"ทำงานที่บ้าน" ยิ่งประชุมยิ่งเครียด!! ทำอย่างไรดี?


โดย BDMS

เผยแพร่




ลองสังเกตตัวเองว่าเรามีสัญญาณของภาวะเบิร์นเขาแล้วหรือยัง ไม่ว่าจะเป็นอาการเหนื่อยล้าทางอารมณ์มีทัศนคติเชิงลบต่อที่ทำงานหรือประสิทธิภาพในการทำงานลดลง 

การ Work from home ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้คนวัยทำงานพบกับ ภาวะ Burnout กันมากยิ่งขึ้น หลายหลายออฟฟิศต้องประชุมงานผ่าน Video Conference หลายหลายคนอาจจะเริ่มรู้สึกว่าการประชุมแบบนี้ถึงแม้จะประหยัดเวลาในการเดินทางออกนอกบ้าน แต่กลับรู้สึกเหนื่อยกว่าการประชุมแบบเจอหน้า

มีผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาได้บอกถึงสาเหตุที่นำมาซึ่ง ภาวะ Burnout เอาไว้ดังต่อไปนี้

เตือน! เครียดจากงาน เสี่ยงภาวะ“โรคหมดไฟ” แนะ นอนดูหนัง-ฟังเพลง-ชอปปิ้ง

เช็กลิสต์ตัวเอง...เข้าข่าย "ภาวะหมดไฟในการทำงาน" หรือ "ซึมเศร้า"

1. การประชุมผ่านออนไลน์ทำให้เราอ่านภาษาร่างกายของผู้อื่นได้ยากยิ่งขึ้น เช่น โทนเสียง ท่าทาง หรือว่าสีหน้า สมองของเราต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อพยายามจะอ่านภาษากายเหล่านี้ผ่านวิดีโอคอล ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยล้าและไม่ผ่อนคลายขณะประชุมออนไลน์
2. ภาพและเสียงในการประชุมออนไลน์จะช้ากว่าการสนทนาแบบเจอหน้าราว 1-2 วินาที ทำให้เรารู้สึกว่าจดจ่อได้ยากยิ่งขึ้น รู้สึกว่าความเป็นมิตรในการสนทนาลดลง นอกจากนี้ยังมีปัญหากวนใจ เช่น ภาพค้าง เสียงหาย หรือว่าสัญญาณมีปัญหา ซึ่งล้วนจะทำให้เรารู้สึกว่าเหนื่อยล้ามากยิ่งขึ้น 

องค์การอนามัยโลก รับรองภาวะ “หมดไฟในการทำงาน” เป็นอาการป่วย

“ภาวะหมดไฟ” ไม่ใช่โรค แนะ หาเวลาพักผ่อน ปิดสวิทซ์งานเมื่ออยู่บ้าน

เมื่อทราบสาเหตุกันแล้ววันนี้ มีเทคนิคง่ายๆ ในการ Work from home ที่ทำให้สุขภาพใจของคนวัยทำงานดีขึ้น แบบที่ทุกคนสามารถเริ่มทำได้ทันที

1. ลดการประชุมให้น้อยลง ก่อนประชุมคุณอาจจะลองถามตัวเองก่อนว่าเราจำเป็นต้องประชุมจริงๆ ไหม หรือจริงๆ แล้วเราสามารถจะคุยผ่านทางไฟล์งานหรือว่าอีเมลได้ เพื่อช่วยประหยัดเวลาของคนในทีม แต่หากว่าจำเป็นจะต้องประชุมจริงๆ ลองถามตัวเองต่อว่าเราสามารถประชุมให้จบใน 30 นาทีได้ไหม มีใครบ้างที่จำเป็นในการประชุมครั้งนี้เพื่อให้เราใช้เวลาให้น้อยที่สุด ช่วยให้ทีมไม่มีอาการ Meeting Fatigue คือการเหน็ดเหนื่อยจากการประชุม
2. อนุญาตให้ปิดกล้องขณะประชุมได้ ความเครียดจากการประชุมออนไลน์ส่วนหนึ่งเกิดจากความรู้สึกว่าเราถูกจับจ้องอยู่ หรือต้องแสดงอยู่หน้ากล้องตลอดเวลายิ่งคนเยอะก็ยิ่งเครียดยิ่งเหนื่อย หากเป็นการประชุมภายในองค์กรที่สามารถจะปิดกล้อง หรือว่าหันกล้องไปทางมุมอื่นได้บ้างก็จะช่วยให้ทีมได้พักเบรคจากหน้าจอ อาจจะส่งผลเชิงบวกให้ทีมรู้สึกผ่อนคลายและมีความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
3. การเช็คอินความรู้สึกประจำวัน การให้ความสำคัญกับสุขภาพ ในช่วงเวลาแบบนี้จำเป็นอย่างยิ่ง ก่อนจะเริ่มประชุมคุณอาจจะเริ่มบทสนทนาด้วยคำถามปลายเปิด เช่น คุณรู้สึกอย่างไรบ้างตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือคุณต้องการความช่วยเหลือใดๆ ไหม คำถามง่ายๆ แบบนี้จะช่วยให้ทีมรู้สึกถูกมองเห็น เป็นการเสริมกำลังใจให้กันในช่วงเวลาที่ยากลำบากแบบนี้
แต่ที่สำคัญต้องไม่ลืมที่จะให้ความสำคัญกับทุกความรู้สึกและรับฟังโดยไม่ตัดสิน ตัวช่วยที่ดีที่สุดของภาวะ Burnout คือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงานการเคารพซึ่งกันและกันและร่วมกันสร้างความหมายในการทำงานให้กับองค์กร

วิกฤตทางใจ!!! กับภาวะหมดไฟของบุคลากรทางการแพทย์

กรมอนามัย ชี้ กลุ่มวัยทำงาน เสี่ยงภาวะอ้วน แนะวิธีดูแลสุขภาพ

ขอบคุณข้อมูล : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ