ออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ดี แต่ออกให้ถูกวิธี จะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การออกกำลังกายที่ถูกวิธี ช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ และได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสม

การออกกำลังกาย คือหนึ่งในกิจกรรมที่ทำให้เรามีสุขภาพกายและใจที่ดีอย่างไม่ต้องสงสัย แถมยังเริ่มต้นได้ง่าย ๆ อย่าง การเดิน การทำงานบ้าน หรือไปอีกขั้นแบบจริงจัง ก็คือการวิ่ง เตะฟุตบอล ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค หรือการเล่นกีฬาชนิดต่าง ๆ 

และใช่ว่าแต่ละคนจะสามารถออกกำลังกายในรูปแบบเหมือน ๆ กันได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย อายุ รวมถึงโรคประจำตัว

ดังนั้นเราต้องเลือกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมตัวเอง หรือปรึกษาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี และป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ "ว่ายน้ำ" กีฬาฝึกสมองและฟื้นฟูความทรงจำ
เปิดแนวทาง "อยู่บ้านช่วยชาติ" อย่างไรให้สุขภาพดี เมื่อสวนสาธารณะปิด!!
รู้หรือยังออกกำลังกายช่วงไหนเวิร์คสุด?

"นิวมีเดีย พีพีทีวี" จึงได้รวบรวมวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง และข้อควรระวัง มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
พยายามใช้เวลาออกกำลังกายปานกลาง (50-70% ของอัตราการเต้นหัวใจปกติ) อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หรือ 150-300 นาทีต่อสัปดาห์ และทำกิจกรรมที่สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างน้อย
2 วันต่อสัปดาห์

ค่อยเป็นค่อยไปสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่
ค่อย ๆ เพิ่มกิจกรรมทางกายเล็กน้อย อย่างการเดิน หรือปั่นจักรยานเมื่อต้องเดินทางในระยะที่เหมาะสมหรือเดิน และปั่นจักรยานตามสวนสาธารณะก็ได้เช่นกัน

กลุ่มไหนที่ควรพบแพทย์
การออกแบบการออกกำลังกาย มีความจำเป็นที่ควรจะพบแพทย์เพื่อปรึกษา สำหรับคนที่มีเงื่อนไขดังนี้
- อายุเกิน 45 ปี
- การออกกำลังกายทำให้รู้สึกเจ็บหน้าอก
- มักจะเป็นลมหรือวิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรงเวลาออกกำลังกาย
- ออกกำลังกายปานกลางทำให้เราหอบมากเกินไป
- มีความเสี่ยงโรคหัวใจ
- มีความเสี่ยงอาจจะเป็นโรคหัวใจ หรืออาการอื่นที่เกี่ยวข้อง
- มีการตั้งครรภ์


ข่าวดี! อย. อนุมัติวัคซีนไฟเซอร์ในกลุ่มเด็ก 5 - 11 ปี

เพราะหัวใจสำคัญของร่างกายคือ “หัวใจ”
หนึ่งในข้อดีของการออกกำลังกายคือ การทำให้หัวใจของเรานั้นแข็งแรง แต่ก็มีในหลายกรณีที่เรา
อาจจะเริ่มมีอาการที่บ่งชี้ถึงภาวะโรคหัวใจต่าง เช่นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งโดยปกติ หัวใจจะเต้นด้วยอัตรา 60-100 ครั้ง/นาที หากเต้นเร็วหรือช้ากว่าอัตราที่กล่าวไปข้างต้นควรพบแพทย์ เพื่อรับคำปรึกษา และวินิจฉัยถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นซึ่งหนึ่งในสาเหตุอาจเกิดจากการออกำลังกาย หักโหมเกินไป

“หมอนรองกระดูกสันหลัง” ควรระวังขณะออกกำลังกาย
หมอนรองกระดูกสันหลังมีคุณสมบัติในการยืดหยุ่น รองรับแรงกระแทกที่เกิดจากการใช้งานกระดูกสันหลังในเวลาที่เราเคลื่อนไหวเช่น การเดินหรือกระโดด ซึ่งหมอนรองกระดูกสันหลังจะค่อย ๆ เสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น

การออกกำลังกายอย่างหนัก หรือกิจกรรมที่มีความโลดโผนจึงต้องมีความระมัดระวังอย่างสูง เพราะหากเราออกกำลังกายอย่างไม่เหมาะสม และถูกวิธีอาจนำไปสู่ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทได้

เราจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือแพทย์ เพื่อออกแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมลดความเสี่ยง และดูแลหมอนรองกระดูกสันหลังของเรา

เหนื่อยง่ายเกินไปไหมเมื่อออกกำลังกาย
อีกสิ่งที่ควรสังเกตในขณะที่ออกกำลังกาย คือเรารู้สึกเหนื่อยหอบ หรือมีอาการเจ็บหน้าอกหรือไม่ โดยเทียบจากคนที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับเราเช่นการออกกำลังกายในลักษณะนี้ไม่รู้สึกเหนื่อย หรือเหนื่อยเล็กน้อย ในขณะที่เรารู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ

อาจจะเป็นไปได้ว่าปอดของเราไม่ได้แข็งแรงกว่าปกติ หรือการเริ่มต้นออกกำลังกายเราอาจจะยังไม่คุ้นชินและวิธีการหายใจที่ไม่เหมาะสม

แต่ก็อาจจะเกิดจากสาเหตุของโรคหลายประการอย่างเช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคแพ้อากาศ จมูกอักเสบเรื้อรัง โรคโลหิตจางโรคสมองประสาทและกล้ามเนื้อ โรคคอพอกเป็นพิษ ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิดขนาด ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย กรดไหลย้อน และท้องอืด โรคไตเรื้อรัง โรคตับระยะรุนแรง การพิการของกระดูกทรวงอก หรือจากอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับทรวงอก

หากพบว่าออกกำลังกายไปซักระยะหนึ่ง แล้วยังไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา และวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการดังกล่าว หากปล่อยทิ้งไว้แทนที่การออกกำลังกายจะสร้างคุณประโยชน์
อาจส่งผลเสียต่อร่างกายของเราจนบางครั้งไม่อาจหวนกลับมาเป็นปกติดังเดิมได้
ดื่ม "กาแฟ-โกโก้ร้อน" เป็นประจำ ช่วยชะลอการเสื่อมถอยของสมอง

ที่มา Better Health Channel, รพ.กรุงเทพ, รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ