เผยวิธีดูแลตัวเองให้ไม่มี "กลิ่นตัว" ปัญหากวนใจทั้งหญิงและชาย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การมีกลิ่นตัว อาจส่งผลให้คนคนนั้นขาดความมั่นใจ จนไปถึงมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงเพราะถูกคนรอบข้างแสดงอาการรังเกียจ

ปัญหาเรื่องกลิ่นตัว น่าจะเป็นเรื่องที่ใครหลายคนเคยประสบ เนื่องจากบ้านเราเป็นเมืองร้อนอากาศอบอ้าวเกือบทั้งปี บางครั้งแค่อาบน้ำเสร็จไม่ทันเช็ดตัวดี เหงื่อก็ออกท่วมตัวเสียแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีกลิ่นตัวตามมา แต่ใครหลายคนก็พยายามแก้ด้วยการ ใช้สารส้ม สบู่ หรือผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย มาช่วย แต่มันก็ช่วยระงับกลิ่นได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าทำไมเราถึงมีกลิ่นตัว

 

แพทย์แนะวิธีป้องกัน "กลิ่นตัวเหม็น" เสริมความมั่นใจในหน้าร้อน

ญี่ปุ่นเตรียมผลิตอุปกรณ์แจ้งเตือนเมื่อมีกลิ่นตัว (คลิป)

สาเหตุหลักของการเกิดกลิ่นตัว 
กลิ่นตัว เป็นปัญหาที่พบได้ทั้งชาย และหญิง พบบ่อยในช่วงท้ายของวัยรุ่นจนถึงช่วงเข้าสู่วัยผู้ใหญ่  โดยมีสาเหตุหลัก 2 ประการด้วยกันคือ 

1. แบคทีเรียบริเวณรักแร้ ซึ่งจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากความร้อนและความชื้นของอากาศ  
2. การสร้างเหงื่อจากต่อมเหงื่อชนิดอะโพครายน์ (Apocrine sweat glands) ในผู้ที่มีกลิ่นตัวอาจมีต่อมเหงื่อใต้ผิวหนังชนิดนี้ขนาดใหญ่และมีจำนวนมาก  ต่อมเหงื่อนี้ยังถูกกระตุ้นได้ด้วยฮอร์โมนเพศชาย Androgen  และเมื่อเหงื่อรวมกับแบคทีเรียประจำถิ่น จึงทำให้เกิดกลิ่นตัว 

 

ส่วนการมีกลิ่นตัวมากหรือน้อยขึ้นกับทั้งสองปัจจัยข้างต้นของแต่ละบุคคล และมีปัจจัยกระตุ้น เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน การรับประทานอาหารรสจัด หรืออาหารที่มีเครื่องเทศ หอม กระเทียม, การรับประทานยาบางชนิด หรือความเครียด เป็นต้น

 

แต่เราสามารถป้องกันการเกิดกลิ่นตัวได้โดย 
1. ไม่ใส่เสื้อผ้าซ้ำ 
2. ใช้ผลิตภัณฑ์ลดเหงื่อ  มีทั้งชนิดที่มีน้ำหอมเพื่อกลบกลิ่น และชนิดที่ไม่มีน้ำหอม  
3. กำจัดหรือโกนขนบริเวณรักแร้ 
4. การใช้สบู่ที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย จะช่วยลดแบคทีเรียประจำถิ่นได้  แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

 

ทั้งนี้หากปฏิบัติ 4 ขั้นตอนนี้แล้วยังไม่ได้ผล อาจไปพบแพทย์ เพื่อให้ประเมินความรุนแรง ประเมินโรคร่วมอื่น เช่น การติดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หาสาเหตุของการแพ้สารเคมีหรือน้ำหอมในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ และเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละราย การรักษากลิ่นตัวโดยทั่วไป เริ่มต้นจาก การใช้ยาทากลุ่ม Aluminium chloride หากไม่ได้ผล จึงจะพิจารณาการรักษาในลำดับถัดไป เช่น การฉีด Botulinum toxin, การทำ Tap water iontophoresis ไปจนถึงการผ่าตัด
 

ที่มา : สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ