แนะ 3 วิธีช่วยขับเสมหะในผู้ป่วยโควิด 19 จะได้หายใจโล่งขึ้น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การไอ และจาม และการถอนหายใจแรง เป็นทางหนึ่งในการช่วยระบายเสมหะออกจากหลอดลมและช่วยให้ผู้ป่วยหายใจโล่งขึ้นและควรทำทันทีที่รู้สึกตัว

ผู้ป่วยโควิด 19 หลายคนมักจะมีอาการหายใจมีเสียงครืดคราด หรือรู้สึกว่ามีเสมหะในทางเดินหายใจ หรือไอแบบมีเสมหะ อยู่ตลอดเวลา จนส่งผลให้การหายใจเพื่อเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ดังนั้นจึงจำเป็นมากที่ผู้ป่วยต้องกำจัดเสมหะเหล่านี้ออกจากทางเดินหายใจ 

ซึ่งวิธีการกำจัดเสมหะดังกล่าวผู้ป่วยสามารถทำได้ด้วยตัวเองเพียง 3 วิธีง่ายๆ คือ ไอเพื่อระบายเสมหะ , ถอนหาใจออกแรง และหายใจวเป็นวงจร

ไม่อยากเป็น "โรคหลอดลมอักเสบ" แค่เลี่ยงสิ่งเหล่านี้

อาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ต้าน โควิด-19

WHO ยกระดับโควิด-19 สายพันธุ์โคลอมเบีย มอบโค้ดเนม “สายพันธุ์มิว”

การไอเพื่อระบายเสมหะ สามารถทำได้ทันที่เมื่อรู้สึกว่าเสมหะอยู่ในท่อลมใหญ่ และผู้ป่วยไม่มีรโรคประจำตัว ด้วยวิธีดังนี้ 
1. นั่งบนเก้าอี้ โน้มตัวไปทางด้านหน้าเล็กน้อย 
2. หายใจ เข้า - ออกปกติ 3-5 ครั้ง 
3. หายใจเข้าลึกเต็มที่จนสุด โดยเน้นให้ชายโครงบานออก 
4. กลั้นหายใจไว้ 3 วินาที พร้อมกับเกร็งเนื้อหน้าท้อง
5. ให้อ้าปากกดคางลง ทำปากเป็นรูปวงกลม พร้อมไอออกแรงๆ และยาวจนสุดลมหายใจออก 
6. พักด้วยการหายใจเข้า - ออก ปกติ 3-5 ครั้ง 

การระบายเสมหะด้วยวิธีถอนหายใจออกแรง ทำในกรณีที่มีโรคประจำตัว เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หากรู้สึกว่ามีเสมหะอยู่ในท่อลม สามารถฝึกระบายเสมหะด้วย 2 วิธีนี้ 
1. การถอนหายใจออกแรงหลังจากหายใจเข้าปกติ 
    1.1 นั่งบนเก้าอี้ โน้มตัวไปทางด้านหน้าเล็กน้อย 
    1.2 หายใจ เข้า - ออกปกติ 3 ครั้ง 
    1.3 หายใจเข้าปกติ จากนั้นพ่นลมหายใจออกจากคอผ่านทางปากแรงๆ (อ้าปากกดคางลง ทำปากเป็นรูปวงกลม)พร้อมกับเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง จนหายใจออกสุด ทำซ้ำ 3 ครั้ง 
    1.4 หายใจเข้า - ออกปกติ 3 ครั้ง จนหายเหนื่อย
    15. อาจทำซ้ำ 3-4 รอบ 

2. การถอนหายใจออกแรง หลังจากหายใจเข้าลึกเต็มที่ 
    2.1 นั่งบนเก้าอี้ โน้มตัวไปทางด้านหน้าเล็กน้อย 
    2.2 หายใจ เข้า - ออกปกติ 3 ครั้ง 
    2.3 หายใจเข้าลึกเต็มที่จนสุด โดยเน้นให้ชายโครงบานออก จากนั้นพ่นลมหายใจออกจากคอผ่านทางปากแรงๆ (อ้าปากกดคางลง ทำปากเป็นรูปวงกลม)พร้อมกับเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง จนหายใจออกสุด ทำซ้ำ 3 ครั้ง 
    2.4 หายใจเข้า - ออกปกติ 3 ครั้ง จนหายเหนื่อย
    2.5 อาจทำซ้ำ 3-4 รอบ 

ทั้งนี้การฝึกถอนหายใจควรทำแบบแรกก่อน ถ้าไม่เหนื่อยเกินไปให้ลองทำแบบที่ 2 จำนวนครั้งในการฝึกขึ้นอยู่กับปริมาณเสมหะของท่าน 

โควิด-19 ในสัตว์เลี้ยง เป็นอันตรายต่อมนุษย์หรือไม่?

การระบายเสมหะด้วยการหายใจเป็นวงจร ACBT สามารถโดย 
1. นั่งบนเก้าอี้ในท่าที่สบายและผ่อนคลาย 
2. ช่วงที่ 1 ให้หายใจเข้าออกปกติ 5-10 วินาที 
3. ช่วงที่ 2 ให้หายใจเข้าลึกเต็มที่จนสุด โดยเน้นให้ชายโครงบานออกและหายใจออกสุด
4. ช่วงที่ 3 ให้หายใจเข้าออกปกติ (หรือหายใจเข้าเต็มที่) จากนั้นถอนหายใจออกทางปาก (อ้าปากกดคางลงทำปากเป็นรูปวงกลม) พร้อมกับเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง กระทั่งหายใจออกสุด ทำซ้ำ 3 ครั้ง และกลับมาหายใจเข้า - ออกปกติด 3 ครั้ง 
5. หาใจเข้า - ออก ปกติ 5- 10 วินาที จนหายเหนื่อย 

 

ข้อความระวังในการฝึกระบายเสมหะด้วยตัวเอง 
1. ระหว่างการะหว่างการฝึกระบายเสมหะหากมีอาการหอบเหนื่อยหน้ามืดเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลมให้หยุดฝึกทันทีและพักด้วยการหายใจเข้าออกปกติจนกระทั่งไม่มีอาการดังกล่าวแล้วจึงเริ่มฝึกต่อจำนวนครั้งในการฝึกต่อวันขึ้นกับปริมาณเสมหะของท่าน

2.ระหว่างการฝึกท่านคนนั่งอยู่ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร


เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ
1 ท่านต้องใส่หน้ากากอนามัยให้กระชับใบหน้าทุกครั้งขณะอายหรือถอนหายใจแรงเพื่อระบายเสมหะ
2 หากไอแล้วมีเสมหะออกมาด้วยให้บ้วนเนื้อเสมหะและน้ำลายใส่กระดาษชำระจากนั้นทิ้งใส่ถุงพลาสติกและมัดปากถุงให้เรียบร้อย
3 หากเสมหะเหนียวและขับออกมายากมากให้ดื่มน้ำอุ่นก่อนและระหว่างการระบายเสมหะ

สธ.แจงถอนงานวิจัยฟ้าทะลายโจรแค่ชั่วคราว ยังใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ต่อไป

แต่ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วหากยังไม่เข้าใจการไอขับเสมหะ และวิธี การระบายเสมหะด้วยวิธีถอนหายใจออกแรงลองเข้าไปดูวิดีโอสาธิตได้ที่  https://youtu.be/HxoQHToCacM ส่วนการระบายเสมหะด้วยการหายใจเป็นวงจร ACBT เข้าไปดูวิดีโอสาธิตได้ที่ https://youtu.be/Qm5xPNc8Q_8

 

 

 

ที่มา: สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ