การฝึกเขียนบ่อย ๆ ... ช่วยให้สุขภาพจิตของเราดีขึ้น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




มีหลายทฤษฎีเชื่อว่า "การเขียน" ส่งผลต่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้น เหมือนกับการได้ปลดปล่อยอารมณ์

มีงานศึกษากว่า 200 ชิ้นที่แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพจิตที่ได้จาก "การเขียน" ขณะที่ด้านจิตวิทยายังคงไม่เห็นผลลัพธ์ที่ดีนักกับงานศึกษาดังกล่าวและนักวิจัยยังคงไม่เห็นด้วยทั้งหมด ว่าการเขียนช่วยเราได้อย่างไร

 

แต่มีทฤษฎีหนึ่งที่แนะนำว่า การเขียนช่วยสร้างพื้นที่ที่รู้สึกปลอดภัยและเป็นส่วนตัว ช่วยให้เราเปิดเผยอารมณ์ความรู้สึก จากภาวะกดดันด้านจิตใจ (Psychological Distress) 

 

จีนสั่งห้ามนักเรียนฉีกตำราเรียนระบายความเครียด (คลิป)

“สัตว์บำบัดจิต” ทางเลือกรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

โดย  “การเขียน” ให้ผลลัพธ์ที่ดีในด้านการตระหนักรู้ตนเอง (Self-awareness) มากกว่าเปิดเผยอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างผลลัพธ์ที่ดีด้านสุขภาพจิต

ซึ่ง การตระหนักรู้ตนเอง (Self-awareness) มีส่วนช่วยให้เรารับรู้ถึงนิสัย, พฤติกรรม, ความรู้สึก,ความเชื่อ,คุณค่า และแรงจูงใจของเรา ซึ่งงานวิจัยแนะนำว่าสิ่งเหล่านี้ช่วยให้เรามีความเชื่อมั่นในตัวเอง ยอมรับในผู้อื่น และอาจนำพาเราไปสู่อาชีพที่เราทำแล้วมีความสุข หรือการมีภาวะผู้นำที่ดี

อีกทั้งยังช่วยในด้านการควบคุมตนเอง และตัดสินใจได้ดีขึ้นเมื่อมองในระยะยาว การพัฒนาการตระหนักรู้ตนเองเริ่มได้ด้วยการเขียนทุกวัน กลับมาอ่านสิ่งที่เราเขียนเพื่อความเข้าใจอย่างลึกซึ้งที่มากขึ้นเกี่ยวกับตนเอง โดยแบ่งการเขียนออกเป็น 3 แนวทางด้วยกันคือ
 

1. เขียนเพื่อระบายอารมณ์ (Expressive Writing)
อาจจะเคยได้ยินอีกชื่ออย่าง “เขียนเพื่อบำบัด” โดยเราเขียนถึงความคิด และความรู้สึกที่เครียดมากในชีวิตออกมา ช่วยให้เราทำความเข้าใจอารมณ์ และความรู้สึกที่ส่งผลต่อการตระหนักรู้ของตนเอง และยังช่วยลดอาการหดหู่ ความคิดวิตกกังวล และระดับความเครียดของตนเอง

2. เขียนสะท้อนประสบการณ์ (Reflective writing)
โดยปกติการเขียนรูปแบบนี้มักนิยมเขียนในอาชีพอย่าง หมอ, พยาบาล หรือผู้ที่ทำงานด้านจิตวิทยา เพื่อใช้ในการเรียนรู้ และปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เขียนย้อนถึงประสบการณ์ที่เคยเกิดขึ้นอย่างละเอียด ลองตั้งคำถามและหาสาเหตุถึงสิ่งที่เรารู้สึก ความคิดในช่วงเวลานั้น และสิ่งที่เราได้ทำลงไป ซึ่งช่วยได้ทั้งการประกอบอาชีพ และความสัมพันธ์ส่วนบุคคลอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีด้านสุขภาพจิต

3. เขียนเชิงสร้างสรรค์ (Creative writing)
บทกลอน, เรื่องสั้น หรือนิยายไปเลย กับการเขียนที่ใช้ในการสำรวจความคิด, ความรู้สึก แล้วใส่ความสร้างสรรค์ลงไป ออกแนวศิลปิน หรือนักเขียนซึ่งเป็นการเขียนที่ค่อนข้างท้าทายอย่างมาก

ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยถึงเรื่องจริงในชีวิตประจำวันให้ดูมีความแฟนตาซีมากขึ้นอย่างซุปเปอร์ฮีโร่ หรือวายร้าย เหมาะกับการสื่อสารความรู้สึกผ่านการเปรียบเทียบในเรื่องยากที่จะอธิบาย หรือไม่สบายใจที่จะพูดถึง

 

อย่างไรก็ตามลองใช้เวลาวันละ 15 นาทีเขียนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นประจำวัน ทำความเข้าใจ และตั้งคำถามถึงความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น และผลลัพธ์ของเหตุการณ์อันนำไปสู่การตระหนักรู้ตนเอง สร้างผลลัพธ์ที่ดีด้านสุขภาพจิต

 

“ความรู้สึกโดดเดี่ยว” นอกจากจะเหงาแล้ว ยังอายุสั้นอีกด้วย

"กรี๊ดบำบัด" ประโยชน์ทางสุขภาพจิตจาก "หนังสยองขวัญ"

 

ที่มา :  World Economic Forum 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ