ตอบข้อสงสัย "โอมิครอน" โควิดสายพันธุ์ใหม่ อันตรายระดับไหน?


โดย BDMS

เผยแพร่




เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 องค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า เกิดมีเชื้อ covid-19 สายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 หรือโอมิครอน

ไวรัสกลายพันธุ์ตัวนี้ มีรายงานเป็นครั้งแรกที่แอฟริกาใต้ ช่วงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 เกิดขึ้นในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอายุน้อย และพบว่าไวรัสที่มีการกลายพันธุ์นี้ อาจมีพบกระทบต่อความเร็วในการแพร่กระจายโรค หรือความรุนแรงจากการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น เป็นเรื่องที่สร้างความกังวลเป็นอย่างมาก และขณะนี้นักวิจัยกำลังศึกษาว่า ไวรัสโอมิครอนนั้น มีความสามารถในการหลบหลีกวัคซีนได้มากน้อยแค่ไหน 

"บิ๊กตู่" จับตาใกล้ชิด โควิดสายพันธุ์ใหม่จากแอฟริกา ขอคนไทย "การ์ดไม่ตก"

นักวิทย์พบโควิด-19 “โอมิครอน BA.2” ลูกพี่ลูกน้องของโอมิครอนเดิม

1. ความสามารถในการแพร่เชื้อของโอมิครอนนั้นเป็นอย่างไร
ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูล ระบุอย่างชัดเจนว่า โอไมครอน สามารถแพร่เชื้อได้ดีกว่าเชื้อกลายพันธุ์ ก่อนหน้านี้หรือไม่ เรายังต้องศึกษาข้อมูลกันต่อไป 
 

2. ความรุนแรงของโรคที่เกิดจากเชื้อโอมิครอน
เท่าที่รวบรวมข้อมูลในวันนี้พบว่า อาการป่วยที่เกิดจากสายพันธุ์นี้มีไม่มาก ทั้งในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนแล้ว และไม่ได้รับวัคซีน ในระดับความรุนแรง แต่ยังต้องติดตามกันไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากเชื้อกลายพันธุ์นี้ยังใหม่มาก เราต้องดูจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาล  ผลการรักษา อัตราการเสียชีวิต ระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาล เปรียบเทียบกับสายพันธุ์เดิมที่มีอยู่ เช่น สายพันธุ์เดลต้า

"เช็ก 5 อาการโอมิครอน" ที่แพทย์ตรวจพบในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด

3 จาก 5 อาการหลักต้องสงสัย "โอมิครอน" ถ้ามีอย่าเพิ่งไปฉลอง


3. ประสิทธิผลของการตรวจหาเชื้อโอมิครอน 
การทดสอบแบบ PCR ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ยังคงมีความแม่นยำสูง ในการตรวจหาเชื้อโควิดทุกสายพันธุ์ ซึ่งรวมถึงการติดเชื้อโอมิครอนด้วย 

เปิดผลทดสอบชุดตรวจ ATK จากแล็บยุโรป หาโอมิครอนได้หรือไม่ พบบางยี่ห้อมีขายในไทย

 

4. ประสิทธิผลของการรักษาในปัจจุบัน 
ยาต่าง ๆ ที่ใช้รักษาผู้ป่วย Covid-19 ยังคงมีประสิทธิภาพดี สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้ออย่างรุนแรง สำหรับการรักษาอื่นๆ กำลังอยู่ในช่วงประเมินเพื่อดูว่ายังคงมีประสิทธิภาพเท่าเดิมหรือไม่

สหรัฐฯ อนุมัติใช้แล้ว “แพกซ์โลวิด” ยาเม็ดต้านโควิด-19

อย.สหรัฐฯ อนุมัติใช้ “โมลนูพิราเวียร์” ยาเม็ดต้านโควิด-19 ตัวที่สอง
 

5. เนื่องจากโอมิครอน ถูกกำหนดให้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ แต่ละประเทศกำลังสกัดไวรัสตัวนี้  โดยการเพิ่มมาตรการในการดูแลตัวเอง เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงวัคซีนป้องกัน Covid-19 ของกลุ่มเสี่ยง รวมทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้สูงอายุ 

ศบค. ระงับเดินทางเข้าไทยแบบ Test & Go ชั่วคราว สกัด “โอมิครอน”

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ