หอการค้าไทย ย้ำไม่เห็นด้วยหากจะล็อกดาวน์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การประกาศยกระดับการเตือนภัยโควิด-19 จากเดิมระดับ 3 ปรับขึ้นเป็นระดับ 4 และมีข้อแนะนำและมาตรการเพิ่มขึ้น โดยศบค.จะเคาะมาตรการในวันนี้ ทางด้าน หอการค้าไทย ออกมาย้ำว่า “ไม่เห็นด้วย” หากจะยกระดับให้มีการ ล็อกดาวน์ประเทศทั้งหมด พร้อมระบุว่าโอมิครอนคือความเสี่ยงที่ต้องอยู่ร่วมกันให้ได้

นายสนั่น  อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย  เผยว่าการประกาศยกระดับการเตือนภัยโควิด-19 จากเดิมระดับ 3 ปรับขึ้นเป็นระดับ 4 โดยจะมีข้อแนะนำและมาตรการเพิ่มขึ้น  หอการค้าไทยอยากให้มีการพิจารณาถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่รอบด้าน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว ถึงแม้ปัจจุบันจะทราบกันดีว่าสายพันธุ์โอมิครอนมีการแพร่ระบาดที่รวดเร็ว แต่มองว่าอาการโอมิครอนอาจไม่ได้รุนแรงเท่ากับสายพันธุ์เดลต้า และประชากรส่วนใหญ่ของไทยได้รับวัคซีนแล้ว

TDRI วิเคราะห์ดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพ ไทยสมควรอยู่อันดับ 5 ของโลกจริงหรือ?

หนุ่มเครียด! ยิงลูก-เมีย ก่อนยิงตัวตาม

 

หอการค้าไทย จึงไม่เห็นด้วย หากภาครัฐจะยกระดับมาตรการด้วยการล็อกดาวน์กิจกรรมของประเทศ เพราะสถานการณ์ในการได้รับวัคซีนต่างจากกลางปีที่แล้ว เพราะนอกจาก ล็อกดาวน์ จะสร้างความเสียหายมหาศาลกับเศรษฐกิจแล้ว ยังจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของประชาชนลดลง  ที่ผ่านมาบรรยากาศของประเทศเพิ่งกลับมาคึกคัก หลายภาคส่วนมีความหวังในการตั้งต้นและเดินหน้าธุรกิจใหม่ในปี 2565 หากกลับไปล็อกดาวน์จะทำให้ประเทศต้องกลับไปนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง

เปิดมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 18 “กัญชานำไทย สมุนไพรสร้างชาติ” 22-26 ธ.ค.นี้

ส่วนกรณีที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เผยถึงปัญหาประกันภัย สำหรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศไม่ครอบคลุมเจ็บป่วยเล็กน้อย ทำให้อาจเกิดปัญหาต้องวางเงินมัดจำล่วงหน้าบางส่วน ซึ่งนักท่องเที่ยวไม่ยอมรับ / จนคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ต ต้องจัดให้ไปอยู่ในโรงพยาบาลสนาม เพื่อดูแลไม่เสียค่าใช้จ่ายเป็นการแก้ปัญหาแบบชั่วคราวก่อน

ล่าสุด นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย บอกว่า เงื่อนไขการคุ้มครองทางรัฐบาลไทยเป็นผู้กำหนดว่าจะให้คุ้มครองอะไรบ้าง ไม่ว่าวงเงินในการดูแล เงื่อนไขการรับประกัน ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติจะต้องเดินซื้อประกันผ่านเว็บไซต์ของสมาคมตั้งแต่ก่อนเดินทางเข้าไทยอยู่แล้ว

ส่วนจะขยายความคุ้มครองกรณีไม่มีอาการได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับภาครัฐว่าจะกำหนดอย่างไร หากรัฐบาลเข้ามาเจรจากับบริษัทประกันภัยก็สามารถทำได้ โดยแนวทางอาจจะเป็นลักษณะของการเพิ่มวงเงินเพื่อเพิ่มความคุ้มครองกรณีที่การติดเชื้อไม่แสดงอาการ

ส่วนความคืบหน้าการยื่นอุทธรณ์ขอให้คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ บอร์ด คปภ. พิจารณายกเลิกคำสั่งนายทะเบียน 2 ฉบับ ได้แก่ การยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์โควิด-19 กับการปรับเงื่อนไขรักษาพยาบาล  ตอนนี้ทาง สมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้ยื่นเรื่องขออุทธรณ์อย่างเป็นทางการไปแล้ว  พร้อมอยากให้ประชาชนเข้าใจมุมของบริษัทประกันด้วย ว่าการติดเชื้อโควิดเป็นเรื่องใหม่จึงต้องปรับปรุงเงื่อนไขไปเรื่อยๆ เพราะปี 2564 มีคนป่วยเพิ่มขึ้นจาก 2563 มากถึง 300 เท่า

ลงทะเบียนฉีดวัคซีนเข็ม 3 “ไฟเซอร์” ผ่านเครือข่ายมือถือ เริ่ม 7 ม.ค. 65

ส่วนเมื่อวานนี้ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปรับเพิ่ม ผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ตามกฏหมายโรคติดต่อ กรณี โรคโควิด19

ฉบับที่แก้ใหม่ ผู้ที่จะเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ก็จะเป็นการเพิ่ม ผู้มีอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนทางเลือก หรือตัวเลือก เข้าไป หลังก่อนหน้านี้มีในส่วนของผู้ป่วย โควิด19 และ ผู้มีอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนจากโครงการรัฐอยู่แล้ว

โดย ทีมข่าวได้สอบถามไปที่ สปสช.และ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) เจ้าหน้าที่ได้อธิบายว่า จะไม่ใช่ทุกคนที่เข้าข่าย รักษาแบบฉุกเฉินวิกฤต ตามหลัก นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ หรือ UCEP (ยูเซ็ป) ได้ แต่จะต้องมีอาการเข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤตเท่านั้น ได้แก่

-หมดสติ ไม่หายใจ

-หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง ติดขัด

-ซึม เหงื่อแตก ตัวเย็น

-เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน

-แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ชักต่อเนื่องไม่หยุด

-อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบสมอง

ทั้งนี้ผู้ป่วยที่รักษาแบบฉุกเฉินวิกฤตฟรี 72 ชั่วโมงแล้ว ยังสามารถไปขอรับการเยียวยาจาก สปสช.ได้อีกทางหนึ่ง // แต่สำหรับ ผู้ที่แพ้วัคซีน แต่อาการไม่ฉุกเฉิน เช่น เป็นผื่นแพ้ หรืออาการไม่หนัก ให้ไปรักษาที่ โรงพยาบาลตามสิทธิของตัวเอง

คำขวัญวันเด็ก 2565 “รู้คิด รอบคอบ รับผิดชอบต่อสังคม”

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ