อ.วสันต์ ชี้ไวรัสโควิด-19 ตัวใหม่ไม่น่ากังวล


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เรียกว่า สร้างความกังวลไม่น้อย เมื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวจีน รายงานผลวิจัยระบุถึงการพบเชื้อไวรัสโคโรนาในค้างคาว ที่พบในทวีปแอฟริกา ชื่อว่า “NeoCov” ซึ่งมีรหัสพันธุกรรมที่ความใกล้เคียงกับไวรัสเมอร์ส แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรม ระบุว่า ยังไม่น่ากังวล เพราะเชื้อตัวนี้ถูกพบเมื่อ 10 ปีที่แล้ว และยังไม่พบการระบาดจากสัตว์สู่คน

นพ. เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ข้อความไว้ ในblockdit ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย ว่า นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น ได้ค้นพบไวรัสโคโรนาชนิดใหม่ เข้าสู่เซลล์มนุษย์ได้ชื่อว่า  NeoCoV ลักษณะคล้ายไวรัสก่อโรค MERS รุนแรงกว่า ซาร์ส 3 เท่า ซึ่้งไวรัสตัวนี้ พบในค้างคาว หากก่อโรคในมนุษย์ได้จริง มีโอกาส ที่จะถูกตั้งชื่อว่า MERS-CoV-2 และอาจก่อโรคแบบโควิด-19 และอาจจะรุนแรงกว่า

แบบไหนเข้าข่าย "ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง" ของผู้ติดเชื้อโควิด-19

ความต่างระหว่าง “โรคประจำถิ่น” กับ “การระบาดใหญ่” โลกกำลังจะไปทางไหน?

ซึ่ง องค์การอนามัยโลกให้ความเห็นว่า ไวรัสใหม่มีความเป็นไปได้ จึงจะต้องเร่งศึกษาข้อมูลอย่างใกล้ชิดโดยเร็วต่อไป

สำหรับไวรัสนีโอ โคโรนา หรือ นีโอคอฟ ศ.ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายว่า เจ้าไวรัสตัวนี้ ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 2555 จากทีมนักวิจัยจากเยอรมนี และแอฟริกาใต้ โดยพบอยู่ในค้างคาวเมื่อตรวจรหัสพันธุกรรมก็พบว่า ไปคล้ายกับไวรัสเมอร์ส ที่มีความรุนแรง และเคยระบาดในพื้นที่ตะวันออกกลางมาแล้ว ส่วนการระบาดยังพบเฉพาะในสัตว์ และแพร่จำกัดในแอฟริกาใต้เท่านั้น

แต่ที่หลายคนเป็นกังวล ก็เพราะว่า ไวรัสนีโอคอฟ มีความเสี่ยงที่จะแพร่สู่คน เพราะมันสามารถเกาะตัวรับที่ ACE 2 บนร่างกายคนได้เหมือนเชื้อโควิด-19 หากมีการกลายพันธุ์ ซึ่งอาจารย์วสันต์ ระบุว่า ที่ผ่านมาตั้งแต่มีการรายงานพบเชื้อไวรัสตัวนี้เมื่อ 10 ปีก่อน ก็ยังไม่พบการรายงานการระบาดจากสัตว์สู่คน เพราะตัวเชื้อนีโอคอฟ ยังไม่สามารถจับกับตัวรับ ACE2 ได้โดยตรง ส่วนความรุนแรงที่อาจจะเพิ่มขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์ เป็นเพียงความคาดเดา โดยเทียบกับไวรัสเมอร์สเท่านั้น แต่ก็ไม่หมายความว่า  หากมันระบาดมาสู่คนจะมีมีอาการรุนแรง

ส่วนจะต้องกังวลกับเชื้อไวรัสนีโอคอฟมากน้อยขนาดไหน อาจารย์วสันต์ มองว่า ขณะนี้ควรจะต้องกังวลใจกับเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 (อ่าน บีเอ หนึ่ง) และ BA.2 (บีเอ สอง) ที่กำลังระบาดในไทยมากกว่า แต่กรณีไวรัสนีโอคอฟ รู้ไว้ไม่เสียหาย เพราะถือว่า เป็นเรื่องดีที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกที่ออกมาช่วยกันเตือน และเฝ้าระวัง

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ