8 อาการติด "โอมิครอน" สธ.ชี้ เกินครึ่งไม่แสดงอาการ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สธ.ชี้ โควิด-19 โอมิครอนติดมากแสดงอาการน้อย จ่อปรับเกณฑ์รักษา หากไม่แสดงอาการ ไม่ต้องเข้าโรงพยาบาล

ในการแถลงข่าวสถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทยประจำวัน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันที่โควิด-19 มีความรุนแรงต่ำ แต่ติดเชื้อกันได้ง่ายจากการระบาดของโควิด-19 วิธีตรวจคัดกรองหรือตรวจเข้าสู่ระบบการรักษา อาจจะต้องปรับ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพราะการตรวจ PCR ยุ่งยาก รอนาน ราคาแพง

โดยสถานการณ์ผู้ต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อ จะเริ่มด้วย ATK ถ้าเป็นบวก แล้วไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย และไม่มีความเสี่ยงทางการแพทย์

อาการลองโควิด (Long Covid) มีวิธีรักษาอย่างไร? แล้วรักษาหายหรือไม่?

อย่าชะล่าใจ!! อาจเกิดภาวะลองโควิดได้หลังติดเชื้อประมาณ 2 เดือน

เช็กที่นี่ ! รวมจุดฉีดวัคซีนโควิด ทั้งแบบลงทะเบียน และ Walk in

เช่น ไม่เป็นโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตไม่สูง ไม่เป็นเบาหวาน ฯลฯ ควรดูแลรักษาด้วยการ Home Isolation หรือ Community Isolation  แต่ต้องมีระบบคอยดูแล ถ้ามีอาการเปลี่ยนแปลง ก็จะดำเนินการตรวจ PCR

แต่ถ้ามีอาการ หรือมีภาวะเสี่ยงทางการแพทย์ จะตรวจ PCR ให้ทันที และจะพิจารณาว่าต้องเข้าสู่ระบบการรักษาในโรงพยาบาลหรือไม่

"เช็ก 5 อาการโอมิครอน" ที่แพทย์ตรวจพบในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด

แนะวิธีรักษาฟื้นฟูร่างกาย เมื่อมีอาการ "ลองโควิด" (Long COVID) 

ส่วนกรณี ATK เป็นลบ ถ้าไม่มีอาการ ก็แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่มีประวัติเสี่ยง ขอให้กักตัว และตรวจ ATK ซ้ำทุก 3 วัน หรือเมื่อมีอาการ ถ้ากลับมาเป็นบวก ก็กลับวงจรข้างบน

ส่วนกลุ่มที่ไม่มีประวัติเสี่ยง ก็ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันทั่วไป

ในกรณีที่ผลลบแต่มีอาการและมีความเสี่ยงทางการแพทย์ ก็จะดำเนินการตรวจ PCR และพิจารณาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เสริมว่า ปัจจุบันประเทศไทยพบโควิด-19 โอมิครอนมากขึ้น แต่ประมาณครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ ซึ่งครึ่งนี้เองที่ควรรักษาด้วยการ Home Isolation หรือ Community Isolation ก่อนตามที่ นพ.ศุภกิจ ชี้แจง

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาการต้องระวังจากภาวะ "ลองโควิด" (Long COVID)

เป็น “ตะคริว” ตอนกลางคืนบ่อยๆ สัญญาณความผิดปกติที่ไม่ควรมองข้าม

ส่วนอีกครึ่งหนึ่งที่มีอาการนั้น หากตรวจ ATK แล้วผลเป็นบวก ก็จะดำเนินการส่งตรวจ PCR ต่อไป โดยอาการที่เข้าข่ายว่าเป็นการติดเชื้อโควิด-19 โอมิครอน จากการสำรวจผู้ติดเชื้อโอมิครอน 100 รายแรกของไทย พบว่า ประกอบด้วย

  • ไอ 54%
  • เจ็บคอ 37%
  • มีไข้ 29%
  • ปวดกล้ามเนื้อ 15%
  • มีน้ำมูก 12%
  • ปวดศีรษะ 10%
  • หายใจลำบาก 5%
  • ได้กลิ่นลดลง 2%

นพ.สมศักดิ์บอกว่า จุดที่น่าสังเกตคือ อาการมีไข้พบน้อยลง ซึ่งหมายความว่า เวลาไปสถานบริการทั้งหลาย นอกจากตรวจไข้วัดอุณหภูมิ อาจจะต้องซักถามอาการกันด้วย ว่ามีอาการอะไรหรือไม่ ถ้ามีอาการก็ไม่ควรให้เข้าไปในสถานบริการเหล่านั้น อย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า

เปิดข้อปฏิบัติ-วิธีสังเกตอาการ “เมื่อเด็กเล็กติดโควิด-19”

กรมการแพทย์เผยถึง ภาวะ MIS-C (มิสซี) ในเด็ก พร้อมสังเกตอาการ

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ