สปสช. งัดคำสั่งนายกฯ สู้ปมซื้อชุดตรวจ Lepu


โดย PPTV Online

เผยแพร่




แม้องค์การเภสัชกรรม จะออกมาประกาศว่าเตรียมเดินหน้าเซ็นสัญญาการจัดซื้อชุดตรวจโควิด antigen test kit ยี่ห้อ Lepu 8.5 ล้านชุด ท่ามกลางข้อครหาว่า ชุดตรวจโควิดนี้ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์การอนามัยโลก แต่องค์การเภสัชกรรม บอกว่า ทำตาม TORแล้วทุกอย่าง ล่าสุด ฝั่ง สปสช. โชว์เอกสารอีกฉบับ ย้ำว่า นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการถึงทุกจังหวัดว่า ให้เร่งจัดหาชุดตรวจโควิดที่ได้มาตรฐานจากองค์การอนามัยโลก พร้อมตั้งคำถามว่า แบบนี้ องค์การเภสัชกรรมควรทำตามคำสั่งการของนายกรัฐมนตรีหรือไม่

เอกสารสรุปข้อสั่งการของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ส่งถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัด  สาระสำคัญของเอกสารฉบับนี้ เป็นการแจ้งผลการศบค.ชุดใหญ่ และ ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวานนี้(17 ส.ค.) เอกสารมีมากกว่า 20 หน้า

แต่สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องชุดตรวจโควิดแบบ antigen test kit  คือ เอกสารหน้าที่ 17 ข้อ 6 ระบุว่า “การจัดหาชุดตรวจโควิด ต้องผ่านการรับรองจาก

สปสช. ยัน ไร้ปัญหาหากชุดตรวจ Lepu ผ่านทดสอบ

สรุปประเด็น ชี้แจง การจัดซื้อชุดตรวจ ATK 8.5 ล้านชุด

 

 

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีจำหน่ายในไทย มีคุณภาพตามมาตรฐานสากร ได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO รวมถึงต้องมีความแม่นยำในการตรวจ และพร้อมจัดส่งให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด

ข้อสั่งการนี้ทำให้นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานคณะทำงานกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งข้อสังเกตว่า การจัดซื้อชุดตรวจโควิด Lepu อาจไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ เพราะ ชุดตรวจโควิดของบริษัทนี้ ไม่ผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลก WHO รวมถึงแนะนำว่า องค์การเภสัชกรรม ควรทำตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี เพราะหากไม่ทำตามอาจเข้าข่ายมีความผิด หมอเกรียงศักดิ์ ยังบอกอีกว่า ท้ายเอกสาร TOR ระบุไว้ชัดเจนว่า องค์การเภสัชกรรมสงวนสิทธิ์การสามารถยกเลิกการเสนอราคาเพื่อประโยชน์ขององค์การเภสัชกรรมได้

ด้าน นายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) มองว่า องค์การเภสัชฯ สามารถยกเลิกการจัดซื้อได้ทันที โดยที่เอกชนไม่สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้ เพราะตอนนี้ยังไม่ได้เซ็นสัญญาซื้อขาย และ ข้อสังการของนายกรัฐมนตรี มติคณะรัฐมนตรี ยังถือว่าใหญ่ว่าTORการจัดซื้อ

ส่วนประเด็นที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทที่ชนะการประมูลจัดซื้อครั้งนี้ คือ บริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จํากัด มีรายได้สุทธิขาดทุนต่อเนื่องหลายปี  นายมานะ ตั้งข้อสังเกตว่า หากเป็นการจัดซื้อของภาคเอกชน บริษัทที่ขาดทุนหลายปีแบบนี้มีโอกาสไม่ได้งาน เพราะ เอกชนมักคำนึงถึงความสามารถในการจัดซื้อ เพราะ โครงการนี้มีมูลค่าหลายร้อยล้าน   แต่ในการประมูลงานของภาครัฐ ส่วนใหญ่จะยึดตามคุณสมบัติที่ระบุไว้ใน TOR เป็นหลัก หากบริษัทผ่านคุณสมบัติที่กำหนด ก็ผ่านเดินหน้าต่อได้ รวมถึง ภาครัฐจะให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องประวัติการประมูลงาน เช่น เคยผิดสัญญาเงื่อนไขกับรัฐหรือไม่  ส่วนความสามารถในการจัดซื้อ สามารถซื้อได้จริงหรือไม่ หากสุดท้ายผิดสัญญาก็จะมีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น

อีกคนที่ออกมาแสดงความเห็นเรื่องการจัดซื้อชุดตรวจโควิด คือน.ส.รสนา โตสิตระกูล นักเคลื่อนไหวต่อต้านการทุจริต วันนี้ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เป็นจดหมายเปิดผนึก ถึงนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ สั่งยุติการทำสัญญาจัดซื้อชุดตรวจโควิด Lepu พร้อมขอให้มีการเปิดประมูลใหม่  โดยมีบริษัทอื่นที่เสนอขายชุดตรวจโควิด Lepu ในราคาใหม่ที่ต่ำกว่าเดิม หรือให้มีการเจรจาต่อรองให้ได้ราคาต่ำที่สุด เพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ