แพทย์ชนบท ย้ำ กทม.ต้องเร่งตรวจโควิดเชิงรุก ป้องกันระบาดได้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




วันนี้เป็นวันสุดท้าย ที่ทีมแพทย์จากชมรมแพทย์ชนบท จะตรวจเชิงรุกให้ชาวบ้านตามชุมชนต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร โดยตลอด 7 วันที่มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อในชุมชนอย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนคนในชุมชน เช่นที่ ชุมชนวัดลาดกระบัง ย้ำการตรวจหาเชื้อโควิดเชิงรุกยังเป็นมาตรการสำคัญ

เจอคลัสเตอร์ใหม่อีก 9 แห่ง เช็ก 10 จังหวัดติดเชื้อโควิด-19 สูงสุด

WHO ยอมรับเป็นสูตรแรก สลับฉีดวัคซีนโควิด-19 แอสตร้าฯ ต่อด้วยไฟเซอร์

เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จุดตรวจโควิด-19 ของทีมแพทย์ชนบทวันนี้ อยู่ที่วัดลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร หนึ่งในชุมชนสุดท้าย ก่อนทีมแพทย์จะเดินทางกลับไปทำงานของตัวเองที่ต่างจังหวัด โดยวันนี้มีประชาชนในชุมชนและใกล้เคียงมาตรวจหาเชื้อโควิดจำนวนมาก ซึ่งเป็นการตรวจแบบ แอนติเจนเทสคิด ทราบผลทันที โดยชาวบ้านคนไหนที่มีผลเป็นบวก หมอจะจัดยาให้ทันที และเริ่มให้กักตัวที่บ้าน

 

 

 

นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ให้สัมภาษณ์ PPTV ยืนยันว่า เฉพาะที่ชุมชนวัดลาดกระบังวันนี้ แค่ครึ่งวันเช้ามีชาวบ้านที่ผลตรวจเป็นบวกมากกว่า 100 คนแล้ว

ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอาการสีเขียว หมอสุภัทรเล่าว่าชาวบ้านที่ผลตรวจเป็นบวกบอกว่า ไม่ทราบว่าติดเชื้อโควิด -19 เพราะไม่มีอาการ จึงไปทำงานตามปกติ แต่เมื่อทราบผลก็ยินดีที่จะดูแลตัวเองและทำตามมาตรการป้องกัน และจากการรวบรวมข้อมูล ทำให้เห็นว่าปัญหาใหญ่ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข คือชาวบ้านเข้าไม่ถึงการตรวจหาเชื้อที่รัฐเตรียมให้

หมอสุภัทร ยกตัวอย่างการตรวจเชิงรุกที่ชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน ว่าครั้งแรกที่ไปตรวจ พบผู้ติดเชื้อประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของชุมชน แต่เมื่อไปตรวจซ้ำรอบ 2 พบว่ายอดผู้ติดเชื้อลดลงเหลือ 10 เปอร์เซ็นต์ สะท้อนให้เหตุว่าการตรวจเชิงรุก และแจกยาทันที พร้อมแยกกักตัวผู้ติดเชื้อ เป็นเครื่องมือหลักในการป้องกันการแพร่ระบาดตอนนี้ จึงอยากให้หน่วยงานในกรุงเทพมหานคร พยายามทำระบบตรวจเชิงรุกให้มากที่สุด

ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อที่มาจากการตรวจเชิงรุกของทีมแพทย์ชนบท จะส่งผลให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อภาพรวมทั้งประเทศขยับขึ้นหรือไม่ หมอสุภัทร อธิบายว่า อาจไม่ส่งผลมากนัก เพราะตัวเลขที่ ศบค.รายงาน เป็นตัวเลขจากผลตรวจ RT-PCR  ยังไม่รวมยอดจากทีมแพทย์ชนบทที่ตรวจแบบ แอนติเจนเทสคิด

ส่วนการที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อในต่างจังหวัด สูงขึ้นต่อเนื่อง หมอสุภัทร มองว่า ไม่เกี่ยวกับการที่มีคนเดินทางจากกทม.ไปรักษาที่บ้าน และการที่ทีมแพทย์จากต่างจังหวัดมาช่วยตรวจเชิงรุก ที่กรุงเทพฯ เป็นไปตามแผนงาน ไม่กระทบการทำงานในพื้นที่ ที่ขณะนี้ต่างจังหวัดพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมาก

ทั้งนี้ สำหรับเรื่องวัคซีน มองว่า รัฐบาล หากสามารถเจรจากับบริษัทผู้ผลิตได้ และใช้กฏหมายในการขอความร่วมมือ จำกัดการส่งออกวัคซีน ให้ไทยมีวัคซีนที่เพียงพอก่อน จะทำให้ไทยมีวัคซีนรวมกับวัคซีนอื่น ๆ 20-30 ล้านโดส ใน 2-3 เดือนนี้ เชื่อว่า บริษัทผู้ผลิตจะเข้าใจความจำเป็นของไทย

โดยก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุขได้มีการเปิดเผยว่า เดือนสิงหาคมนี้ ไทยจะได้แอสตร้าเซนเนก้า ประมาณ 5.4 ล้านโดส พอ ๆ กับที่ได้เดือนที่แล้ว 5.3 ล้านโดส

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ