฟาวิพิราเวีย ช่วยลดปริมาณไวรัสได้ดี ดังนั้นควรให้ยา เร็วก่อนที่ผู้ป่วยจะมีอาการหนัก และพิจารณาให้ผู้ป่วยที่มีอาการมาก โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีโรคร่วม ควรเริ่มให้ยาเร็วที่สุด

 

- Exercise-induced hypoxia ทำโดยการให้ผู้ป่วยปั่นจักรยานอากาศ (นอนหงายแล้วปั่นขาแบบปั่นจักรยาน) นาน 3 นาที หรืออาจให้เดินข้างเตียงไปมา 3 นาที ขึ้นไป แล้ววัดค่า Sp02 เทียบกันระหว่างก่อนทำและหลังทำ หากมี SpO2 drop 23% ขึ้นไป ถือว่า "ผลเป็นบวก"

 

- การใช้ยาฟาวิพิราเวีย ในหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเกิด teratogenic effect ดังนั้น ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นหญิงวัยเจริญพันธุ์ควรพิจารณา ตรวจการตั้งครรภ์ก่อนเริ่มยานี้ ให้พิจารณาเริ่มยาต้านไวรัสตามข้อบ่งชี้เช่นเดียวกับผู้ป่วยอื่น เพื่อให้สอดคล้องกับข้อบ่งซี้ที่ว่า remdesivir จะให้ประโยชน์เฉพาะในผู้ที่มีปอดอักสบและต้องใช้ออกซิเจนรักษาเท่านั้น จึงมีข้อพิจารณาเพิ่มเติม ดังนี้

  • หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ที่อาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ให้รักษาตามอาการ
  • หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ที่มีปอดอักเสบ อาจพิจารณาใช้ remdesivir เนื่องจากมีข้อมูลความปลอดภัยของการใช้ remdesivir ในหญิงตั้งครรภ์จำนวนหนึ่ง และไม่มีรายงานผลกระทบต่อทารกในครรภ์
  • หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 และ 3 ถ้าแพทย์พิจารณาแล้วว่าจะได้ประโยชน์จาก ยาฟาวิพิราเวียร์ มากกว่าความเสี่ยง อาจจะ พิจารณาใช้ ยาฟาวิพิราเวียร์ ในรายที่มีอาการไม่รุนแรง โดยมีการตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วยและญาติ แต่ถ้ามีปอดอักเสบ อาจพิจารณาใช้ remdesivir
  • การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกแบบ vertical transm ission นั้น พบน้อย ประมาณร้อยละ 2-5 และส่วนใหญ่ของทารกไม่เกิดอาการ รุนแรง และหญิงมีครรภ์ที่ติดเชื้อมีโอกาสที่จะเกิดอาการรุนแรงได้ ดังนั้นการรักษาจึงเน้นการรักษาแม่เป็นหลัก

 

- การศึกษาขององค์การอนามัยโลก พบว่า rem desivir ไม่ช่วยลดอัตราตาย องค์การอนามัยโลกจึงไม่แนะนำให้ใช้ เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) นอกเหนือจากในงานวิจัย แต่การศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา ยังชี้ว่ายานี้อาจจะมีประโยชน์ ข้อบ่งชี้ในการพิจารณาให้ เรมเดซิเวียร์ กรณีดังต่อไปนี้

  • ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีปอดอักเสบ
  • มีข้อห้ามบริหารยาทางปากหรือมีปัญหาการดูดซึม โดยให้เลือกใช้ ยาฟาวิพิราเวียร์ หรือ เรมเดซิเวียร์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ใช้ร่วมกันเนื่องจากยาออกฤทธิ์ที่ตำแหน่งเดียวกัน

คอนเทนต์แนะนำ
"มิลลิ" แร็ปเปอร์สาว ขึ้นโรงพักตามนัด "บิ๊กตู่" แจ้งความเองฐาน "ดูหมิ่น" ตร.ไล่เช็กโพสต์อื่น จ่อเอาผิดอีก!
ทร.แจงจัดหาอากาศยานไร้คนขับ เพื่อภารกิจลาดตระเวนทางทะเล

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ