เปิดกระบวนการตรวจหา "สายพันธุ์โอมิครอน” ตั้งแต่ ATK จนถึงห้องแล็บ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี ม.มหิดล เปิดกระบวนการตรวจไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ “โอไมครอน” ทางห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่ ATK จนถึงห้องแล็บ โดยใช้ MassArray Genotyping

สายพันธุ์โอมิครอน กำลังเขย่าโลกของเราอยู่ในขณะนี้ ในไทยพบแล้วจากผู้เดินทางเข้าประเทศ  

ออสเตรเลีย ลดระยะการบูสเตอร์โดสจาก 6 เดือน เหลือ 5 เดือน สกัดโอมิครอน

ฉีดวัคซีนโควิดฟรี สูตร SV+SV+PF เปิดรับ Walk in เริ่มวันนี้

ขณะที่ก่อนหน้านี้ มีการตั้งคำถามถึงชุดตรวจ ATK ว่าสามารถตรวจหาสายพันธุ์ได้หรือไม่ นอกเหนือจากการตรวจว่า  พบเชื้อโควิด-19 โดยแสดงผลเป็น ผลบวก / ผลลบ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์  รามาธิบดี ม.มหิดล ได้ให้ข้อมูล กระบวนการตรวจไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ “โอมิครอน” ทางห้องปฏิบัติการ ไว้ดังนี้

 

1. จากภาพด้านบนจะพบว่า เมื่อตรวจด้วยชุดตรวจ  ATK (Antigen Test Kit)  ให้ผลบวกชัดเจน "แต่" ต้องหลังจากผู้ติดเชื้อแสดงอาการแล้ว 24 ชั่วโมง ตรวจพบได้ติดต่อกันถึง 5 วัน (ข้อมูลจากแพทย์ผู้รักษาผู้ติดเชื้อโอไมครอนในแอฟริกาใต้)

2. ต่อมาเป็นการตรวจด้วย PCR : หากเป็นโอมิครอนสายพันธุ์หลัก “BA.1”  จะพบ “SGTF”  หากเป็นสายพันธุ์ย่อย “BA.2”  ตรวจไม่พบ “SGTF”

ซึ่ง  “S”  Gene Target Failure  หรือ SGTF  คือการที่ชุดตรวจ PCR ทีออกแบบตัวตรวจตาม (PCR primer) ให้จับในส่วนของ S gene  โดยในกรณีของ “โอมิครอน”  สายพันธุ์หลัก “BA.1” จะตรวจจับไม่ได้เพราะจีโนมบริเวณดังกล่าวมีการกลายพันธุ์ไป ส่วนสายพันธุ์ย่อย “BA.2” จีโนมบริเวณนั้นไม่มีการกลายพันธุ์ทำให้ PCR ตรวจจับได้

การตรวจกรองด้วย PCR ซึ่งตรวจจับตำแหน่งบนจีโนมพร้อมกัน 2-3 ตำแหน่ง บางครั้งจะประสบปัญหาที่อาจตรวจจับบางตำแหน่งไม่ได้ เนื่องจากการกลายพันธุ์ เช่นในกรณี อัลฟา และ โอไมครอน จะเกิด S gene dropout หรือ S gene target failure (SGTF) เนื่องจากการกลายพันธุ์ตรงตำแหน่งของยีน “S” ทำให้ตัวตรวจตาม (PCR primer) เข้าจับไม่ได้เกิดเป็นผลลบลวง (false negative) ขึ้นมาได้

ดังนั้น ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ จึงพัฒนาการตรวจแบบ  MassArray Genotyping ซึ่งศูนย์จีโนมทางการแพทย์ใช้เวลา 2 สัปดาห์ในการพัฒนา “MassArray Genotyping" เพื่อตรวจแยก 7 สายพันธุ์สำคัญคือ โอมิครอน, เดลตา, อัลฟา, บีตา, แกมมา, และสายพันธุ์ท้องถิ่นของไทยคือ B.1.36.16 และ B.1.524 โดยสามารถดำเนินการตรวจจนรู้ผลเสร็จได้ภายใน 48 ชั่วโมงหลังได้รับตัวอย่างส่งตรวจ (turnaround time) พร้อมทั้งบ่งชี้ได้ว่าจีโนมของไวรัสมีความสมบูรณ์ (ยังอาจแพร่เชื้อก่อโรคได้) หรือแตกหักเป็นซากไปแล้ว รวมทั้งการติดเชื้อหลายสายพันธุ์ในผู้ติดเชื้อรายเดียวกัน

จีโนไทป์ MassArray: ตรวจได้ทุกสายพันธุ์สำคัญ: โอมิครอน, เดลตา, อัลฟา, เบตา และสายพันธุ์ท้องถิ่นไทย B.1.36.16 และ  B.1.524   แม้จีโนมจะมีการกลายพันธุ์ไปก็ตาม (เพราะศูนย์จีโนมฯได้พัฒนากระบวนการตรวจเลี่ยงบริเวณการกลายพันธุ์ดังกล่าว) สามารถตรวจจับโอไมครอนได้ทั้งสายพันธุ์หลัก (BA.1) และสายพันธุ์ย่อย (BA.2) โดยจะรายงานรวมเป็น "สายพันธุ์โอไมครอน" หากอนาคตพบว่ามีความจำเป็นที่ต้องแยก BA.1 และ BA.2 จากกันก็สามารถปรับเปลี่ยนตัวตรวจตาม (primer) ให้สอดคล้องกับความต้องการได้ภายใน 2 สัปดาห์

อังกฤษ คุมเข้ม “โอมิครอน” เร่งบูสเตอร์โดสเข็ม3 ก่อนปีใหม่

"มิสอินเดีย" ฮาร์นาซ สันธู คว้ามงกุฎ Miss Universe 2021 ครองตำแหน่งนางงามจักรวาลคนล่าสุด

ซึ่งการถอดรหัสพันธุ์กรรมไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งจีโนม (whole genome sequencing): ช่วยบ่งชี้ว่าเป็นสายพันธุ์หลัก หรือสายพันธุ์ย่อยชนิดใด และ ชุดตรวจ PCR  วัคซีน และยา ยังใช้ได้หรือไม

และเมื่อไปดู ผลการตรวจสายพันธุ์ "โอมิครอน" จากผู้ติดเชื้อรายแรกในประเทศไทย ด้วยเทคโนโลยี "MassArray Genotyping" (ดูภาพ)

 

 

เพื่อแก้ไขข้อจำกัดต่างๆของ PCR โดยยังคงไว้ซึ่งต้นทุนการตรวจที่ใกล้เคียงกับการตรวจ PCR และสามารถตรวจกรองตัวอย่างได้ครั้งละมากๆ (High-throughput screening) เช่น 1,000 ตัวอย่างต่อสัปดาห์ มีความไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) เทียบเท่า PCR โดยไม่ประสบปัญหาเรื่องไวรัสจีโนมกลายพันธุ์เปลี่ยนแปลงไป (เช่น SGTF) ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดีจึงได้พัฒนาการตรวจจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019 หลายตำแหน่งพร้อมกันด้วยเทคโนโลยี “MassArray Genotyping”

MassArray Genotyping หรือ “Low-Cost Mini-Sequencing” เป็นการตรวจ “หลังจากทราบผลการตรวจ PCR” ต่อไวรัสโคโรนา 2019 ว่าเป็น "บวก" ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนการตรวจ PCR ซึ่งทำหน้าที่ตรวจกรองเบื้องต้นว่ามีเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือไม่ในสิ่งส่งตรวจ (post PCR assay)

โดยออกแบบให้ตรวจสอบรหัสพันธุกรรม 47 ตำแหน่งที่กระจายอยู่ทั่วจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019 พร้อมกันในปฏิกิริยาหลอดเดียว (single-tube reaction) สามารถตรวจกรอง (screening) แยกแยะสายพันธุ์ โอไมครอน, อัลฟา, บีตา, แกมมา, เดลตา และสายพันธุ์ท้องถิ่นของไทยคือ B.1.36.16 และ B.1.524 ได้เป็นอย่างดี

ได้ผ่านการทดสอบกับตัวอย่างจากผู้ติดเชื้อ “โอไมครอน” รายแรกของประเทศ พบว่าได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ (ดูภาพด้านล่าง)  โดยการตรวจตาม 47 ตำแหน่ง พบว่าตรวจจับได้ร้อยละ 95.74 จีโนมไวรัสยังสมบรูณ์ ติดเชื้อได้

โดยระยะเวลาดำเนินการ (turnaround time) ตั้งแต่ได้รับสิ่งส่งตรวจ (สารพันธุกรรมของไวรัส) จนถึงการออกผลคือ 48 ชั่วโมงหรือ 2 วันทำการ

ดังนั้น จะเห็นว่า การตรวจแบบ  MassArray Genotyping จะสามารถ

1. สิ่งส่งตรวจเป็นไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ใด (โอไมครอน ทั้งสายพันธุ์หลัก BA.1 และ สายพันธุ์ย่อย BA.2, อัลฟา, บีตา, แกมมา, เดลตา และสายพันธุ์ท้องถิ่นของไทย B.1.36.16 และ B.1.524)

2. ไวรัสในตัวอย่างส่งตรวจมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเป็น “คลัสเตอร์” เดียวกันหรือต่าง”คลัสเตอร์” กัน โดยเทียบกับฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมของไวรัสโคโรนา 2019 ที่บรรดาสถาบันการแพทย์ของไทยอัปโหลดขึ้นไปแชร์ข้อมูลบนระบบคลาวด์ของ “GISAID”เกือบ 1 หมื่นตัวอย่าง

3. บ่งชี้ได้ว่าจีโนมของไวรัสมีความสมบูรณ์ (ยังติดเชื้อก่อโรคได้) หรือแตกหักเป็นซาก (ไม่ติดเชื้อ) แล้ว

4. มีการติดเชื้อสองสายพันธุ์ในบุคคลเดียว (mixed infection) หรือไม่ ซึ่งอาจชักนำให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ลูกผสม (hybrid) ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระบาดไปทั่วโลกได้

ออสเตรเลีย ลดระยะการบูสเตอร์โดสจาก 6 เดือน เหลือ 5 เดือน สกัดโอมิครอน

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ