อัปเดต! 12 ข้อควรปฏิบัติ กักตัว แบบ Home Isolation (HI)


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมการแพทย์ ออกแนวปฏิบัติฉบับล่าสุด แนะนำ 12 ข้อควรปฏิบัติในการแยกกักตัว ผู้ป่วยโควิด 19 แบบ Home Isolation (HI) อย่างปลอดภัย เพื่อไม่ให้แพร่เชื้อไปสู่คนรอบข้าง

วันที่ 5 มกราคม 2565 กรมการแพทย์ ออกแนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด 19 แบบ Home Isolation ฉบับปรับปรุง (4 ม.ค. 65) ในช่วงปลายปี 2564 พบการระบาดของโควิด 19 สายพันธุ์ "โอมิครอน" ในวงกว้าง พบว่า อาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาล หรืออยู่โรงพยาบาลเพียงระยะสั้น ๆ แล้วไปพักฟื้นต่อที่บ้านหรือสถานที่รัฐจัดให้

ผู้ประกันตนต้องรู้! “ป่วยโควิด-กักตัว” ขอรับเงินทดแทนขาดรายได้อย่างไร?

"เช็ก 5 อาการโอมิครอน" ที่แพทย์ตรวจพบในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด

ประสิทธิภาพชุดตรวจ ATK ที่มีวางขายในไทย ในการตรวจหา “โอมิครอน”

แนวทางฯ ฉบับนี้ เป็นฉบับปรับปรุง เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยโควิด 19 โดยการแยกกักตัวที่บ้าน แบบ Home Isolation เป็นไปอย่างมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการน้อยส่วนใหญ่จะค่อย ๆ ดีขึ้นจนหาย อย่างไรก็ตามในช่วงปลายสัปดาห์แรก ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการมากขึ้นได้ ผู้ป่วยจึงควรสังเกตอาการตนเอง เมื่อไม่แน่ใจสามารถโทรศัพท์ปรึกษา หรือเข้าไปรับการตรวจที่โรงพยาบาล โดยติดต่อไปยังโรงพยาบาลก่อนเพื่อรับการดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไป

อัปเดต สายด่วนโควิด 50 เขตกทม. รับผู้ป่วยเข้าสู่ระบบรักษา

“ติดโควิด คลิกที่นี่” แบบประเมินความเสี่ยงด้วยตัวเอง บนหมอพร้อม Chatbot

ผู้ป่วยโควิด 19 จะเริ่มแพร่เชื้อก่อนมีอาการประมาณ 2-3 วัน ไปจนถึงสิ้นสุดสัปดาห์แรกของการเจ็บป่วย นับจากวันที่เริ่มมีอาการ ผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการน้อยหรืออาการดีขึ้นแล้ว อาจจะยังมีเชื้อไวรัสที่ยังแพร่ไปสู่ผู้อื่นอยู่ในน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยเป็นระยะเวลาประมาณ 10 วัน หลังจากเริ่มป่วย

ดังนั้น ผู้ป่วยโควิด 19 ที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จึงจำเป็นต้องแยกตัวเองจากผู้อื่น ขณะอยู่ที่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 10 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มป่วย หรือ ตรวจพบเชื้อ หากครบ 10 วัน แล้วยังมีอาการควรแยกตัวจนกว่าอาการจะหายไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง เพื่อลดการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น ทั้งนี้ สามารถปรึกษาแพทย์ได้หากไม่มั่นใจระยะเวลาที่เหมาะสมในการหยุดแยกตัว หลังจากนั้น แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยและระมัดระวังสุขอนามัยส่วนบุคคลต่อไปตามมาตรฐานวิถีใหม่ (new normal) แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีอาการหนักในช่วงแรก อาจจะแพร่เชื้อได้นานถึง 20 วัน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล เมื่ออาการดีขึ้นจนกลับบ้านได้แล้วมักจะพ้นระยะแพร่เชื้อแล้วจึงไม่ต้องแยกตัว

UCEP คืออะไร ทำความเข้าใจทุกขั้นตอน-หลักเกณฑ์ ก่อนใช้สิทธิ

ดูแลผู้ป่วยโควิดด้วยเทเลเมดิซีน พบแพทย์ผ่านออนไลน์ จัดส่งยาถึงบ้าน 

คำนิยาม Home Isolation เป็นแนวทางหลักในการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 (วันที่ 4 มกราคม 2565) คือ ผู้ที่อยู่ในช่วงระยะที่แพร่เชื้อได้ มีความจำเป็นที่จะต้องให้ผู้ป่วยแยกจากคนอื่นในบ้านตามคำแนะนำ ดังนี้

1) ผู้ป่วยโควิด 19 ที่วินิจฉัยใหม่ตามเกณฑ์การวินิจฉัย และแพทย์เห็นว่าสามารถดูแลรักษาที่บ้านได้

2) ผู้ป่วยโควิด 19 ที่อาการดีขึ้นแล้ว (step down) หลังเข้ารับการรักษาที่สถานที่รัฐจัดให้ หรือ โรงพยาบาล อย่างน้อย 7 วัน และจำหน่ายกลับบ้าน โดยวิธี Home Isolation

 

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด 19 ในระหว่างแยกตัว ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนี้

1) ไม่ให้บุคคลอื่นมาเยี่ยมที่บ้านระหว่างแยกตัว และงดการออกจากบ้านในระหว่างแยกตัว

2) อยู่ในห้องส่วนตัวตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่นในที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ หากยังมีอาการไอจาม ต้องสวมหน้ากากอนามัย แม้ขณะที่อยู่ในห้องส่วนตัว โดยแนะนำให้สวมหน้ากากอนามัย ไม่ให้ใช้หน้ากากผ้า

3) หากจำเป็นต้องเข้าใกล้ผู้อื่น ต้องสวมหน้ากากอนามัยและอยู่ห่างอย่างน้อย 1 เมตร หรือประมาณหนึ่งช่วงแขน หากไอจาม ไม่ควรเข้าใกล้ผู้อื่น หรืออยู่ห่างอย่างน้อย 2 เมตร และให้หันหน้าไปยังทิศทาง ตรงข้ามกับตำแหน่งที่มีผู้อื่นอยู่ด้วย

4) หากไอจามขณะที่สวมหน้ากากอนามัย ไม่ต้องเอามือมาปิดปาก และไม่ต้องถอดหน้ากากอนามัยออก เนื่องจากมืออาจเปรอะเปื้อน หากไอจามขณะที่ไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย ให้ใช้ต้นแขนด้านในปิดปาก และจมูก

5) ถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นประจำ (หากมือเปรอะเปื้อนให้ล้างด้วยสบู่ และน้ำ) โดยเฉพาะภายหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ขณะไอ จาม หรือหลังจากถ่ายปัสสาวะ หรือ อุจจาระ และก่อนสัมผัสจุดเสี่ยงที่มีผู้อื่นในบ้านใช้ร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได มือจับตู้เย็น ฯลฯ

6) กรณีที่เป็นมารดาให้นมบุตร ยังสามารถให้นมบุตรได้ เนื่องจากยังไม่มีรายงานพบเชื้อโควิด 19 ในน้ำนม แต่มารดาควรสวมหน้ากากอนามัย และล้างมืออย่างเคร่งครัดทุกครั้งก่อนสัมผัส หรือให้นมบุตร

แนะ 6 วิธีให้ลูกได้กิน "นมแม่" เมื่อต้องแยกกักตัวโควิด-19

คลายความกังวลโควิด-19 ไม่มีใน "นมแม่" หมอแนะแต่ยังต้องระวัง

แนะวิธีกักตัวอย่างไร? เมื่ออาศัยบ้านเดียวกับผู้ป่วยโควิด-19 โดยไม่มีห้องแยก

7) ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น หากจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน ให้ใช้เป็นคนสุดท้าย ให้ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ

8) การทำความสะอาดห้องน้ำและพื้นผิว ควรทำความสะอาดโถสุขภัณฑ์ หรือพื้นที่ที่อาจปนเปื้อน เสมหะ น้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่ง ด้วยน้ำและน้ำยาฟอกผ้าขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (เช่น ไฮเตอร์, คลอรอกซ์) โดยใช้ 5% โซเดียมโซเดียมไฮโปคลอไรท์ น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วน ต่อน้ำ 99 ส่วน หรือ 0.5% (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วน ต่อน้ำ 9 ส่วน)

9) แยกสิ่งของส่วนตัวไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น จาน ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ

10) ไม่ร่วมรับประทานอาหารกับผู้อื่น ควรให้ผู้อื่นจัดหาอาหารมาให้ แล้วแยกรับประทานคนเดียว ถ้าเป็นอาหารที่สั่งมา และต้องเป็นผู้รับอาหารนั้น ควรให้ผู้ส่งอาหารวางอาหารไว้ ณ จุดที่สะดวก แล้วไปนำอาหารเข้าบ้าน ไม่รับอาหารโดยตรงจากผู้ส่งอาหาร

11) ซักเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ฯลฯ ด้วยน้ำและสบู่ หรือผงซักฟอกตามปกติ หากใช้เครื่องซักผ้าให้ใช้ผงซักฟอก และ น้ำยาปรับผ้านุ่มได้

12) การทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว และขยะที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง ให้ใส่ถุงพลาสติก และปิดปากถุงให้สนิท ก่อนทิ้งขยะที่ฝาปิดมิดชิด และทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์ หรือ น้ำ และสบู่ ทันที

ตรวจ ATK ใช้แล้วไม่ควรทิ้งถังขยะทันที แนะวิธีกำจัดให้ปลอดภัยกับทุกคน

เด็กเล็กติดโควิด-19 “แสนกว่าคน” เสียชีวิต 29 ราย โดยเฉพาะ 0-1 ปี

เปิดข้อปฏิบัติ-วิธีสังเกตอาการ “เมื่อเด็กเล็กติดโควิด-19”

 

คำแนะนำเพิ่มเติม สำหรับผู้ป่วยโควิด 19 ในการสังเกตอาการตนเอง

1) ให้สังเกตอาการตนเอง วัดอุณหภูมิและ oxygen saturation ทุกวัน

2) หากมีอาการแย่ลง คือ มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ เช่น ไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส หายใจ หอบเหนื่อย วัดค่าออกซิเจนปลายนิ้วได้น้อยกว่า 94% หรือไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ให้รีบโทรติดต่อโรงพยาบาลที่ท่านรักษาอยู่

3) เมื่อจะต้องเดินทางไปโรงพยาบาลให้ใช้รถยนต์ส่วนตัวหรือรถที่โรงพยาบาลมารับ ไม่ใช้รถสาธารณะ ให้ทุกคนในรถใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่เดินทาง หากมีผู้ร่วมยานพาหนะมาด้วย ให้เปิดหน้าต่างรถ เพื่อเพิ่มการระบายอากาศ

เมื่อโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น วิถีชีวิตเราจะเปลี่ยนไปอย่างไร

แนวทางการขอ “ใบรับรองแพทย์” หลังหายป่วยโควิด-19

ดาวน์โหลด : การจัดบริการ HOME ISOLATION (HI) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ