กรมควบคุมโรค เผย 4 อาการโควิดสายพันธุ์ใหม่ 'โอไมครอน' หมอยงชี้ต้องฉีดวัคซีนไขว้ ลูกผสม Hybrid Immunity


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หมอยงอธิบาย โควิดสายพันธุ์ล่าสุด " โอไมครอน Omicron " ต้องฉีดวัคซีนไขว้ ลูกผสม สร้าง Hybrid Immunity กรมควบคุมโรคเผย 4 อาการ วิธีป้องกัน

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ถึง โควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน Omicron

 "พอได้ข่าวว่าไวรัสตัวนี้กลายพันธุ์ไปถึง 50 ตำแหน่ง และบริเวณหนามแหลมสไปท์ มีการเปลี่ยนแปลงไปมากถึง 30 ตำแหน่ง ฟังดูแล้วน่าตกใจ จริงๆแล้วการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในกลุ่ม mRNAไวรัส สำคัญที่ว่าตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงนั้น ทำหน้าที่อะไรมีความสำคัญแค่ไหน มากกว่าจำนวนที่เปลี่ยนแปลง"

“หมอยง” สรุป 10 ประเด็น โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่โอไมครอน (Omicron)

แพทย์ผู้พบโควิด “โอไมครอน” (Omicron) เผย อย่าตระหนก ป่วยไม่หนัก รักษาที่บ้านได้

นพ.ยง โพสต์ว่า ไวรัสตัวนี้มีพันธุกรรมทั้งสิ้น รวมหมดเกือบ 30,000 นิวคลีโอไทด์ ถ้าเปลี่ยนแปลงไป 50 หรือ 100 ต่อ 30000 ก็มีความเป็นไปได้ เพราะผ่านมา 2 ปี

แต่ที่สำคัญเวลาพูดถึงหนามแหลมสไปท์ จะมีประมาณ 4,000 นิวคลีโอไทด์ และเป็นกรดอะมิโนประมาณ 1,270 กรดอะมิโน การเปลี่ยนแปลงไป 30 ใน 1270 ถ้าบอกว่า 30 ดูว่าเยอะก็ได้ เป็นเรื่องธรรมดาก็ได้ แต่สำคัญขึ้นอยู่กับว่าเปลี่ยนแปลงตำแหน่งไหนมากกว่า

การเปลี่ยนแปลง 30 ใน 1270 รูปร่างโครงสร้างของหนามแหลมสไปท์ ก็ยังคงรูปร่างเดิม แต่ทำให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น เหมือนเช่น มนุษย์เรา ก็ยังคงเป็นมนุษย์ แต่หน้าตา ถ้ามีการแต่งเติมเปลี่ยนแปลง ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง หล่อขึ้น หรือขี้เหร่ ก็มีความเป็นไปได้ เมื่อมองจากภายนอก ก็ยังคงเป็นมนุษย์อยู่นั่นเอง ความจำ ถ้าเจอหน้าเจอตาที่มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ก็ยังจำได้ว่าเป็นใคร ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจนรูปร่างไม่เหมือนเดิม หาเป็นเช่นนั้นไม่

ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในหนามแหลมสไปท์ ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นในส่วนนี้ อาจจะลดลงไปบ้าง ไม่ใช่หายหมดอย่างสิ้นเชิง เช่นถ้าเรามีภูมิต้านทานสูงเราป้องกันได้ 90% เจอสายพันธุ์ใหม่ก็อาจจะลดลง เหลือ 80 เปอร์เซ็นต์ และถ้าภูมิต้านทานต่ำลงเปอร์เซ็นต์ก็จะต่ำลงตามอัตราส่วนลงมา อย่างในอดีต สายพันธุ์อู่ฮั่นที่ใช้ทำวัคซีนก็ยังสามารถป้องกันสายพันธุ์เดลต้าได้ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ต้องการระดับภูมิต้านทานที่สูงขึ้น

ทำนองเดียวกันสายพันธุ์ใหม่ ทำให้ภูมิต้านทานป้องกันลดลง ก็อาจจะจำเป็นที่ต้องมีภูมิต้านทานสูงไว้ก่อน หรือถ้าลดลงมาก ตัววัคซีนเองก็ต้องเปลี่ยนสายพันธุ์ไปเลย ต้องใช้สายพันธุ์ตัวใหม่ Omicron รอการศึกษา

การป้องกันในระบบภูมิต้านทาน คงไม่ได้ใช้ระบบภูมิต้านทานต่อหนามแหลมสไปท์ เท่านั้น

ในไวรัสทั้งตัว มีโปรตีนชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งโครงสร้างและไม่ใช่โครงสร้าง มากถึง 25 ชิ้น หนามสไปรท์เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่อยู่ยื่นออกมา ไว้เกาะ กับเซลล์มนุษย์ วัคซีนมีจุดมุ่งหมายสร้างภูมิต้านทาน มาขัดขวาง แต่ความเป็นจริงระบบภูมิต้านทาน อาจจะจำเป็นที่จะต้องใช้ต่อส่วนอื่นของตัวไวรัส เช่นส่วนเปลือก envelope ส่วน nucleocapsid และจะมีอื่นๆที่เราไม่รู้ ทำไมระบบภูมิต้านทานที่เกิดจากการติดเชื้อ จะปกป้อง ได้ดีกว่าภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีนที่ทำมาจากส่วนสไปท์เท่านั้น เพราะมีภูมิต้านทานต่อไวรัสทั้งตัวไม่ใช่มีแค่หนามแหลมสไปท์

การติดเชื้อ สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ถ้าร่วมกับ ภูมิต้านทานจากวัคซีน จะมีระดับภูมิต้านทานที่สูงมาก ที่เรียกว่าเป็นภูมิต้านทานแบบลูกผสม hybrid immunity และสามารถป้องกันได้ดีกว่า

ในทำนองเดียวกันการให้วัคซีนเชื้อตาย เป็นการจำลองการติดเชื้อ มีภูมิต้านทานต่อทั้งตัวไวรัส รวมหนามแหลมด้วย และเมื่อร่วมให้กับวัคซีนอื่น ที่เป็นหนามแหลมสไปท์ ก็น่าจะอนุมานได้ว่าทำไมภูมิต้านทานจึงสูงขึ้นมาก และน่าจะเป็นแบบภูมิต้านทานลูกผสม hybrid immunity

ในอนาคตเชื่อว่าการศึกษาภูมิต้านทานแบบลูกผสม น่าจะช่วยในการสนับสนุน ป้องกันการกลายพันธุ์ของไวรัส เพราะระบบภูมิต้านทานในการต่อสู้กับไวรัส ไม่มีเฉพาะแค่หนามแหลมสไปท์อย่างเดียวเท่านั้น

บ้านเรามีวัคซีนหลากหลายมาก การใช้วัคซีนแบบลูกผสม อาจจะดีต่อไวรัสกลายพันธุ์ก็ได้

ขณะที่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยแพร่ ลักษณะอาการเมื่อติดเชิ้อ โควิดสายพันธุ์ล่าสุด " โอไมครอน Omicron "

4 อาการ - ข้อสังเกต  รู้สึกเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดกล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่ 2-3 วัน อาการจะดีขึ้น ไม่ไอ ไม่มีผลกระทบเรื่องได้กลิ่นหรือรับรส

วิธีป้องกัน  - สวมหน้ากากเวลาพูดคุย หมั่นล้างมือ เลี่ยงการอยู่ในพื้นที่แออัด

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ