เช็ก! 13 จุดพักคอย ผู้ติดเชื้อโควิด กทม. คัดกรองก่อนส่งต่อรักษาอาการ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เช็ก 13 "จุดพักคอย" Community Isolation (CI) สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด 19 ใน กทม. มีที่ไหนบ้าง? คัดกรองอาการ ก่อนส่งต่อรักษาโรงพยาบาล

ในห้วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 ระลอกใหม่ ระลอกที่ 5 โดยเฉพาะสายพันธุ์ "โอมิครอน" กำลังแพร่ระบาดในวงกว้าง และทำให้มีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่มีความจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจ ATK หากผลปรากฏติดเชื้อ ต้องรีบแยกกักตัวเข้าสู่ระบบในการติดตามดูแลเฝ้าอาการ ทั้งในรูปแบบการกักตัวที่บ้าน Home Isolation (HI) ลงทะเบียนสายด่วน สปสช. โทร 1330 กด 14

กรมวิทย์ เชื่อ “เดลตาครอน” เกิดจากปนเปื้อนตัวอย่าง ไม่ใช่ติดเชื้อ 2 สายพันธุ์

เด็ก 8 เดือนติดโควิด ปู่ขับรถตระเวนหาที่รักษา ไม่มี รพ.ไหนรับ เพจสายไหมฯรุดช่วย

8 อาการติด "โอมิครอน" สธ.ชี้ เกินครึ่งไม่แสดงอาการ

แต่หากมีกรณีฉุกเฉินสามารถติดต่อผ่านศูนย์เอราวัณ โทร. 1669 ได้อีก 1 ช่องทาง เจ้าหน้าที่จะช่วยประสานข้อมูลเข้าสู่ระบบการรักษาตามอาการต่อไป และอีกรูปแบบคือ รูปแบบชุมชน/ศูนย์พักคอย Community Isolation (CI) เพื่อรีบตัดวงจรการแพร่ระบาด

“ศิริราช” เปิดจองวัคซีนไฟเซอร์ เข็ม 1, 2 และ 3 ผ่านแอปฯ เริ่ม 15 ม.ค.นี้

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีนโยบายกำชับให้เตรียมความพร้อมศูนย์พักคอย Community Isolation (CI) จำนวน 41 แห่ง รวม 5,158 เตียง ทั้งทางด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และเปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2565 โดยขณะนี้มี CI จำนวน 13 แห่งแรก ที่เปิดรับผู้ป่วยติดเชื้อแล้ว มีจำนวนเตียงพร้อมรองรับแล้วรวมทั้งหมด 1,826 เตียง และเตรียมพร้อมอีก 28 แห่ง อีก 3,332 เตียง คาดว่าจะเปิดให้บริการเร็ว ๆ นี้ อีก 3,332 เตียง ปัจจุบันมีผู้ครองเตียง 137 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ม.ค. 65) คงเหลือ 5,021 เตียง

ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อผู้ป่วยติดเชื้อพร้อมให้บริการแล้ว มี 13 แห่ง ประกอบด้วย (ณ วันที่ 10 ม.ค. 65)

1. ศูนย์สร้างสุขทุกวัยเกียกกาย (เฉพาะสำหรับเด็กและครอบครัว) สามารถรับผู้ป่วยเด็กอายุ 5-12 ปี แบ่งเป็นได้ ชาย 26 คน และหญิง 26 คน เดิมได้ปรับเป็นสแตนด์บายโหมดอยู่แล้ว หากมีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ที่เป็นเด็กอายุ 5-12 ปี ก็สามารถรับผู้ติดเชื้อมาดูแลได้ทันที 

2.  บริษัท RBS Logistic จำกัด เขตลาดพร้าว 175 เตียง

3. โรงเรียนการไปรษณีย์ เขตหลักสี่ 118 เตียง

4. ประปาแม้นศรี เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 100 เตียง

5. ศูนย์ตันปัน เขตห้วยขวาง 145 เตียง

6. วัดสะพาน เขตคลองเตย 500 เตียง

7. นาซ่า แบงค์คอก เขตสวนหลวง 92 เตียง

8. ศูนย์พักคอย กทม. เขตคันนายาว 127 เตียง

9. ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตบางกะปิ 133 เตียง

10. ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตทวีวัฒนา 114 เตียง

11. ศูนย์สร้างสุขทุกวัย (สตรี) เขตบางกอกใหญ่ 50 เตียง

12. วัดกำแพง เขตภาษีเจริญ 100 เตียง  และ

13. ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตบางขุนเทียน 120 เตียง 

บูสเข็ม 4 ฉีดวัคซีนยี่ห้อไหนดี ศบค. เปิดสูตรวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็ม 4

นอกจากการเปิดบริการศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation : CI) ผู้ป่วยโควิด 19 ทั้ง 13 แห่งแล้ว กรุงเทพมหานคร ยังได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม จำนวน 4 แห่ง และโรงพยาบาลสนามประจำกลุ่มเขตทั้ง 6 กลุ่มเขต (District Field Hospital/CI Plus) จำนวน 7 แห่ง โดยดำเนินการร่วมกับโรงพยาบาลสังกัดภาครัฐและเอกชน จำนวนเตียงรวมทั้งสิ้น 4,974 เตียง รวมถึงเตรียมความพร้อมทั้งโรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอยเพิ่มเติมอีก 25,345 เตียง แบ่งออกเป็น โรงพยาบาลหลัก 2,922 เตียง โรงพยาบาลสนาม 2,898 เตียง และ Hospitel 19,525 เตียง

ด้าน นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า มีนโยบายกำหนดให้ทุกเขตทำการซักซ้อมการปฏิบัติการ เพื่อรับทราบถึงกระบวนการรับผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วย การคัดกรองและแยกผู้ป่วย และด้านอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมพร้อมรับปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น โดยมีเป้าหมายให้เข้าถึงผู้ป่วยภายใน 12 ชั่วโมง โดยจะทำการจับคู่ดูแลกับคลินิกอบอุ่น หรือสถานพยาบาลที่รับผู้ป่วย ซึ่งเจ้าหน้าที่จะติดต่อกับผู้ป่วยเพื่อประเมินอาการเบื้องต้น หากผู้ติดเชื้อมีอาการไม่รุนแรงรักษาตัวสถานที่แยกกักที่บ้าน Home Isolation (HI) ในกรณีที่ผู้ติดเชื้อมีอาการเปลี่ยนแปลง จะนำส่งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ Community Isolation (CI) ภายในอีก 12 ชั่วโมงถัดไป หรือส่งไปยังโรงพยาบาลสนาม หรือส่งต่อรักษาในโรงพยาบาลตามระดับความรุนแรงของอาการ ในส่วนของคนต่างด้าว กทม. ได้จัดเตรียมศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (CI) แยกไว้สำหรับรองรับด้วยเช่นกัน

 

         

 

           

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ