เชื้อ HIV และ AIDS ป้องกันได้ ไม่ยากอย่างที่คิด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เอชไอวี และเอดส์ ป้องกันได้ พร้อมวิธีการตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง กับ HIV Self-test

เอชไอวี (HIV) เป็นเชื้อไวรัสที่จะทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ซึ่งเป็นปราการต่อสู้กับเชื้อโรคและเชื้อไวรัสต่าง ๆ หากเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ถูกทำลาย ทำให้อ่อนแอภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะลดลง ถูกเชื้อไวรัสเอชไอวีโจมตีจนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ นำไปสู่การเป็นโรคเอดส์ในที่สุด
แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดไปว่า "เอชไอวี" เท่ากับ "เอดส์" เพราะผู้ติดเชื้อเอชไอวีอาจไม่พัฒนาจนกลายเป็นโรคเอดส์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสุขภาพ และการรักษา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำอย่างตรงต่อเวลาและต่อเนื่อง
"ยุติความเหลื่อมล้ำ ยุติเอดส์" ให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาอย่างเท่าเทียม
ชัดก่อนแชร์ | เอชไอวี (HIV) ไม่เท่ากับเอดส์ (AIDS) จริงหรือ? | PPTV HD 36


สาเหตุของการติดเชื้อ HIV 
สาเหตุการติดเชื้อเอชไอวี หลัก ๆ คือ ติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน, ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน, จากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์, สัมผัสเลือด, น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอดของผู้ติดเชื้อ

การติดเชื้อเอชไอวีแบ่งเป็น 4 ระยะ
1. ระยะติดเชื้อเฉียบพลัน คือ ระยะที่รับเชื้อมาใหม่ๆ บางรายมีอาการคล้ายไข้หวัด บางรายไม่มีอาการ
2. ระยะไม่ปรากฏอาการ คือ เป็นระยะที่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ผู้ติดเชื้อจึงไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อ
3. ระยะมีอาการ คือ ในระยะนี้จะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น เริ่มมีฝ้าขาวในปาก มีตุ่มคันขึ้นตามแขนขา มีไข้เรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์ ท้องเสียเรื้อรัง น้ำหนักลดมากผิดปกติ
4. ระยะเอดส์ คือ ระยะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำลายลงไปมาก เมื่อตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ลดลง 

ก่อนหน้าน้การจะไปตรวเอชไอวี เราอาจจะต้องสียเวลาทั้งวัน แต่การมี HIV Self-Test  หรือ “ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง” ทำให้การตรวจสามารถทำได้ง่ายและตรวจได้ตลอดเวลา ให้เราสามารถดูแลตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันกฏหมายอนุญาตให้ตรวจเอชไอวีด้วยตนเองได้แล้ว

HIV Self-test ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง
-เหมาะสำหรับทุกคน
-ตรวจสะดวกและเป็นส่วนตัว
-ตรวจที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้
-ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังกินยาต้านไวรัส หรือยา PrEP

ชนิดของ HIV Self-Test  
-เลือด โดยเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว รอผลตรวจ
-น้ำในช่องปาก ใช้แผ่นเก็บตัวอย่าง กวาดตามแนวเหงือก เพื่อขับน้ำในช่องปาก รอผลตรวจ

แต่การใช้ชุดตรวจ HIV Self-Test  ต้องพึงระวังว่าเราอยู่ในระยะแฝงหรือไม่ เพราหากมีพฤติกรรมเสี่ยงครั้งล่าสุดอยู่ในช่วง 3 เดือนก่อนการตรวจ ชุดตรวจยังไม่สามารถตรวจพบการติดเชื้อได้ ดังนั้นจึงควรตรวจเอชไอวีซ้ำอีกครั้งภายใน 3 เดือน หลังจากมีพฤติกรรมเสี่ยงครั้งล่าสุด

แนวทางการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี
คือ การรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีเท่านั้น โดยผู้ติดเชื้อจะได้รับยาต้านเอชไอวีอย่างน้อย 3 ชนิดร่วมกันเป็นสูตรยา แต่มีหลักการรักษา คือ ผู้ติดเชื้อต้องกินยาให้ตรงเวลาทุกวันต่อเนื่องตลอดชีวิต แต่ปัญหาของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเป็นโรคเอดส์ คือการรักษาระยะยาว สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ผลข้างเคียงจากยาต้านเอชไอวี

วิธีการป้องกันการติดเชื้อ HIV 
-เมื่อมีเพศสัมพันธ์ต้องสวมถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันทุกครั้ง ทั้งกับคู่นอน และแฟน
-แยกของใช้ส่วนตัวออกจากผู้อื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ แปรงสีฟัน เข็มฉีดยา เป็นต้น
-กรณีที่ต้องใช้บริการสถานที่ที่มีความเสี่ยง เช่น ร้านฝังเข็ม ร้านสัก เจาะผิวหนัง ควรเลือกร้านที่สะอาด ถูกสุขอนามัยและได้มาตรฐาน

ที่มา กรมควบคุมโรค, โรงพยาบาลรามาธิบดี

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ