ยังไม่ต้องสูบบุหรี่แค่สูด "ฝุ่น PM 2.5" ก็เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอด 100%


โดย BDMS

เผยแพร่




มะเร็งปอดสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ แต่เราพบว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่เลยก็สามารถเป็นมะเร็งปอดได้ด้วยเช่นกัน แถมยังเพิ่มจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย

ทางการแพทย์พบว่า มีปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งปอดหลายอย่าง เช่น
1. ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่
2. มลภาวะทางอากาศ
3. สัมผัสกับสารพิษในโรงงานแร่ใยหิน
4. กรรมพันธุ์

เอาชนะ PM 2.5 เพชรฆาตตัวจิ๋ว  

หมอห่วงสุขภาพคนไทย หวั่นก่อโรคระยะยาว หลังปัญหาฝุ่น PM 2.5 ไม่จบง่าย ๆ

ปัจจัยเหล่านี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงได้ถึง 2.5 เท่า สำนักงานวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (IARC) ระบุว่า มลพิษทางอากาศโดยเฉพาะ ฝุ่น PM2.5 เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งสำหรับมนุษย์ได้ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก

“PM 2.5” ฝุ่นละอองขนาดเล็กแต่เป็นเรื่องใหญ่ต่อสุขภาพ

รู้จัก ! PM 2.5 เมื่อฝุ่นละอองปกคลุมกรุงเทพฯ

 

 

PM2.5 ย่อมาจาก  Particulate matter 2.5 micron หมายถึง อนุภาคที่ลอยอยู่ในอากาศ ที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์กว่า 120 เท่า อนุภาคเหล่านี้มีหลายชนิด เช่น ก๊าซพิษ และสารก่อมะเร็ง มักจะเกิดจากการเผาในที่โล่ง การเผาไหม้จากเครื่องรถยนต์ และควันจากโรงงานอุตสาหกรรม

ดังนั้นเมื่อ PM2.5 ลอยเข้าไปในหลอดลมจนถึงปอด จะเข้าไปโดยที่เราไม่รู้สึกตัว และป้องกันไม่ได้ เมื่อเข้าไปในปอดแล้ว ก็จะเกิดการอักเสบ มีการกลายพันธุ์ของ DNA และ RNA ซึ่งเป็นสารพันธุกรรมในร่างกาย

หากร่างกายได้รับสาร PM2.5 ในปริมาณมากและยาวนานเกินไป อาจทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ โดยมะเร็งที่พบสัมพันธ์กับฝุ่น PM2.5 ก็คือ ชนิด Adenocarcinoma หรือมะเร็งชนิดต่อม ซึ่งผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดชนิดนี้ได้มากกว่าผู้ชาย ส่วนคนที่สูบบุหรี่อยู่แล้ว เมื่อสูด PM2.5 เข้าไปจะเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดทวีคูณขึ้นเป็น 2 เท่า ระดับความเข้มข้นของ PM2.5 ขึ้นกับพื้นที่ หากมีลักษณะเป็นแอ่ง ความกดอากาศสูงและอากาศเย็น มักจะมีความเข้มข้นสูง โดยมีค่าสูงสุด ช่วงเช้ามืดถึงประมาณ 10 นาฬิกา และค่อยๆจางลงในช่วงบ่าย 

คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 2! “มะเร็งปอด” โรคร้ายที่ไม่มีสัญญาณเตือน

"มะเร็งปอด"คร่าชีวิตคนไทยอันดับ 2 แนะสังเกตสัญญาณเตือน

ผลกระทบของ PM2.5 ต่อสุขภาพในระยะสั้น ได้แก่ 
1. ระคายเคืองตา คอ จมูก
2. หัวใจเต้นเร็ว
3. ไอ
4. แน่นหน้าอก
5.เหนื่อย
6. โรคหืดหรือปอดอุดกั้นเรื้อรังกำเริบ
7. หลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบ
ส่วนระยะยาว คือการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหลายโรค ได้แก่
1. โรคหืด 
2. ภูมิแพ้ 
3. ปอดอุดกั้นเรื้อรัง 
4. ปอดเป็นพังผืด 
5. มะเร็งปอด 
6. โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง                                                                                                                          7. เด็กคลอดก่อนกำหนด ผลของการเจริญเติบโตของปอดในเด็ก ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในอนาคต

สถิติพบคนไทยเสียชีวิตจาก"โรคหัวใจ" เฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน

ดังนั้น หากจะต้องออกนอกอาคารไปในที่โล่งแจ้ง ควรตรวจสอบค่าฝุ่นก่อนผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น กรมควบคุมมลพิษ เป็นต้น ควรสวมหน้ากากสำหรับป้องกันฝุ่น PM2.5 ในช่วงที่มีฝุ่นเกินค่าปกติ หากเป็นไปได้ควรงดออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงในที่ที่มีฝุ่นมาก หมั่นสังเกตตัวเอง หากมีอาการผิดปกติ เช่น ระคายเคืองทางเดินหายใจ แสบจมูก แสบคอ หายใจไม่สะดวก เหนื่อยง่าย หรือไอ ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที

เรื่องต้องรู้ ใส่หน้ากากอนามัยออกกำลังกายอย่างไรไม่ให้ส่งผลเสีย

เผยเคล็ดลับ ดูแลตัวเองหากต้องประสบกับปัญหาฝุ่น PM 2.5

ขอบคุณข้อมูล : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ