เช็กอาการเสี่ยงโรคกระดูกสันหลังคด ส่วนใหญ่เกิดขึ้นแบบไม่ทราบสาเหตุ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




คนไทยเป็นโรคกระดูกสันหลังคดมากถึง 2 – 3 % ของประชากรทั้งหมด โดยพบได้ตั้งแต่วัยเด็กถึงผู้ใหญ่ แต่ที่พบมากที่สุดคือช่วงวัยรุ่น

กระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คือ การผิดรูปของแนวกระดูกสันหลังจากปกติที่โค้งงอไปด้านหน้าและหลังเล็กน้อย กลายเป็นโค้งงอ คดงอ บิดเบี้ยวไปทางด้านข้าง ส่งผลให้ไหล่ เอว สะโพกไม่เท่ากัน มีลักษณะคล้ายตัว “C” หรือตัว “S” ทำให้ร่างกายเสียสมดุลการทรงตัวส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิต

 

กระดูกสันหลังคดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

1. โรคกระดูกสันหลังคดตั้งแต่แรกเกิด (Congenital Scoliosis) เนื่องจากขณะแม่ตั้งครรภ์ตัวอ่อนในครรภ์มีกระดูกสันหลังที่ผิดปกติ

 

เห็นจุดดำลอยไปมา รีบพบจักษุแพทย์ เสี่ยงวุ้นตาเสื่อม

“วุ้นตาเสื่อม” ภัยเงียบสังคมก้มหน้าวัยทำงาน

 

 

 

 

 

2. โรคกระดูกสันหลังคดจากโรคทางระบบประสาทหรือระบบกล้ามเนื้อผิดปกติ (Neuromuscular Scoliosis) เช่น โรคกล้ามเนื้อโตมากกว่าปกติ กล้ามเนื้อกระดูกสันหลังฝ่อลีบ เป็นต้น

 

3. โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Scoliosis) มักเกิดจากการมีความยาวของเข่าไม่เท่ากัน คือ ขาข้างหนึ่งสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในวัยต่าง ๆ ได้แก่

-โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในวัยทารก (Infantile Idiopathic Scoliosis) ก่อนอายุ 3 ปี

-โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในวัยเด็ก (Juvenile Idiopathic Scoliosis) อายุระหว่าง 4 – 10 ปี

-โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น (Adolescent Idiopathic Scoliosis) อายุระหว่าง 10 – 18 ปี พบมากที่สุด

 

4. โรคกระดูกสันหลังคดจากท่าทางที่ผิด (Functional Scoliosis) เกิดจากความผิดปกติตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน กล้ามเนื้อหดเกร็ง การบาดเจ็บ

 

5. โรคกระดูกสันหลังคดจากความเสื่อม (Degenerative Lumbar Scoliosis) มักพบในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ จากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลังที่ใช้งานเป็นเวลานาน

 

อาการและความรุนแรงของกระดูกสันหลังคดแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล สามารถสังเกตได้เบื้องต้น ดังนี้

-ไหล่ทั้งสองข้างไม่เท่ากัน

-แผ่นหลังหรือหน้าอกนูนไม่เท่ากัน

-มองเห็นกระดูกสันหลังคดงอชัดเจน

-ลำตัวเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง

-สะโพกสองข้างไม่เท่ากัน

 

อัปเดต สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน(BA.2) เจออีกรวม 14 ราย เสียชีวิต 1 ราย

นอกจากนี้อาจมีอาการปวดหลัง ปวดท้อง เจ็บซี่โครง กล้ามเนื้อหดตัว เป็นต้น แต่หากอาการรุนแรงจะส่งผลต่อการทำงานของหัวใจและปอด ทำงานได้ไม่เต็มที่ เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด

 

แนวทางการรักษา 

 

การรักษาโดยไม่ผ่าตัด ในกรณีที่กระดูกสันหลังคดไม่มากประมาณ 10 – 30 องศา แพทย์จะแนะนำให้ทำกายภาพบำบัด  รวมทั้งการใส่เสื้อเกราะดัดหลัง (Brace) ในผู้ป่วยที่ยังมีการเจริญเติบโตของกระดูกโดยฉพาะในเด็กและวัยรุ่น เพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกคดงอมากขึ้น ซึ่งเสื้อเกราะดัดหลังจะรับกับส่วนโค้งเว้าของร่างกายผู้ป่วยทั้งบริเวณแขน ซี่โครง หลัง สะโพก โดยสามารถใส่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตลอดทั้งวัน และจะใช้ได้จนถึงช่วงที่กระดูกหยุดการเจริญเติบโต นั่นคือ ส่วนสูงคงที่ หลังประจำเดือนมาเป็นเวลา 2 ปี มีขนขึ้นตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยควรทำตามคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางอย่างเคร่งครัด

 

รักษาโดยการผ่าตัด เมื่อผู้ป่วยมีอาการกระดูกสันหลังคดรุนแรงมากกว่า 60 องศาและทำการรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจใช้การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลัง (Spinal Fusion) โดยแพทย์จะยึดโลหะชิ้นเล็ก ๆ เข้ากับแนวกระดูกสันหลัง โดยใช้วัสดุตรึงกระดูกไว้ด้วยกัน ในเด็กที่อายุน้อยมาก ๆ แพทย์จะยึดโลหะที่สามารถปรับยืดความยาวของโลหะได้ทุก ๆ 6 เดือน ตามการเติบโตและคดงอของกระดูก เมื่อเด็กโตที่ก็จะทำการผ่าตัดจัดแนวกระดูกสันหลัง โดยใส่สกรูยึดกระดูกสันหลังในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น สร้างสมดุลให้ร่างกายกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ

 

สำหรับเด็กที่กระดูกสันหลังคดควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษาทันที นอกจากช่วยชะลอความรุนแรงที่เกิดขึ้น ยังช่วยป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต 

"อาคเนย์ประกันภัย" เจอพิษโอมิครอน ประกาศ "เลิกประกอบธุรกิจ"

จับตา “โอมิครอน BA.2” หวั่นเป็นสายพันธุ์ใหม่แทนที่โอมิครอนตัวปัจจุบัน

ขอขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ