แพทย์ชี้! “ภาวะผมร่วง” เกิดขึ้นได้หลังติดเชื้อโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ชี้ภาวะผมร่วงหลังการติดเชื้อโควิด-19 เกิดขึ้นได้ พร้อมแนะวิธีรักษา

ผมร่วง เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นทุกวัน เพราะเส้นผมจะมีอายุนาน 2-6 ปี ผมจะร่วงประมาณวันละ 30-50 เส้น และมีผมงอกใหม่ขึ้นมาทดแทน แต่หากผมร่วงเยอะผิดปกติ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ จนทำให้ศีรษะล้านได้

ขณะเดียวกัน ในผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 เมื่อหายแล้ว บางรายจะมี “ภาวะผมร่วง” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาการของ “โรคผลัดผม” โดยจะมีอาการผมร่วงทั่วศีรษะมากกว่า 100 เส้น/วันแต่ไม่มากเกิน 50% ของผมทั้งศีรษะ ในระยะเวลา 2 - 3 เดือน ในบางรายอาจจะเกิดได้เร็วประมาณหนึ่งเดือนครึ่งภายหลังการติดเชื้อ

นักศึกษาหนุ่มผมร่วงจนล้าน หลังฉีดวัคซีนโควิด เข็ม 2
ชัดก่อนแชร์ | โควิด-19 สามารถพบความผิดปกติทางผิวหนังได้จริงหรือ? | PPTV HD 36

สาเหตุ
การติดเชื้อโควิด-19 ทำให้ร่างกายเกิดความเครียดและมีการกระตุ้นปฏิกิริยาการอักเสบ ส่งผลต่อวงจรชีวิตของเส้นผม มีการเปลี่ยนเร็วกว่าปกติ และเกิดการหลุดร่วงของเส้นผมมากกว่าปกติ

 

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า พบผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อโควิด 19 เกิดโรคผมผลัดหลังจากการติดเชื้อประมาณ 25% โรคผมผลัดอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น เช่น เกิดภายหลังจากมีภาวะป่วยหนัก มีภาวะเครียดมาก การขาดสารอาหารเป็นโรคไทรอยด์และการรับประทานยาบางอย่าง ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยมีประวัติสาเหตุอื่นร่วมด้วย อาจมีความจำเป็นที่จะต้องแยกสาเหตุอื่นร่วมด้วยโดยการตรวจผมและการตรวจเลือด

ต้องรู้! ต้นตอปัญหาหัวล้าน ....สุดปวดใจ!

ด้าน พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ระบุว่า ปัจจัยกระตุ้นอื่นนอกเหนือจากภาวะเจ็บป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่ควรจะรักษาร่วมด้วย คือ
1. ถ้าผู้ป่วยเกิดภาวะผมร่วงภายหลังจากมีการติดเชื้อโควิด-19 โดยไม่มีปัจจัยอื่น โดยทั่วไป ผู้ป่วยที่มีโรคผมผลัดมักหายได้เองหลังจากสาเหตุหมดไปแล้วประมาณ 2 - 6 เดือน ในกรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคผมผลัดหลังจากการติดเชื้อภายหลังการติดเชื้อ โควิด 19 อาจจะหายได้เร็วกว่าที่ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน
2. การพรางผมบาง ช่วยทำให้ภาพลักษณ์ของผู้ป่วยดีขึ้นได้ เช่น ทรงผม, การทำสีผมหรือการใส่วิก
3. การรักษาด้วยยาทาไมน็อกซิดิล อาจแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยาทา 5% minoxidil solution วันละ1-2 ครั้ง หรือ 2% minoxidil solution วันละ 2 ครั้ง เพื่อกระตุ้นผมให้ขึ้นใหม่ 
4.ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่อาจมีส่วนทำให้ผมร่วง เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูงชนิด Beta blockers, ยารับประทานวิตามินเอและยากันเลือดแข็งตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
5.การรับประทานเหล็กและวิตามิน เช่น สังกะสี, ไบโอติน, วิตามินดี ยังไม่ได้มีหลักฐานทางการศึกษาชัดเจนว่าจะมีส่วนช่วยรักษาโรคผมผลัดได้

พร้อมแนะนำว่า หากอาการผมร่วงไม่ดีขึ้นภายในระยะเวลา 3-6 เดือน ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ