ศบค.เผย 1,007 รายมาจากแอฟริกา ผลตรวจเป็นลบ เร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม สกัด "โอไมครอน"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ศบค.จับตาเวียดนาม-ลาว หลังพบติดเชื้อโควิด-19 พุ่ง เร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากร หวั่น เชื้อกลายพันธุ์ พร้อมคุมเข้มผู้ที่เดินทางมาจากแอฟริกา

พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ผู้ช่วยโฆษกของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)​ แถลงสถานการณ์ติดโควิด-19 ประจำวันที่ 29 พ.ย. 2564 ว่า การรายงานการติดเชื้อในต่างประเทศ โดยหลายประเทศตัวเลขขยับขึ้นสูง เช่น อังกฤษยอดผู้ติดเชื้อก็กลับมาอยู่ที่ประมาณ 37,000 ราย มีตุรกี อิตาลี และ ฝรั่งเศส ประเทศเหล่านี้ มีประชากรที่ฉีดวัคซีนที่ครอบคลุม ค่อนข้างสูง

โควิดพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน" ตรวจ PCR ได้ แต่ต้องพัฒนา

ส่องมาตรการล็อกดาวน์สกัดโควิด-19 ของประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน

ก่อนหน้านี้หลายประเทศประกาศผ่อนคลายมาตรการสามารถให้ประชาชนเลิกสวมหน้ากากผ้า หน้ากากอนามัย แต่ตอนนี้หลายประเทศกลับมาคุมเข้มมาตรการอย่างเข้มงวดจนทำให้เกิดการประท้วงในหลายพื้นที่

โควิด-19 สายพันธุ์ "โอไมครอน" (Omicron) ลามประเทศไหนแล้วบ้าง

ในส่วนของเอเชีย ประเทศมาเลเซียก็มีทิศทางลดลงอย่างต่อเนื่อง มีประเทศที่น่าจับตามมอง คือเวียดนามที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อกระโดดไปที่ 12,000 ราย และลาวที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อหลักพันรายติดกันมา 2 สัปดาห์แล้ว ประเทศอื่นๆก็ยังทรงตัวอยู่

ในการแพร่ระบาดสายพันธุ์ “โอไมครอน” ล่าสุดทวีปแอฟริกาที่มีการรายงานผู้ติดเชื้อยืนยัน หลายประเทศในยุโรปก็มีการรายงานแล้วทั้ง อิตาลี เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ เบลเยี่ยม เช็ก และ ล่าสุดคือ เดนมาร์ก ซึ่งพบการติดเชื้อจากประชาชนที่เดินทางมาจากประเทศแอฟริกา

ญี่ปุ่นปิดประเทศ "สกัดโอไมครอน" มีผลตั้งแต่ 30 พ.ย.64 เป็นต้นไป

ปธน.แอฟริกาใต้ ผิดหวังนานาประเทศ วอนทั่วโลกเลิกแบน สกัด "โอไมครอน"

ในส่วนของเอเชียก็พบที่ฮองกง และ อิสราเอล โดยเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาอิสราเอลประเทศปิดประเทศไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีประเทศออสเตรเลีย ที่มีการยืนยันพบโควิด-19 สายพันธุ์ โอไมคอน เช่นกัน

จาการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างทั่วโลกเช่นนี้ทำให้ กระทรวงสาธารณสุขมีการประชุมวาระฉุกเฉินเรื่องปรับมาตรการสำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อสอดคล้องกับการปรับมาตรการไปก่อนหน้านี้ของหลายประเทศทั่วโลก สืบเนื่องจาการที่องค์การอนามัยโลก มีความเป็นห่วงสายพันธุ์กลายพันธุ์ โอไมคอน หรือ B.1.1.529 เพราะมีการแพร่กระจายเร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้า แม้ว่าจะยังไม่มีการายงานขั้นความรุนแรง แต่ WHO ย้ำผู้ป่วยสูงอายุ และ มีโรคประจำตัวยังถือว่ามีความเสี่ยงและน่าเป็นห่วง พร้อมทั้งเน้นย้ำรายละเอียดว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเชื้อกลายพันธุ์ มักจะเป็นประเทศที่ได้รับวัคซีนค่อนข้างต่ำ มีการกระจายวัคซีนไปยังประชาชนน้อยมาก ทำให้ภูมิคุ้มกันที่มีอยู่น้อยเกิดเหตุเชื้อกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุข เน้นย้ำว่า หากไม่รีบรณรงค์ให้ประชาชนฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรให้มากที่สุด เราก็อาจเป็นที่กลายพันธุ์ของเชื้อได้

สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากประเทศแถบแอฟริกา ตัวเลขเมื่อวันที่ 1 -27 พ.ย. 2564 รวมแล้วสะสมอยู่ 1,007 คนและทั้งหมดนี้มีผลตรวจ PCR  เป็นลบ  ซึ่งเป็นกสรตอกซ้ำว่ามาตรการสาธารณสุขไทย การคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศ ไม่ว่าเป็นใครก็ตามจะต้องมีการตรวจ PCR ก่อนบินมาประเทศไทยเป็นเวลา 72 ชั่วโมง และเมื่อมาถึงแล้วจะมีการตรวจ PCR ซ้ำ ตั้งแต่วินาทีที่เดินทางถึง และ ยังมีการตรวจATK ซ้ำอีกด้วย การที่ยังคงมาตรการเหล่านี้ไว้ถือเป็นการคัดกรองตรวจจับเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพ

เช็กด่วน! กทม. ประกาศนั่งดื่มสุราในร้านอาหารได้ยาวถึง 5 ทุ่ม

แพทย์ผู้พบโควิด “โอไมครอน” (Omicron) เผย อย่าตระหนก ป่วยไม่หนัก รักษาที่บ้านได้

“หลายๆครั้งมีพี่น้องประชาชน หรือ ผู้ประกอบการตั้งคำถามว่าทำไมต้องเข้มงวด ซึ่งจะตอบคำถามได้ดีว่าถ้าตรวจพบเชื้อโดยเร็วก็จะมีการกักตัวเพื่อนำไปรักษาและจะไม่ทำให้แพร่กระจายไปยังชุมชน”

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ