เคี้ยวน้ำแข็งบ่อย ๆ เสี่ยงเป็นโรคติดน้ำแข็ง และกระทบสุขภาพช่องปาก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เตือน ! คนที่ชอบเคี้ยวน้ำแข็งตลอดเวลา เสี่ยงเป็นโรคติดน้ำแข็ง กระทบสุขภาพกาย สุขภาพช่องปาก และสุขภาพใจ

เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ชื่นชอบการ  "เคี้ยวน้ำแข็ง"  โดยเฉพาะเวลาที่ปากว่าง ๆ ก็มักจะหยิบใส่ปากทีละก้อนสองก้อน  แทบจะเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่อย่าลืมสังเกตตัวเอง ว่าแต่ละวันเราบริโภคน้ำแข็งมากเกินไปหรือไม่ เพราะอาจนำไปสู่ความเสี่ยงการเป็น “โรคติดน้ำแข็ง” (Pagophagia) นอกจากนี้ยังเสี่ยงกระทบกับระบบร่างกาย รวมถึงทางจิตใจด้วย


"ฟันผุ" เรื่องเล็กๆ ที่ไม่ควรมองข้ามอาจเป็นต้นเหตุ "โรคหัวใจ"
แพทย์เตือน !! โรคในช่องปาก อันตราย ไม่รีบรักษาเสี่ยงกระทบอวัยวะภายใน 

โรคติดน้ำแข็ง คืออะไร?
เป็นอาการชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีนิสัยย้ำคิดย้ำทำกับการกินน้ำแข็ง มักเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก จนถึงวัยผู้ใหญ่

 

สาเหตุของการเกิดโรคติดน้ำแข็ง
สาเหตุหลัก ๆ คือมีความเครียดจากปัญหาบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์  และจิตใจ เช่น ความเครียด พฤติกรรมย้ำคิด-ย้ำทำ  จนไปสู่อาการขบเคี้ยวสิ่งต่าง ๆ เพื่อผ่อนคลาย 

 

อาการเบื้องต้น
-ชอบบริโภคน้ำแข็งเป็นประจำ
-อยากเคี้ยวน้ำแข็งตลอดทั้งวัน ไม่สามารถหยุดการเคี้ยวได้
-ร่างกายรู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง วิงเวียนศีรษะ
-ผิวเริ่มซีด ใบหน้า ลิ้น บวม
-เล็บเปราะบาง
-เจ็บหน้าอก หายใจถี่ขึ้น
-มือ และเท้ารู้สึกชา อาจเป็นตะคริวร่วม

 

ผลกระทบต่อร่างกาย
-ฟันอาจจะบิ่น หัก แตก หรืออาจฟันหลุดได้
-กระทบกับสุขภาพจิต เช่น ความเครียด พฤติกรรมย้ำคิด-ย้ำทำ
-หนึ่งในอาการของโรคโลหิตจาง
-เสี่ยงได้รับเชื้อโรค สิ่งสกปรกจากน้ำแข็งที่ไม่สะอาด จนเกิดอาการท้องร่วงได้
-เสี่ยงสำหรับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ อาจกระทบกับลูกน้อย และเพิ่มความเสี่ยงในการคลอด

 

วิธีแก้ไข
-พยายามหักห้ามใจ ค่อย ๆ ลดปริมาณการบริโภค
-เปลี่ยนจากการเคี้ยวเป็นการอมน้ำแข็งแทน
-เปลี่ยนชนิดน้ำแข็ง จากน้ำแข็งก้อน เป็นน้ำแข็งเกร็ด น้ำแข็งใส
-รับประทานสิ่งที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า

 

อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถควบคุมนิสัยการทานน้ำแข็งตลอดเวลาของตัวเองได้จริงๆ ควรปรึกษาแพทย์ว่าเสี่ยงมีปัญหาทางสุขภาพจิตหรือไม่

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ