ตรวจเช็ก 3 สัญญาณ และปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งในช่องปาก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ตรวจเช็กร่างกายหากพบ 3 สัญญาณเตือนนี้ให้รีบพบแพทย์เพราะคุณอาจเสี่ยงเป็นมะเร็งในช่องปาก

มะเร็งในช่องปาก ถือเป็น 1 ใน 10 อันดับของมะเร็งในประเทศไทย และเป็นอีกโรคที่เรียกว่าอันตรายถึงชีวิต และมีปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน โดยสามารถพบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง และจะพบมากในกลุ่มคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อาจพบในคนอายุน้อยได้บ้างแต่ไม่บ่อยนัก

ซึ่งมะเร็งที่เกิดขึ้นที่ริมฝีปาก มักจะเกิดที่ริมฝีปากล่าง ซึ่งอวัยวะในช่องปากอาจเกิดโรคมะเร็งได้ในทุกตำแหน่ง ได้แก่ ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นใต้ลิ้น ลิ้นไก่ ต่อมทอนซิล

"สิงห์อมควัน – นักดื่ม" พึงระวัง แพทย์เตือน เสี่ยงมะเร็งช่องปาก กว่าคนปกติ 15 เท่า !!!

มะเร็ง สาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทยมากว่า 20 ปี

จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเกิดโรคมะเร็งช่องปาก นั้นมาจากการกินหมาก, การสูบบุหรี่ และ ดื่มสุรา เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งในช่องปาก นอกจากนี้ การมีฟันปลอมที่ไม่พอดี หรือมีฟันเก และเสียดสีกับลิ้นหรือกระพุ้งแก้มตลอดเวลาก็เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งในช่องปากได้

สำหรับอาการของผู้เป็นมะเร็งช่องปาก คือ  
1. การพบก้อน หรือติ่งเนื้อ หรือ แผล เกิดขึ้น โดยก้อนเนื้อเหล่านั้น จะโตขึ้นเรื่อยๆ 
2. เจ็บเวลาสัมผัส หรือเวลากินอาหาร บางครั้งอาจจะมีเลือดออกจากก้อน หรือ มีการอักเสบเกิดขึ้นได้ ในผู้ป่วยบางราย อาจเริ่มด้วยมีลักษณะของแผลที่เหงือก ร่วมกับฟันโยกคลอน และ หลุดออก หรือ ในบางราย 
3.อาจพบก้อน หรือ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอโตขึ้น โดยที่ความผิดปกติในช่องปากยังไม่มากก็ได้

ทั้งนี้ มะเร็งในช่องปากมีการแพร่กระจายได้ 3 ทาง คือ การแพร่ไปยังอวัยวะข้างเคียง การแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองที่คอ และการแพร่กระจายไปยังกระแสเลือด ที่พบบ่อยคือการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองที่คอ แต่ที่พบในกระแสเลือดมีไม่มากนัก ส่วนใหญ่เกิดในคนที่เป็นมากหรือรุนแรง

สำหรับการรักษา หากเป็นไม่มากสามารถรักษาให้หายขาดได้ ในปัจจุบันวิธีการรักษาที่เป็นที่ยอมรับและได้ผล คือ การผ่าตัด และ การฉายรังสี ซึ่งอาจจะใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค แม้ว่าจะเป็นมะเร็งในช่องปากระยะที่เริ่มลุกลามแล้ว ยังมีคนไข้ส่วนหนึ่งซึ่งแพทย์สามารถที่จะรักษาเพื่อควบคุมอาการของโรคได้ค่อนข้างดี

ทั้งนี้ หากท่านพบว่ามีแผลในช่องปาก ที่ไม่หายเกิน 2 สัปดาห์ มีอาการเจ็บ มีเลือดออก หรือพบมีก้อนที่บริเวณลำคอโตผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะหากพบมะเร็งช่องปากในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายได้
 

อ้างอิงข้อมูล

- งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

- สาขาวิชาศัลยศาสตร์ ศีรษะ คอ และ เต้านม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ