แนวทางการนำผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้ารักษาพยาบาล รับมือระลอก 5


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมการแพทย์ เปิด แนวทางการนำผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้ารักษาพยาบาล รับมือระลอก 5 พร้อมเกณฑ์การส่งต่อผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาล

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ผู้ติดเชื้อโอมิครอน 48% จะไม่มีอาการ แนวทางการรักษาจึงเน้นการดูแลที่บ้านและชุมชน (HI/CI) เป็นหลัก โดยผู้ติดเชื้อที่ตรวจจากสถานพยาบาลหรือหน่วยบริการเชิงรุก จะได้รับการประเมินอาการทันที ส่วนการตรวจ ATK ด้วยตนเอง ต้องติดต่อ สายด่วน 1330 หรือช่องทางที่ สปสช.เตรียมไว้ หรือติดต่อศูนย์ปฏิบัติการของแต่ละจังหวัด โดยผู้ติดเชื้อจะได้รับการติดต่อกลับเพื่อประเมินอาการ

ไฟเซอร์ เผย วัคซีนโอมิครอน พร้อมใช้ มี.ค.นี้

เหตุใด สธ. ถึงคาดการณ์ "โควิด" จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นในปีนี้

8 อาการติด "โอมิครอน" สธ.ชี้ เกินครึ่งไม่แสดงอาการ

หากไม่มีอาการหรืออาการไม่มากจะให้ดูแลที่บ้าน หากไม่สามารถทำได้จะให้ไปดูแลที่ชุมชน และถ้าเริ่มมีอาการแพทย์จะจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ตามดุลพินิจ ซึ่งการได้รับยาหลังมีอาการไม่เกิน 3-4 วันจะได้ผลดี 

ฉีดวัคซีนเข็ม 3 "ไฟเซอร์" หรือ "แอสตร้าฯ" สู้กับ "โอมิครอน" ได้ดีแค่ไหน เช็กภูมิคุ้มกันที่นี่!

สำหรับเกณฑ์การส่งต่อผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาล

1.ผู้ใหญ่มีไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียสมากกว่า 24 ชั่วโมง

2. หายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาที (ผู้ใหญ่)

3.ออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 94%

4.โรคประจำตัวมีอาการรุนแรงขึ้น หรือแพทย์เห็นว่ามีความเสี่ยง ต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด จะส่งต่อผู้ป่วยไปยังฮอสปิเทล โรงพยาบาลสนาม หรือโรงพยาบาลหลักต่อไป

5. เด็กมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือทานอาหารน้อยลง 

เช็กที่นี่ ! รวมจุดฉีดวัคซีนโควิด ทั้งแบบลงทะเบียน และ Walk in

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมใช้เวลารักษา 10 วัน สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี หากผลตรวจเป็นบวก ขอให้ไปโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ประเมินอาการทุกราย โดยกรมการแพทย์ร่วมกับภาคีเครือข่ายได้จัดทีมกุมารแพทย์เป็นที่ปรึกษาในการประเมินอาการซึ่งไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกคน ขึ้นกับการประเมินอาการแรกรับ

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ