แนะ 7 วิธี ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง เพื่อป้องกันแผลกดทับ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




แผลกดทับ ถือเป็นอาการแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อไหวร่างกาย ซึ่งอาการดังกล่าวหากเป็นแล้วไม่รีบรักษาจะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อและอันรายถึงชีวิตได้

คนที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุ ที่ไม่ค่อยขยับร่างกาย จะที่ทราบกันดีว่าต้องคอยดูแลและพยายามเปลี่ยนอิริยาบถให้กับผู้ป่วยบ้าง พลิกตัวไปมา อย่างให้อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกิดไป เพราะนั้นอาจส่งผลให้ผู้ป่วยรายนั้นมีอาการ แผลกดทับ เกิดขึ้นตามร่างกาย ซึ่งหากเป็นแล้วผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อ ใต้ผิวหนังถูกทำลายแบบเฉพาะที่ เกิดเนื้อตายและแผลขึ้นมา ซึ่งอาจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บร่วมด้วย 

ปวดท้องรุนแรง อย่า! ... กินยาแก้ปวด เสี่ยงทำแพทย์วินิจฉัยผิด ยิ่งอันตรายถ้าเป็นไส้ติ่งอักเสบ

แพทย์ผู้พบโควิด “โอไมครอน” (Omicron) เผย อย่าตระหนก ป่วยไม่หนัก รักษาที่บ้านได้

โดยบริเวณที่มักพบแผลกดทับ
    - ปุ่มกระดูกต่างๆ เช่น  ข้อศอก ส้นเท้า ก้นกบ ด้านข้างสะโพก เป็นต้น
    - บริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับ เช่น ท่อช่วยหายใจ สายยางให้อาหาร เป็นต้น

ลักษณะแผลกดทับ สามารถแบ่งได้ 4 ระยะโดยดูจากระดับของเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย

    ระยะที่ 1 ผิวหนังมีรอยแดง ๆ ใช้มือกดแล้วรอยแดงไม่จางหายไป ผิวไม่ฉีกขาด
    ระยะที่ 2 ผิวหนังเสียหายบางส่วน แผลตื้น ไม่พอง ไม่เป็นตุ่มน้ำใส
    ระยะที่ 3 แผลลึกถึงชั้นถึงไขมัน สูญเสียผิวหนังทั้งหมด
    ระยะที่ 4 แผลลึกมองเห็นถึงกระดูก เอ็น กล้ามเนื้อ สูญเสียผิวหนังทั้งหมด

นอกจากนี้ยังมีแผลกดทับที่เรียกว่า Deep Tissue Injury (DTI) เป็นแผลกดทับที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ผิวหนังไม่ฉีกขาด มีสีม่วงเข้มหรือสีเลือดนกปนน้ำตาล หรือพองเป็นตุ่มน้ำปนเลือด อาจเจ็บปวดร่วมด้วย ไม่สามารถระบุระยะที่เป็นได้

สำหรับวิธีป้องกันการเกิดแผลกดทับได้ดังนี้ 
    1. จัดท่านอนให้เหมาะสม และพลิกตะแคงตัวเปลี่ยนทางทุก 2 ชั่วโมง 
        - ท่านอนตะแคงกึ่งหงาย ให้สะโพกเอียง 30 องศา
        - ท่านอนหงายศีรษะสูง 30 องศา
    2. ใช้ที่นอนกระจายแรงกดทับ เช่นที่นอนลม ที่นอนโฟม 
    3. ใช้หมอนรองใต้น่อง เพื่อยกส้นเท้าลอย 
    4. ลดการเกิดแรงเสียดสี โดยใชผ้ารองในการยกตัว 
    5. ใช้แผ่น polyurethane foam ปิดบริเวณปุ่มกระดูก เช่นบริเวณก้นกบ และเปิดประเมินซ้ำทุก 8 ชั่วโมง
    6. หมั่นตรวจดูผิวหนัง บริเวณปุ่มกระดูกต่างๆ ทุกครั้งที่มีการทำความสะอาดร่างกายหรือพลิกตะแคงตัว เปลี่ยนท่า
    7. ดูแลผิวหนังให้สะอาดชุ่มชื้น กรณีผุ้ป่วยกลั้นอุจจาระ หรือปัสสาวะไม่ได้ ควรใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทออยเม้นทร์ เช่นวาสลี ทาบางๆ เพื่อเคลือบผิวหนัง ป้องกันการระคายเคลืองจากการสัมผัสกับสิ่งขับถ่าย 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับความแตกต่าง ระหว่าง “เอชไอวี” กับ “เอดส์”

เช็กด่วน! กทม. ประกาศนั่งดื่มสุราในร้านอาหารได้ยาวถึง 5 ทุ่ม

การดูแลรักษาแผลกดทับเป็นเรื่องสำคัญ เพราะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง ซึ่งหากพบปัญหาควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อดำเนินการรักษาเพื่อลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น 

 

ที่มา 
- โรงพยาบาลกรุงเทพ
- โรงพยาบาลศิริราช

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ