วัคซีนโควิด-19 HXP-GPOVac เจาะลึก วัคซีนไทยมาตรฐานสากล โดยองค์การเภสัชกรรม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เจาะลึกวัคซีนโควิด-19 HXP–GPOVac จากองค์การเภสัชกรรม เตรียมก้าวสู่ระยะที่ 3 ด้วยความท้าทาย คาดขึ้นทะเบียนได้ช่วงไตรมาส 3 ปี 65

เป็นที่ทราบดีว่า ประเทศไทยของเรา มีทีมวิจัยวัคซีนโควิด-19 หนึ่งในนั้นคือ วัคซีน HXP–GPOVac  ขององค์การเภสัชกรรม ซึ่งเราจะมาเจาะลึกถึงวัคซีนชนิดนี้ เพื่อออกมาต่อสู้กับโควิด-19 ในอนาคตอันใกล้

รู้จัก วัคซีนโควิด -19 HXP - GPO Vac ขององค์การเภสัชกรรม เดินหน้าศึกษาวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 2

"NDV-HXP-S" วัคซีนโควิด-19 โดยคนไทยตัวแรกที่ได้รับอนุมัติให้ทดสอบในมนุษย์

ดร.ภญ.พรทิพย์ วิรัชวงศ์ หัวหน้าโครงการวิจัยพัฒนา วัคซีน HXP–GPOVac องค์การเภสัชกรรม เล่าให้ฟังในตอนหนึ่งของรายการกาแฟดำ โดย สุทธิชัย หยุ่น ว่า วัคซีนโควิด-19 HXP–GPOVac ขององค์การเภสัชกรรม ได้รับการสนับสนุนจากองค์กร PATH

 

 

ที่ได้ส่งมอบหัวเชื้อวัคซีนต้นแบบซึ่งพัฒนาโดยโรงเรียนแพทย์ที่เมาท์ไซนาย (The Icahn School of Medicine at Mount Sinai) และมหาวิทยาลัยเท็กซัสที่ออสติน (University of Texas at Austin) ประเทศสหรัฐอเมริกา มาทำการผลิตที่โรงงานผลิต(วัคซีน)ชีววัตถุ ขององค์การเภสัชกรรม ที่ ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

ดร.ภญ.พรทิพย์  บอกว่า วัคซีนชนิดนี้ได้มีการวิจัยพัฒนากระบวนการผลิตและสามารถผลิตวัคซีน HXP–GPOVac ผลิตด้วยเทคโนโลยีไข่ไก่ฟัก (Egg-based) เป็นวิธีการผสมผสานโดยการใช้ เชื้อไวรัสนิวคาสเซิล ให้สร้างส่วนหนาม ตรงนี้จะคล้ายไวรัลเวกเตอร์ แต่มีความพิเศษ คือ เป็นการสร้างแบบให้คงตัวนานกว่าเดิมด้วยเทคโลยีเฮกซะโปร

ซึ่ง เชื้อไวรัสนิวคาสเซิล พัฒนาโดย โรงเรียนแพทย์ที่เมาท์ไซนาย (The Icahn School of Medicine at Mount Sinai) ไม่ก่อโรคในคน มีการศึกษาระยะหนึ่งเพื่อนำมาพัฒนาเป็นวัคซีนในสัตว์ปีก แต่ในปัจจุบันมีการศึกษาเพื่อดูว่าจะสามารถผลิตวัคซีนที่ใช้กับคนได้หรือไม่ เป็นแพลตฟอร์มที่มีความปลอดภัย น่าสนใจและสามารถเจริญเติบโตได้ดีในไข่ไก่ ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้องค์การเภสัชกรรมสนใจเข้าร่วมโครงการผลิตวัคซีนโควิด-19 เนื่องจากมีโรงงานผลิตโดยใช้ ไข่ไก่ฟัก หรือ egg-based technolog อยู่แล้ว องค์กร PATH จึงมองว่าถ้าวัคซีนนี้สำเร็จก็จะ สามารถผลิตได้เลยไม่จำเป็นต้องไปสร้างโรงงานเพิ่ม  

ขณะเดียวกัน เชื้อโควิด-19 ไม่สามารถโตในไข่ไก่ ไม่เหมือนไวรัสไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น เมื่อต้องการผลิตออกมาเป็นวัคซีน จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี ไข่ไก่ฟัก หรือ egg-based technology  และต้องหาเชื้อที่สามารถโตในไข่ไก่ได้ ซึ่งคือเชื้อไวรัสนิวคาสเซิลที่ใช้เป็นตัวผลิตวัคซีน และหากองค์การเภสัชกรรมทำได้จะถือว่าเป็นแห่งแรก

ความท้าทายทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 อาสาสมัคร 4,000 คนที่ไม่เคยรับวัคซีนโควิด-19 มาก่อน

ดร.ภญ.พรทิพย์  บอกว่า ตามไทม์น์แผน ปี 2565 จะเดินหน้าสู่การทดลองทางคลินิกระยะที่สาม ซึ่งจะมีจำนวนเพียงพอที่จะยื่นขออนุญาตจาก อย. แต่การศึกษาต้องทำในอาสาสมัครที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ประมาณ 4,000 คน จะมีความยากและท้าทาย 

แต่ถ้าทำได้ตามแผน ช่วงไตรมาส 3 ของปี 2565 คาดว่าจะมีข้อมูลครบถ้วนที่จะยื่นขึ้นทะเบียนกับ อย. และในขั้นต้นหากทราบผลการศึกษาวิจัยทางคลินิกถึงขนาดวัคซีนที่เหมาะสมแล้ว ประมาณการณ์กำลังการผลิตจะอยู่ที่ 10-20 ล้านโดสและสามารถขยายกำลังการผลิตเพิ่มได้ต่อไป

ขณะเดียวกันความท้าทายเรื่อง "สายพันธุ์ที่กลายพันธุ์" ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องจับตา โดย ดร.ภญ.พรทิพย์ บอกว่า ความท้าทายนี้คือการพยายามติดตามงานวิจัยและเร่งให้ทันกับสิ่งที่ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ซึ่งทุกคนก็ทราบว่ามี โอมิครอน เข้ามาแล้ว

ดังนั้น ในขั้นแรกต้องพยายามให้สายพันธุ์เก่าให้สามารถขึ้นทะเบียนก่อน จากนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์จะมีตัวไกด์ไลน์ในเรื่องการขึ้นทะเบียน ปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ได้ เมื่อมีรากฐานอันแรกหลังจากนั้นก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น และใช้เวลาน้อยลงกว่าสายพันธุ์แรก

วัคซีน HXP–GPOVac ถือว่าใช้เทคโนโลยีแบบใหม่คือเฮกซะโปรซึ่งช่วยในการคงสภาพโปรตีนหนามของเชื้อโควิด ก็จะเป็นจุดที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี ความปลอดภัยสูงจากผลการทดลองทางคลินิกที่ผ่านมา ซึ่งเราเชื่อว่าถ้าใช้ในเด็ก ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือหญิงตั้งครรภ์ วัคซีนจะมีความปลอดภัย เป็นที่เชื่อมั่นอีกตัวหนึ่งของไทย

"วัคซีนโควิด-19ใบยา" ฝีมือนักวิจัยไทย พร้อมสู่การทดลองในมนุษย์

เช็กความคืบหน้า "วัคซีนโควิด-19สัญชาติไทย" ทุกตัวล่าสุด

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ