ผู้ป่วยโควิด-19 Home Isolation มากขึ้นกว่าระลอกที่แล้ว


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สถานการณ์ในเรื่องของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ล่าสุดพบว่าในประเทศไทยได้มีผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์นี้เป็นรายที่ 2 แล้ว ซึ่งเป็นหญิงสูงวัยที่จังหวัดอุดรธานี

แพทย์หญิง อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  หรือ ศบค. เปิดเผยว่า พบผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์โอมิครอนรายที่ 2 เป็นหญิงไทย อายุ 84 ปี อยู่จังหวัดอุดรธานี เป็นโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ติดเชื้อจากบุคคลใกล้ชิดในครอบครัว ไม่มีประวัติได้รับวัคซีน ทันทีที่ทราบว่าบุคคลใกล้ชิดในครอบครัวติดโควิด จึงรีบตรวจแบบ RT-PCR และพบผลเป็นบวกในวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา โดยแพทย์แนะนำให้รักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาที่โรงพยาบาล 

กรมสุขภาพจิต เปิดช่องทางรับปรึษาปัญหาสุขภาพจิตแก่ผู้ติดเชื้อโควิด 19 - ญาติผู้ป่วยที่เสียชีวิต และบ...

เปิดชีวิต ผู้ป่วยร่วมโครงการ Home Isolation

เนื่องจากอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยไม่มีอาการเหนื่อยหอบ แต่ต่อมาวันที่ 15 มกราคม มีอาการเหนื่อยหอบ ค่าออกซิเจนปลายนิ้วต่ำกว่า 76 ทางโรงพยาบาลมีการประสานผู้ป่วยเข้ารักษาตัวโรงพยาบาล แต่ญาติปฏิเสธการรักษาตัวที่โรงพยาบาล กระทั่งเสียชีวิตวันที่ 15 มกราคม

ดังนั้นจึงมีคำแนะนำไปยังประชาชนทั่วไปที่มีผู้สูงอายุอยู่ในบ้าน ขอให้สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง หากเป็นไปได้ขอให้จัดพื้นที่แยกจากคนอื่น หมั่นทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วม หากใครจำเป็นต้องมีผู้ดูแล ขอให้เป็นผู้ดูแลประจำจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการเปลี่ยนคนไปเรื่อยๆ

ขณะเดียวกันตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์โอมิครอนแต่ไม่ค่อยแสดงอาการทำให้หลายคนเลือกรักษาตัวเองที่บ้าน หรือ Home Isolation โดยขณะนี้การเข้าทำ HI เมื่อพบว่าติดเชื้อต้องติดต่อ 1330 สายด่วน สปสช.เพื่อเข้าสู่ระบบ  เมื่อ สปสช.รับเข้าระบบแล้วจะส่งรายชื่อผู้ป่วยไปที่คลินิกเอกชนเพื่อให้แพทย์ติดต่อกลับและประเมินอาการ ซึ่งผู้ป่วยจะต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Telemedicine เพื่อติดตามอาการและรายงานผลกับทีมแพทย์เป็นประจำทุกวัน เมื่อประเมินอาการในครั้งแรกคลินิกจะส่งรายละเอียดการรับยาไปที่คลินิกที่จับคู่ไว้เพื่อให้ระบบขนส่งไปส่งยาให้ผู้ป่วยที่บ้าน ส่วนคูปองอาหารที่ผู้ป่วยจะได้รับจะต้องใช้ผ่านแอปพลิเคชันซึ่งสามารถสั่งซื้ออาหารแบบดิลิเวอรี่ได้วันละ 300 บาท ตลอด 10 วันของการรักษา

และครั้งนี้ “จีดีดีที คลินิก กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี ประเทศไทย” ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 รักษาตัวที่บ้านเป็นครั้งที่ 2 เปิดระบบตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา หลังเปิดระบบมาแล้ว 10 วัน ขณะนี้คลินิกดูแลผู้ป่วย HI แล้ว 250 คน

สำหรับการดูแลผู้ป่วย HI ครั้งนี้ วิธีดูแลเหมือนกันกับในช่วงที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลตา สิ่งเดียวที่รู้คือผู้ป่วยผลเป็นบวก แต่ไม่รู้ว่าผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์ไหน วิธีการดูแลผู้ป่วยจึงเหมือนกันทั้งประเทศ และในระลอกนี้จะพบว่าผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง จึงเป็นไปตามหลักการดูแลของกระทรวงสาธารณสุขและ สปสช.

วิธีใช้ “ชุดตรวจ ATK” ด้วยตนเอง เพื่อความถูกต้องแม่นยำในเบื้องต้น

ประสิทธิภาพชุดตรวจ ATK ที่มีวางขายในไทย ในการตรวจหา “โอมิครอน”

ส่วนการขายชุดตรวจ ATK ราคาถูกขององค์การเภสัชกรรมที่เมื่อวานนี้เป็นวันแรกขายผ่านออนไลน์  ผ่านเว็บไซต์ www.gpoplanet.com  ได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมากเข้าไปสั่งซื้อ แต่ปรากฎว่าในเวลา 09.30 น. ระบบเกิดขัดข้อง ประชาชนไม่สามารถระบุเลขบัตรประชาชน และยืนยันคำสั่งซื้อได้ ก่อนที่เว็บไซต์จะระบุข้อความว่า "สินค้าหมดแล้วสำหรับวันนี้"

ทั้งนี้ จากการสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ อภ.พบว่า วันนี้ชุดตรวจที่จำหน่ายผ่านทางออนไลน์หมดแล้ว เบื้องต้นจำกัดไว้ที่ วันละ 3,000 กล่อง ส่วนวันอื่นๆ จะปรับเพิ่มจำนวนการขายหรือไม่นั้น อยู่ระหว่างการประเมินสถานการณ์

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ