กรมวิทย์ฯ อัปเดตโอมิครอนไทย พร้อมเปิดผลศึกษาผู้ป่วยในแอฟริกาเกิดภูมิต้านเดลตาได้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมวิทย์ฯ เผย ผลตรวจตัวอย่างเลือดในแอฟริกาเคยเป็นโอมิครอนมีภูมิคุ้มกันป้องกันเดลตาได้ พร้อมอัปเดตโอมิครอนในไทยทะลุ 2,062 ราย

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดผลการศึกษาในแอฟริกาใต้หลังจากนำตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในระยะเวลา 14 วันหลังติดเชื้อมาตรวจ พบว่า คนที่ติดเชื้อโอมิครอนแล้วจะเกิดภูมิคุ้มกันที่สามารถลบล้างฤทธิ์ (Neutralization) ขึ้น  14-15 เท่า และภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้นน้้นมีข้อสังเกตที่สำคัญ ปรากฏว่า สามารถป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้ประมาณ 4 เท่า โดยเฉพาะในกลุ่มที่ฉีดวัคซีน

อัปเดต 10 จังหวัด ติดโควิดสูงสุดวันนี้ ชลบุรี พุ่งอันดับหนึ่ง 499 ราย จับตา อุบลฯ ภูเก็ต จ่อทาบ

“ธนาธร” ติดเชื้อโควิด-19 เผย ไม่มีอาการ ร่างกายปกติ

อย่างไรก็ตาม กรมวิทย์ฯ กำลังรวบรวมคนที่ติดเชื้อโอมิครอนในไทยเพื่อนำตัวอย่างเอาเลือดมาตรวจดูว่ามีการป้องกันเชื้อเดลตาได้มากน้อยแค่ไหน

สำหรับข้อมูลการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนตั้งแต่วันที่  1 พ.ย. 2564 (เปิดประเทศ) ขณะนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 2,062 ราย คิดเป็น 19.08% โดยแบ่งเป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 1,150 ราย ติดเชื้อในประเทศ 957 ราย และขณะนี้พบผู้ป่วยสายพันธุ์โอมิครอนใน 54 จังหวัดและครบทุกเขตสุขภาพแล้วทั่วประเทศแล้ว

ประสิทธิภาพชุดตรวจ ATK ที่มีวางขายในไทย ในการตรวจหา “โอมิครอน”

ขณะที่ในบางจังหวัดที่อัตราการติดเชื้อโอมิครอนเกิน 100 คน พบว่า 
กทม. เยอะที่สุด 585 ราย ติดเชื้อภายในประเทศ 7 ราย
กาฬสินธุ์ 233 ราย  ติดเชื้อภายในประเทศ 231 ราย 
ร้อยเอ็ด 180 ราย ติดเชื้อภายในประเทศทั้งหมด
ภูเก็ต 175 ราย ติดเชื้อในประเทศ 17 ราย
ชลบุรี 162 ราย ติดเชื้อในประเทศ 70 ราย
สมุทรปราการ 106 ราย ติดเชื้อในประเทศ 28 ราย 

อย่างไรก็ตาม สามารถสรุปได้ว่า

1. การแพร่ระบาดของ สายพันธ์โอมิครอน จะเริ่มให้จำนวนภาพรวมของการติดเชื้อโควิด-19 มากขึ้น โดยหลังจากนี้จะอาจเห็นตัวเลขเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และยังไม่ส่งผลต่อต่อจำนวนการเสียชีวิต

2. การติดเชื้อโควิด-19 ยังเป็นสายพันธุ์เดลตา 70-80% ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตและป่วยหนักมากกว่า โดยเฉพาะ เช่นกลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีข้นไป ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง และสตรีมีครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งอาจเสี่ยงทำให้อาการหนัก

3. ตรวจสายพันธุ์หาเชื้อโอมิครอน ขณะนี้จะเริ่มใช้ระบบเฝ้าระวังปกติตามเกณฑ์ เพื่อประเมินสถานการณ์ โดยจะสุ่มตรวจหาเชื้อด้วยวิธี WGS (Whole Genome Sequencing ) ในบางรายเท่านั้น เนื่องจากที่ผ่านมาการตรวจด้วยวิธี SNP (Single nucleotide polymorphisms) ไม่ผิดพลาด และมีความแม่นยำถึง 100% จึงไม่จำเป็นต้องยืนยันผลทุกราย

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ