เด็กเครียดเรียนออนไลน์ ผู้ปกครอง คุณครูต้องปรับตัวอย่างไร?


โดย BDMS

เผยแพร่




ปัจจุบันมีหลายงานวิจัยที่รายงานว่าการเรียนออนไลน์ผ่านหน้าจอทั้งวันที่บ้าน อาจจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพใจของเด็กๆ ได้ในยามจำเป็นแบบนี้ที่เด็กๆ ต้องเรียนออนไลน์จากที่บ้านคุณพ่อคุณแม่และคุณครูจะมีส่วนช่วยสร้างห้องเรียนออนไลน์ที่ดีต่อสุขภาพใจได้อย่างไรบ้าง

โรงเรียนไม่ใช่เพียงแค่สถานที่ศึกษาหาความรู้เท่านั้น แต่สำหรับเด็กๆ แล้วโรงเรียนคือสังคมของพวกเขา โรงเรียนยังดูแลเรื่องโภชนาการ ความปลอดภัย รวมถึงสุขภาพของเด็กๆ ด้วย ฉะนั้นการเรียนออนไลน์จากที่บ้านถึงแม้จะมีเนื้อหาเหมือนกัน แต่เด็กๆ ก็อาจจะขาดการเรียนรู้ทักษะชีวิตบางอย่างไปได้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพใจของเด็กๆ ได้ดังต่อไปนี้


1. หากสภาพแวดล้อมในบ้านไม่เอื้ออำนวยเด็กๆ อาจจะจดจ่อกับการเรียนได้ยากยิ่งขึ้น หรือรู้สึกหงุดหงิดใจเมื่ออุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ไม่พร้อมหรือว่าเกิดปัญหา

คำขวัญวันเด็ก 2565 “รู้คิด รอบคอบ รับผิดชอบต่อสังคม”

“หมอโอ๋” แนะวิธีรับมือความเครียดที่เกิดจากการเรียนออนไลน์

เสียงสะท้อนจาก นร. “เรียนออนไลน์” ทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง

 

2. ขาดสายสัมพันธ์จากการทำงานร่วมกันหรือการสนทนาและเล่นสนุกกับเพื่อนๆ ตามธรรมชาติ
3. มีอาการปวดศีรษะหรือเมื่อยล้าดวงตาจากการจ้องมองจอคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ตเป็นเวลายาวนานจากการเรียนออนไลน์ ยิ่งไปกว่านั้นเด็กวัยรุ่นบางคนต้องใช้แท็บเลทในการทำการบ้านหรือสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากการเรียนออนไลน์อีก ยิ่งทำให้ต้องอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ยาวนานยิ่งขึ้น
4. เด็กๆ หลายคนมีภาระจากการช่วยงานที่บ้านในช่วงกักตัว เช่น การช่วยเลี้ยงน้องหรือช่วยแบ่งเบางานบ้านจากคุณพ่อคุณแม่ทำให้เด็กๆ รู้สึกเหนื่อยล้าและจดจ่อกับการเรียนได้น้อยลง

อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ที่เด็กต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน เพื่อความปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่และคุณครูสามารถช่วยดูแลสุขภาพใจของน้องๆ ได้โดยมีเทคนิคดังต่อไปนี้
1. จัดพื้นที่ในบ้านที่เด็กๆ สามารถจดจ่อกับการเรียนได้ โดยไร้เสียงรบกวน สร้างข้อตกลงร่วมกันกับสมาชิกในครอบครัวเรื่องการงดใช้เสียงขณะเรียน
2. ในช่วงของการเรียนออนไลน์คุณครูควรจะรับฟังเสียงของเด็กๆ มากยิ่งขึ้น เพื่อประเมินความเครียด ภาระงานความคาดหวัง หรือความช่วยเหลือที่เด็กๆ ต้องการ ควรมีการสื่อสารหลายช่องทาง เช่น การทำแบบประเมิน การส่งอีเมล ส่งข้อความหาคุณครูโดยตรง หรืออาจจะจัดเป็นเสวนาความต้องการของเด็กๆ ในห้องเรียนออนไลน์
3. คุณครูควรยืดหยุ่นเรื่องภาระงาน เช่น การให้การบ้านน้อยลง แบ่งงานเป็นชิ้นเล็กๆ มากยิ่งขึ้น รวมถึงการลดชั่วโมงเรียนให้น้อยลงด้วย อนุญาตให้เด็กๆ สามารถนำการบ้านมาส่งได้ใหม่หรือนำคำแนะนำของครูไปปรับปรุงงานได้เพื่อช่วยลดความกังวลให้กับเด็กๆ

สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตยุค New Normal

ขอบคุณข้อมูล : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ