ประสบการณ์ตรงผลข้างเคียง "วัคซีนโควิด-19" 3 สูตร 4 โดส สู้โควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รีวิวผลข้างเคียง วัคซีน โควิด-19 ทั้ง 3 ชนิด รวมแล้ว  4 โดส จากประสบการณ์ตรง ของแอดมิน พีพีทีวี นิวมีเดีย พร้อมผลข้างเคียงจากบูสเตอร์โดส

แชร์ประสบการณ์ตรง ตลอดตั้งแต่ช่วงปี 2564 ประเทศไทยเดินหน้าฉีดวัคซีนโควิด-19 มาจนถึงปัจจุบันเข้าสู่การฉีดเข็มกระตุ้น (บูสเตอร์) ขณะที่สายพันธุ์ของโควิด-19 ก็ปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่สายพันธุ์ดั้งเดิม (อู่ฮั่น) อัลฟา เบตา เดลตา  จนมาถึงสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งรวมที่แอดมินฉีดวัคซีนโควิด-19 มาแล้วทั้งหมด 4 โดส 3 ชนิดวัคซีน คือ 

สถานีกลางบางซื่อ ดีเดย์ฉีดเข็ม 4 เริ่ม 1 ก.พ. นี้ เปิดลงทะเบียนเข็ม 3 ผ่านเครือข่ายมือถือ 27 ม.ค.นี...

ผลข้างเคียง "บูสเตอร์โดส" วัคซีนโควิด-19

บูสเข็ม 4 ฉีดวัคซีนยี่ห้อไหนดี ศบค. เปิดสูตรวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็ม 4

เข็มที่ 1 วันที่ 1 มิ.ย.2564 วัคซีนซิโนแวค (ชนิดเชื้อตาย) ของจีน

 

" ไฟเซอร์ " เด็กกับผู้ใหญ่ ใช้คนละชนิดกันให้สังเกตที่ฝา

ผลข้างเคียง หลังฉีด 2-3 ชั่วโมง รู้สึกง่วงนอนและนอนหลับสนิทตั้งแต่ช่วงเที่ยงจนถึง 17.00 น. จากนั้นในช่วงกลางคืนมีอาการไข้ต่ำ ตลอดคืน จึงรับประทานยาพาราเซตามอล 2 เม็ด จากนั้นนอนพักจนถึงวันที่ 2 มิ.ย. มีอาการปวดศีรษะเล็กน้อย  คลื่นไส้ จึงพยายามดื่มน้ำให้เยอะที่สุด และในวันที่ 3 มิ.ย.อาการจึงหายเป็นปกติ

เข็มที่ 2 วันที่ 30  มิ.ย. 2564 วัคซีนของซิโนแวค(ชนิดเชื้อตาย) ของจีน ระยะห่างจากเข็มแรก  4 สัปดาห์

ผลข้างเคียง ไม่ปรากฏอาการใดๆ

เข็มที่ 3  วันที่ 24 ก.ย.2564  วัคซีนของแอสตร้าเซเนก้า (ชนิดไวรัลเว็กเตอร์ (Viral Vector) ระยะห่างจากเข็มสอง ประมาณ 3 เดือน

ผลข้างเคียง  เกิดอาการข้างเคียงช่วงกลางคืนหลังฉีด คือ ไข้สูง หนาวสั่นตลอดคืน จนเช้าวันที่ (25 ก.ย.) รู้สึกอ่อนเพลียและง่วงนอนตลอดวัน ประกอบกับมีไข้ต่ำๆ และหนาวสั่นอีกครั้งในคืนที่ 2 โดยรับประทานยาพาราเซตามอลทุก 4-6 ชั่วโมง หลังจากนั้น วันที่ 26 ก.ย. อาการเริ่มหายเป็นปกติ มีเพียงวิงเวียนศีรษะเล็กน้อยแต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต

เข็มที่ 4 วันที่ 24 ม.ค. 2565  วัคซีนของโมเดอร์นา (ชนิด mRNA) ระยะห่างจากเข็มสาม ประมาณ 3 เดือน ซึ่งเป็นไปตามดุลพินิจของแพทย์ 

ผลข้างเคียง  หลังจากฉีดประมาณ 1-2 ชั่วโมง เริ่มปวดบริเวณที่ฉีด ต่อมาจึงปวดบริเวณแขนข้างที่ฉีด จากนั้นช่วงกลางคืนมีอาการไข้ต่ำ จึงรับประทานยาพาราเซตามอล ก่อนที่จะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตลอดคืน จนถึงเช้า (25 ม.ค.) เมื่อรับประทานยาพาราเซตามอลทุก 4-6 ชั่วโมงจะดีขึ้น ก่อนจะกลับไปเป็นอีกครั้ง คือไข้ต่ำ ปวดกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย รวมทั้งหมด 3 รอบ จากนั้นวันที่ 26 ม.ค. อาการจึงหายเป็นปกติ เหลือเพียงปวดบริเวณจุดที่ฉีดเล็กน้อย

อย่างไรก็ตาม ทุกๆ ครั้งทั้งก่อนและหลังรับวัคซีนจะพยายามดื่มน้ำให้มากที่สุด อย่างน้อยวันละ 1.5 ลิตร นอนหลับประมาณ 6 ชั่วโมงขึ้นไป  และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทุกมื้อ

หมายเหตุ : ผลข้างเคียงนี้เป็นเพียงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เขียนเท่านั้น ขณะที่ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนจะเป็นไปตามแต่ละบุคคลแตกต่างกัน ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขและปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด

อัปเดต สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน(BA.2) เจออีกรวม 14 ราย เสียชีวิต 1 ราย

อย่างไรก็ตาม หากไปดูข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า อาการข้างเคียงฉีดวัคซีนโควิด 19  จะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 

อาการข้างเคียงไม่รุนแรง ซึ่งจะหายเองได้ใน 1-2 วัน คือ 
- ไข้ต่ำ, ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- อ่อนเพลีย
- ปวดบริเวณที่ฉีด

ส่วน อาการข้างเคียงรุนแรง (ควรรีบไปพบแพทย์ทันที)
- ไข้สูง
- ผื่นขึ้นทั้งตัว
- ปวดศีรษะรุนแรง
- ชัก/หมดสติ
- แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
- มีจุดเลือดออกจำนวนมาก
- อาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง
- ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง

นอกจากนั้น ในส่วนของการฉีดวัคซีนโควิด-19 บูสเตอร์โดส (SV+SV+AZ) และ (SV+SV+Pfizer) พบว่า 

วัคซีนซิโนแวคเข็ม 1 และ เข็ม 2 ตามด้วย แอสตร้าเซเนก้าเข็มที่ 3 (เข็มกระตุ้น) 

กลุ่มผู้ป่วยใน

มีอาการ ปวดศรีษะ ร้อยละ 28.41 

ไข้ ร้อยละ 23.86 

คลื่นไส้ ร้อยละ 22.73 

ปวดกล้ามเนื้อ ร้อยละ 18.18

อาเจียน ร้อยละ 18.18 

กลุ่มผู้ป่วยนอก

อาการไข้ ร้อยละ 22.44

ปวดศรีษะ ร้อยละ 20.49

ปวดกล้ามเนื้อ ร้อยละ 19.51

เวียนศรีษะ ร้อยละ 19.02

คลื่นไส้ ร้อยละ 14.63

"อาคเนย์ประกันภัย" เจอพิษโอมิครอน ประกาศ "เลิกประกอบธุรกิจ"

 

วัคซีนซิโนแวคเข็ม 1 และ เข็ม 2 ตามด้วย ไฟเซอร์เข็มที่ 3 (เข็มกระตุ้น)

ในกลุ่มผู้ป่วยใน

ไข้ ร้อยละ 33.33

อาเจียน ร้อยละ 27.78

ปวดศรีษะ ร้อยละ 27.78

คลื่นไส้ ร้อยละ 27.78

เวียนศรีษะ ร้อยละ 22.22

ในกลุ่มผู้ป่วยนอก

คลื่นไส้  ร้อยละ 18.37

ไข้ ร้อยละ 16.33

ปวดศรีษะ  ร้อยละ 15.31

ผื่น ร้อยละ 13.27

เวียนศรีษะ ร้อยละ 13.27

อย่างไรก็ตาม  การฉีดวัคซีนโควิด-19 จำเป็นอย่างยิ่งและมีผลที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับความรุนแรงจากการติดเชื้อหากไม่ได้รับการฉีดวัคซีน เพราะถึงแม้ว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 จะไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อได้ 100% ยังคงต้องสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และหมั่นล้างมือ แต่ก็สามารถลดความรุนแรงของโรค ลดการเข้าโรงพยาบาล และลดอัตราการเสียชีวิตได้

จับตา “โอมิครอน BA.2” หวั่นเป็นสายพันธุ์ใหม่แทนที่โอมิครอนตัวปัจจุบัน

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ