อย่าชะล่าใจ ‘ค่าไตรกลีเซอไรด์’ ในเลือดสูงต้นเหตุ 4 โรคร้ายที่ไม่ควรมองข้าม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ทุกครั้งที่ตรวจสุขภาพ หลายคนน่าจะเคยเห็น ค่าไตรกลีเซอไรด์ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แต่ไม่ได้ใส่ใจ ซึ่งรู้หรือไม่ว่า ค่าดังกล่าวอาจทำนายอนาคตสุขภาพของเราได้

ไตรกลีเซอไรด์ คือไขมันชนิดหนึ่งในร่างกาย เกิดขึ้นได้จากการรับประทานไขมัน ซึ่งอยู่ในอาหาร อาทิ มันหมู กะทิ เป็นต้น เมื่อเรารับประทานเยอะจนเกินไป ไม่ว่าจะอายุเยอะหรือน้อยก็มีโอกาสพบค่าไตรกลีเซอไรด์สูงได้ อีกทั้งยังสามารถเกิดได้กับคนที่ชอบรับประทานน้ำตาล เพราะถ้าน้ำตาลในเลือดสูงร่างกายก็จะทำการเปลี่ยนรูปไปเป็นไตรกลีเซอไรด์ได้  รวมไปถึงคนที่รับประทานยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ยาคุมกำเนิด หรือคนที่เป็นโรคบางชนิด เช่น กลุ่มโรคไทรอยด์ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้เช่นกัน

ภัยเงียบ "ไขมันพอกตับ" มีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้กับทุกคน

อย่าชะล่าใจ ปวดหัวรุนแรงเฉียบพลัน เสี่ยงเส้นเลือดสมองโป่งพอง

สำหรับระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในการตรวจสุขภาพ (เมื่อเรางดน้ำ งดอาหารประมาณ 8-10 ชั่วโมง)
    - โดยปกติ ต้องมีระดับไขมันในเลือดต่ำกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 
    - ระดับไขมันในเลือด 150-199 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จัดอยู่ใน ระดับไตรกลีเซอไรด์ค่อนข้างสูง 
    -  ระดับไขมันในเลือด 200-499 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จัดอยู่ใน ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง
    - ระดับไขมันในเลือดมากกว่า 500 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จัดอยู่ใน ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมาก
    - ถ้าไขมันในเลือดที่สูงมากกว่า 500 หรือมากกว่า 1,000 มิลลิกรัมต่อเดซิลิต จัดว่ามีความเสี่ยงในเรื่องตับอ่อนอักเสบ

การปล่อยให้ค่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือด สูงเป็นเวลานาน ๆ ถือว่าเป็นการสร้างปัญหาให้กับ 4 อวัยวะสำคัญของร่างกาย คือ ตับ ไต หัวใจ และสมองเพราะนอกจากจะทำให้ตับอ่อนอักเสบ อาจส่งผลกับหลอดเลือดแข็งทำให้เพิ่มความเสี่ยงเรื่องของหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจได้อีกด้วย 

ซึ่งการจะลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ คือ น้ำมันปลา (Fish oil) แต่หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็น ‘น้ำมันตับปลา’ โดยใน Fish oil จะมีสารตัวหนึ่งที่เราเรียกว่า Omega-3 fatty acids หรือกรดไขมันโอเมกา 3 โดยปกติแล้วคนเราต้องการกรดไขมันโอเมกา 3ประมาณ 500 มิลลิกรัมถึง 1 กรัม แต่การลดไตรกลีเซอไรด์จะต้องใช้ประมาณ 2-4 กรัม ซึ่งมากกว่าความต้องการประมาณ 4-8 เท่า ทำให้เราต้องกินโดสเยอะ ขณะที่น้ำมันตับปลาจะมีวิตามินเอ มีวิตามินดี ซึ่งอาจมี Fish oil อยู่บ้างแต่ไม่มากนัก ซึ่งไม่มีผลกับการลดไตรกลีเซอไรด์

ดังนั้นการกินอาหาร จึงเป็นเรื่องสำคัญ หากต้องการลดระดับ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ก็ต้องรู้จักการรับประทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ รู้จักคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์คงที่ หากอ้วน ให้ลดน้ำหนักลงมาประมาณ 5% รวมถึงงดดื่มแอลกอฮอล์ และใน 1 สัปดาห์ ควรออกกำลังกายประมาณ 3-5 ครั้ง ให้ได้ประมาณ 150 นาที หรือประมาณวันละ 30-50 นาที เป็นวิธีที่จะช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ได้

 

นักโภชนาการแนะอาหารที่เหมาะกับ "เหล่าประธานบริษัท" ช่วยบำรุงสมอง - ผ่อนคลายความเครียด

แนะ 3 ชนิดกีฬาสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ไว้ออกกำลังกายและควรทำอย่างไม่หักโหม

ที่มา 
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล
 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ