"เชื้อราที่เล็บ" หนึ่งในปัญหาสุขภาพมือ - เท้าที่ไม่ควรมองข้าม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




โรคเชื้อราที่เล็บ คือความผิดปกติที่เกิดขึ้นที่เล็บ แม้จะเป็นโรคติดเชื้อที่สามารถรักษาได้ แต่บางครั้งการรักษานั้นอาจไม่ง่าย

โรคเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis) หมายถึงการติดเชื้อราที่เล็บ ซึ่งรวมทั้งราที่เป็นสายราหรือราในรูปของยีสต์ซึ่งมีลักษณะเป็นเซลล์กลม โดยทั่วไปไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่สามารถตรวจพบได้ทางห้องปฏิบัติการ โดยชนิดของเชื้อราที่พบบ่อย คือ เชื้อกลากแท้ (dermatophytes) เชื้อกลากเทียม (non-dermatophytes) และเกิดจากยีสต์(yeasts) โดยเฉพาะเชื้อแคนดิดา (Candida)

 

ใช้สมุนไพรไทยดูแลสุขภาพ ถูกวิธีช่วยลดเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19

“ต้อหิน”กับความเชื่อผิดๆที่เข้าใจกันไปเอง รักษาไม่ตรงจุดเสี่ยงตาบอด

“วุ้นตาเสื่อม” ภัยเงียบสังคมก้มหน้าวัยทำงาน

 

ซึ่งลักษณะอาการของเชื้อราที่เล็บที่พบส่วนใหญ่ ในระยะแรก อาจไม่สามารถสังเกตได้ แต่ความผิดปกติจะเริ่มแสดงออกมาเมื่อเชื้อราเริ่มขยายตัว มักมีเล็บที่ติดเชื้อราประมาณ 1 - 3 เล็บ โดยมักจะมีอาการดังนี้

 

1. เล็บเปลี่ยนสี อาจเปลี่ยนเป็นสีดำ สีขาว สีเหลือง หรือสีเขียว
2. เล็บหนาขึ้นหรือผิดรูป อาจทำให้ผิวเล็บเสียและขรุขระได้
3. มีอาการกดเจ็บที่เล็บ รอบเล็บบวมแดง หรือคันผิวหนังบริเวณเล็บ
4. เล็บร่น เนื่องจากแผ่นเล็บแยกตัวออกมาจากฐานเล็บ เกิดโพรงใต้แผ่นเล็บ เกิดขุยหนาใต้เล็บ

 

ทั้งนี้ โรคเชื้อราที่เล็บเป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นจากเชื้อรา แต่การติดต่อก็ไม่สามารถติดกันง่าย เชื้อราที่พบเกิดโรคนั้นส่วนหนึ่งติดต่อด้วยกันจากมนุษย์ สัตว์เลี้ยง และเชื้อราหลาย ๆ ชนิดก็อยู่ในสิ่งแวดล้อม หรือดิน ต้นไม้ ฯลฯ

 

ดังนั้นการรักษาต้องใช้ระยะเวลานาน อาจใช้เวลาหลายเดือน หรืออาจเป็นปี และยังมีโอกาสเกิดโรคซ้ำได้ แม้ว่าเล็บที่ดูเหมือนเกือบจะปกติหลังการรักษาแล้ว ยังอาจมีเชื้อราจำนวนน้อยอยู่ซึ่งเป็นเหตุของการเกิดโรคซ้ำดังนั้นการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันอีกครั้งโดย เฉพาะก่อนหยุดการรักษาก็นับว่ามีความสำคัญ

 

อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพเท้า การตัดเล็บเท้าอย่างถูกวิธีมีความ สำคัญ ดูแลเท้าให้แห้งไม่ควรเดินเท้าเปล่าโดยเฉพาะในที่สาธารณะที่ใช้ของร่วมกัน ไม่ควรใช้วิธีตัดเซาะหรือเลาะเล็มส่วนด้านข้างของเล็บ หรือให้ช่างทำเล็บตัดเล็บอย่างไม่ถูกวิธี เพราะทำให้เกิดเล็บขบ ติดเชื้อแทรกซ้อนเพิ่มเติม 

 

เช่นเดียวกับการเลือกชนิดรองเท้าที่เหมาะสม ไม่ควรรัดแน่น อับชื้น หรือเปิดปลายเท้าและต้องมีความระมัดระวังเป็น อย่างมากในการดูแลสุขภาพเท้าโดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานหรือใน ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการมองเห็น การเคลื่อนไหว การมีความผิด ปกติของโครงสร้างเท้าร่วมด้วย การได้รับยาอื่น ๆ หลายชนิด ฯลฯ

 

ทั้งนี้การใช้ยารักษาเชื้อราชนิดรับประทาน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยาอื่น ๆ ที่ได้ร่วมกันโดยเฉพาะยากลุ่มลดไขมันหรือโรคประจำตัว อื่นที่มีร่วมอยู่

 

ที่มา :  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ