โภชนาการก่อนผ่าตัด "ผู้ป่วยในกลุ่มโรคทางช่องท้องและทวารหนัก"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การปรับโภชนาการก่อนการผ่าตัด "ผู้ป่วยในกลุ่มโรคทางช่องท้องและทวารหนัก" จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ส่งเสริมการหายของแผลเร็วขึ้น

มาดูกลุ่มสารอาหารที่จำเป็นและส่งเสริมการหายของแผล  

1.โปรตีน หนึ่งในอาหารที่สำคัญที่สุดก่อนการผ่าตัด กรดอะมิโนจากอาหารที่มีโปรตีนสูงจะถูกใช้เพื่อสร้างเลือดเนื้อเยื่อใหม่ และสร้างภูมิคุ้มกัน

2.วิตามินเอ ซี เค สังกะสี  จะช่วยในการสนับสนุนกระบวนการหายของแผลและช่วยป้องกันการติดเชื้อ

3.วิตามินอี ช่วยร่างกายในการต่อต้านอนุมูลอิสระและการเกิดโรค  แต่แนะนำให้ได้รับวิตามินอีจากอาหาร ไม่ใช่อาหารเสริม เนื่องจากปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด 

รพ.ราชวิถี ผ่าตัด “เนื้องอกรังไข่” หญิงท้องโตออกแล้ว

แนะวิธีปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโควิดที่ออกจาก รพ. ไปพักฟื้นที่บ้าน

 

นอกจากนี้ควรได้รับธาตุเหล็กให้เพียงพอเพื่อช่วยสร้างเลือดที่สูญเสียไปในระหว่างผ่าตัด

4.แคลเซียมและวิตามินดีเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสุขภาพที่ดี ต้องได้รับอย่างเพียงพอ เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการสร้างกระดูก

                                                              สั่งซื้อได้ที่ >> คลิก

เมนูอาหารก่อนผ่าตัด

แพทย์จะเป็นผู้กำหนดประเภทอาหารก่อนผ่าตัด ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของหัตถการ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพตามปกติได้จนถึงวันก่อนการผ่าตัด แนะนำให้งดอาหารมื้อหลัก เช่น ข้าวไข่เจียวหรือโจ๊ก และเครื่องดื่มที่ผสมนมหรือมีกากใย อย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมงก่อนดมยาสลบ และงดอาหารเหลว ได้แก่ น้ำเปล่า และเครื่องดื่มใสไม่มีกากใย เช่น กาแฟดำ ซุปใส น้ำแอปเปิล น้ำองุ่น น้ำหวานที่ไม่อัดลมอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนดมยาสลบ

รู้หรือไม่ แอปเปิ้ล สีต่างกันก็ให้คุณค่าทางโภชนาการก็ต่างกัน

การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตสามารถลดอาการหิวกระหายและลดภาวะ Insulin Resistance หลังผ่าตัด ทำให้รักษามวลของกล้ามเนื้อไว้ได้ ทั้งนี้การพิจารณางดอาหารขึ้นกับทีมศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ และพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยแต่ละราย เนื่องจากการดมยาสลบอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งการทำให้ท้องว่างก่อนการผ่าตัดอาจป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้

 

อาหารหลังผ่าตัด

การรับประทานอาหารหลังผ่าตัดเพื่อส่งเสริมให้ฟื้นตัวได้เร็ว ผู้ป่วยจะได้รับอนุญาตให้เริ่มรับประทานอาหารเหลวใสทันทีหลังการผ่าตัด และหากไม่มีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน สามารถปรับเปลี่ยนเป็นอาหารปกติได้ใน 1 – 2 มื้อถัดไป ซึ่งอาหารหลังการผ่าตัดควรเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และควรเพิ่มปริมาณโปรตีนในแต่ละวัน

แนะ 8 อาหาร สำหรับคนที่อยากลีน กินอย่างไรให้หุ่นเป๊ะ

อย่างไรก็ตามการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนผ่าตัดไม่ใช่เพียงเตรียมใจเท่านั้นแต่การเตรียมความพร้อมในเรื่องร่างกายก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะโภชนาการที่เหมาะสมมีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงได้โดยเร็ว

                                                              สั่งซื้อได้ที่ >> คลิก

ขอขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ