รู้ลึก! ภาวะปัญญาอ่อนกับออทิสติก ความเหมือนที่แตกต่าง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หลายคนคงเคยเข้าใจว่า ภาวะปัญญาอ่อน กับภาวะออทิสติก ถือเป็นอาการเดียวกัน แต่รู้หรือไม่ว่า ภาวะดังกล่าวทางการแพทย์จัดเป็นกลุ่มเดียวกันแต่ไม่ใช่ภาวะเดียวกันทั้งหมด

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ภาวะปัญญาก่อน กับภาวะออทิสติก เป็นคนละภาวะที่ สามารถแยกจากกันโดยการส่งประเมินระดับสติปัญญา (IQ test)  แต่ภาวะปัญญาอ่อนถือเป็นภาวะร่วม ที่อยู่ในกลุ่มออทิสติกโดยสามารถพบร่วมได้ร้อยละ  50 - 70  ขณะที่กลุ่มภาวะออทิสติกในบางราย มีระดับสติปัญญามากกว่าคนปกติทั่วไป และบางรายยังมีความสามารถพิเศษในระดับ อัจฉริยะ(Autistic Savant) เช่น มีความสามารถในการวาดรูป มีความสามารถพิเศษในเรื่องของความจำ การคิดเลขเร็วและภาษา เป็นต้น

เสนอ สธ. ตรวจคัดกรอง 40 โรคพันธุกรรมทารกแรกคลอด ป้องกันภาวะปัญญาอ่อน

เตรียมแจ้งความ ถูกหนุ่มออทิสติก ทุบหลัง

อาการออทิสติก ถือเป็นความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและทำงานของสมอง ซึ่งมีผลทำให้พัฒนาการผิดปกติหรือไม่สมวัยจากเด็กทั่วไป โดยความบกพร่องดังกล่าวมีด้วยกัน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสังคม ด้านอารมณ์  และ ด้านภาษา 

ซึ่งระดับอาการของกลุ่มออทิสติก แบ่งเป็น 3 ระดับ
1. ระดับกลุ่มที่มีอาการน้อย มีระดับสติปัญญาปกติหรือสูงกว่าปกติ มีพัฒนาการทางภาษาดีกว่ากลุ่มอื่น แต่ยังมีความบกพร่องในทางทักษะสังคม การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของบุคคลอื่น บางครั้งเรียกว่า กลุ่มออทิสติกที่มีศักยภาพสูง (High function) หรือที่รู้จักกันในชื่อแอสเพอเกอร์ซินโดรม (Asperger's Syndrome) 

โควิดภาคใต้ยังกดไม่อยู่ 'สงขลา' +592 เชียงใหม่ต้องเปิด ICU สนาม คลัสเตอร์เปิดเทอม - รถโรงเรียนกักตัว...

2. ระดับกลุ่มที่มีอาการปานกลาง จะมีอาการล่าช้าในการพัฒนาการทางด้านภาษา การสื่อสาร ทักษะสังคม การเรียนรู้และการช่วยเหลือตนเอง และจะมีพฤติกรรมกระตุ้นตนเองพอสมควร

3. ระดับกลุ่มที่มีอาการรุนแรง กลุ่มนี้มักจะมีความล่าช้าในพัฒนาการเกือบทุกด้าน ตั้งแต่วัยเด็กและอาจเกิดร่วมกับภาวะอื่น เช่น ภาวะปัญญาอ่อน หรือบางคนมีปัญหาทางอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง

ขณะที่ภาวะปัญญาอ่อน  (Intellectual Disability หรือชื่อเดิม Mental Retardation)  ถือเป็นภาวะที่ สติปัญญา ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยทั่วไป โดยมีปัจจัยด้านพันธุกรรม ปัจจัยสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ในครรภ์ของมารดาจนหลังคลอดล้วนเกี่ยวข้องและมีผลต่อสติปัญญาของทารกได้ เช่น ภาวะแวดล้อมที่มีการให้ความรัก ความอบอุ่น การกระตุ้นพัฒนาที่เหมาะสมกับวัยก็มีผลต่อการเสริมสร้างสติปัญญาให้มีศักยภาพมากขึ้นได้ 

ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา นั้นจะส่งผลต่อพัฒนาการบกพร่องซึ่งทำให้ความสามารถในการพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ภาษา สังคมและพฤติกรรมการปรับตัวด้อยกว่าเด็กปกติในอายุเดียวกัน  ทำให้ขาดทักษะต่างๆที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตหรือมีข้อจำกัดด้านสติปัญญา เรียนรู้ช้ากว่าปกติ 

อาการในภาวะปัญญาอ่อน
เด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อนอาจไม่แสดงอาการที่ชัดเจน จนกว่าเด็กจะเข้าสู่วัยเรียน อย่างไรก็ตาม การติดตามพัฒนาการของเด็กอย่างใกล้ชิดสม่ำเสมอจะช่วยคัดกรองภาวะปัญญาอ่อนได้  

พัฒนาการช้า สามารถสังเกตได้ตามนี้
1.ไม่สามารถพลิกตัว ลุกขึ้นนั่ง คลาน หรือเดินได้เมื่อเทียบกับพัฒนาการในเด็กปกติวัยเดียวกัน 
2.พูดช้า มีปัญหาการสื่อสาร การใช้คำไม่ถูกต้องเหมาะสม 
3.ใช้สีหน้า ท่าทาง หรือสัญลักษณ์ในการสื่อสารมากกว่าการใช้คำพูด
4.มีพัฒนาการช้าในการทำกิจวัตรประจำวัน การขับถ่าย สวมใส่เสื้อผ้า 
5.เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ช้า เขียน อ่าน การคิดคำนวณตัวเลข
มีความยากลำบากในการจดจำ และขาดทักษะในการเรียนรู้ 
6.มีอารมณ์เกรี้ยวกราดและไม่สามารถควบคุมได้
7.ขาดทักษะในการเข้าสังคมอยู่ร่วมกับผู้อื่น 

ภาวะปัญญาอ่อนแบ่งออกได้ดังนี้
IQ(Intelligence Quotient)
ค่า IQ  90 – 109  คือ เรียนรู้ได้ในระบบปกติ
ค่า IQ 80 – 89     คือ เรียนรู้ในระบบปกติได้ แต่จะช้ากว่าเล็กน้อย
ค่า IQ 70 – 79     คือ ความบกพร่องทางสติปัญญาหรือเรียกกันว่าภาวะปัญญาอ่อน มักจะต้องการความช่วยเหลือพิเศษจึงจะสามารถเรียนรู้ได้ 
ค่า IQ ต่ำกว่า 70  คือ สติปัญญาบกพร่องจะต้องอาศัยระบบการศึกษาพิเศษ

ความรุนแรงของความบกพร่อง ซึ่งแบ่งได้เป็น
-บกพร่องอย่างอ่อน คือ เรียนรู้ทางด้านวิชาการได้ในระดับหนึ่ง สามารถอ่านออกเขียนได้ โดยในการเรียนรู้จะต้องใช้เวลาที่มากกว่าปกติ 
-บกพร่องปานกลาง คือ สามารถฝึกฝนสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวันได้ 
-รุนแรงถึงรุนแรงมาก คือ เป็นกลุ่มที่ต้องอาศัยผู้ดูแลอยู่ตลอดเวลาเพราะช่วยตัวเองไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น การกิน การถ่าย มีโรคทางกายเห็นเด่นชัดร่วมด้วย 
 
สาเหตุของภาวะปัญญาอ่อน
1.ความผิดปกติทางพันธุกรรม มีภาวะผิดปกติของโครโมโซม
2.เกิดปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ อาจมีปัจจัยที่กระทบกระเทือนต่อพัฒนาการสมองของทารกในครรภ์จนทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด ผู้เป็นแม่มีสุขอนามัยที่ไม่ดี เกิดภาวะติดเชื้อ หรือมีภาวะครรภ์เป็นพิษ
3.เกิดปัญหาระหว่างการคลอด เช่น เด็กขาดออกซิเจนในขณะคลอดหรือคลอดก่อนกำหนด
4.การเจ็บป่วยจากการติดเชื้อ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคหัด 
5.การได้รับบาดเจ็บที่กระทบกระเทือนสมอง เช่น การบาดเจ็บบริเวณศีรษะจากอุบัติเหตุ เกิดการติดเชื้อในสมอง
6.การเจ็บป่วยอื่น ๆ เช่น มีความผิดปกติของเนื้อสมอง สมองผิดรูป โรคลมชัก
7.ปัจจัยภายนอก เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด ได้รับสารพิษอย่างสารปรอทหรือสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกาย มีสุขอนามัยที่ต่ำมาก เคยจมน้ำ เคยถูกทารุณกรรม เคยถูกละเลยการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ผู้ปกครอง และถูกกักขังหรือแยกตัวออกจากสังคมเป็นเวลานาน

แนวทางการรักษา
1.การกระตุ้นพัฒนาการ ได้ผลดีมากในเด็กเล็ก ควรให้การวินิจฉัยภายในขวบปีแรก เมื่อสังเกตเห็นเด็กมีพัฒนาการช้ากว่าเกณฑ์ปกติ และควรประเมินพัฒนาการของเด็กทุก2-4 เดือน เพื่อคัดกรอกภาวะปัญญาอ่อน หากรู้ไวก็จะได้รับการกระตุ้นพัฒนาการได้ทัน
2.การจัดการเรียนให้เหมาะสมกับสติปัญญาและความสามารถของเด็ก เพราะเด็กบางคนสามารถเรียนในโรงเรียนปกติได้ บางคนก็ต้องเรียนในโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษ บางคนเหมาะกับการฝึกอาชีพ บางคนที่เป็นมากก็ต้องอยู่ในโรงพยาบาลหรือสถาบันฝึกสำหรับเด็กที่เป็นภาวะปัญญาอ่อนโดยตรง  

ทดลองระยะ 3 ยาโควิด-19 AZD7442 ของแอสตร้าเซเนก้า โดสเดียวป้องกันได้ในระยะยาว

การป้องกันภาวะปัญญาอ่อนในเด็กแรกเกิด
1.สำหรับผู้มีประวัติครอบครัวป่วยด้วยโรคทางพันธุกรรม ควรรับการตรวจหาโรคก่อนวางแผนตั้งครรภ์
2.ผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์ในช่วงอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจคัดกรองกลุ่มดาวน์ซินโดรม
3.ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์
4.ควรฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด
5.ไปตรวจครรภ์ตรงตามนัดหมายทุกครั้ง เพื่อให้ทราบถึงอาการผิดปกติ และสามารถแก้ไขหรือรักษาได้ทันท่วงที

จากรายละเอียดที่ว่ามา เพียงเท่านี้คุณก็สามารถแยกรายละเอียดได้แล้วว่า ภาวะปัญญาอ่อน กับภาวะออทิสติก แต่ต่างกันอย่างไร 

ที่มา 
Facebook : Neurobalance
https://healthserv.net
 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ